Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Treatment outcome and factors associated with success rate among adult patients with pulmonary tuberculosis at airborne infection clinic in King Chulalongkorn Memorial Hospital
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์
Second Advisor
กำพล สุวรรณพิมลกุล
Third Advisor
กมล แก้วกิติณรงค์
Faculty/College
Faculty of Pharmaceutical Sciences (คณะเภสัชศาสตร์)
Department (if any)
Department of Pharmacy Practice (ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ)
Degree Name
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การบริบาลทางเภสัชกรรม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.487
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดในผู้ใหญ่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดในผู้ใหญ่ ณ คลินิกควบคุมการติดเชื้อทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา ทำในผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกควบคุมการติดเชื้อทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก แบบเก็บข้อมูลคลินิกควบคุมการติดเชื้อทางเดินหายใจ สมุดลงทะเบียนผู้ป่วย TB-03 และโปรแกรม KCMS_HIS วิเคราะห์ข้อมูล univariate และ multivariate ด้วยสถิติ Binary logistics regression หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรค ผลการวิจัย: ผู้ป่วยวัณโรคปอดเข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 538 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 325 ราย (ร้อยละ 60.4) อายุและน้ำหนักตัวเฉลี่ย คือ 52.0 ± 31.0 ปี และ 53.0 ± 14.8 กิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยวัณโรคที่ไวต่อยา (ร้อยละ 87.2) ไม่มีประวัติการรักษาวัณโรค (ร้อยละ 86.2) และไม่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย (ร้อยละ 93.3) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราความสำเร็จในการรักษา วัณโรคปอดในผู้ใหญ่ ได้แก่ อายุ น้ำหนักตัว การติดเชื้อเอชไอวี และผลตรวจเสมหะ โดยผู้ป่วยวัณโรคที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี มีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษามากกว่าผู้ป่วยวัณโรคที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี 2.11 เท่า (ORadj = 2.11, 95%CI: 1.26 – 3.56) ผู้ป่วยวัณโรคที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 40 กิโลกรัม มีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษามากกว่าผู้ป่วยวัณโรคที่มีน้ำหนักตัวไม่เกิน 40 กิโลกรัม 2.46 เท่า (ORadj = 2.46, 95%CI: 1.27 – 4.77) ผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยมีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษามากกว่าผู้ป่วย วัณโรคที่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย 5.84 เท่า (ORadj = 5.84, 95%CI: 2.62 - 13.05) และผู้ป่วยวัณโรคที่มีผลตรวจเสมหะไม่พบเชื้อ มีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษามากกว่าผู้ป่วยวัณโรคที่มีผลตรวจเสมหะพบเชื้อวัณโรคจำนวนมาก (AFB 3+) 2.06 เท่า (ORadj = 2.06, 95%CI: 1.06 – 3.97) สรุปผลการวิจัย: อัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดในผู้ใหญ่ ณ คลินิกควบคุมการติดเชื้อทางเดินหายใจ คิดเป็นร้อยละ 82.9 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคปอด ได้แก่ อายุที่น้อยกว่า 60 ปี น้ำหนักตัวที่มากกว่า 40 กิโลกรัม ผู้ที่ไม่มีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย และผู้ที่มีผลตรวจเสมหะไม่พบเชื้อวัณโรค
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Objectives: This research aims to study the success rate of adult patients with pulmonary tuberculosis treatment and factors associated with success rate among adult patients with pulmonary tuberculosis at Airborne Infection Clinic in King Chulalongkorn Memorial Hospital. Methods: A retrospective descriptive study in patients were treated at Airborne Infection Clinic in King Chulalongkorn Memorial Hospital during January 2018 to December 2020. The data were collected from patient’s medical records, data collection sheet, TB Register-03 book and KCMH_HIS program. Univariate and multivariate were analyzed by Binary logistics regression to identify factors associated with success rate of adult patients with pulmonary tuberculosis treatment. Results: There were 538 tuberculosis patients included in this study. There were 325 men (60.4%). The mean age and weight were 52.0 ± 31.0 years and 53.0 ± 14.8 kg. Most of them were drug-susceptible TB (87.2%) no previously treated TB (86.2%) and without HIV co-infection (93.3). Factors associated with success rate of adult patients with pulmonary tuberculosis treatment are age, weight, HIV infection and sputum AFB smear. The success rate of patients who are under 60 years old is 2.11 times higher than patients who are greater than or equal to 60 years old (ORadj = 2.11, 95%CI: 1.26 – 3.56). The success rate of patients who are over 40 kg is 2.46 times higher than patients who are less than or equal to 40 kg (ORadj = 2.46, 95%CI: 1.27 – 4.77). The success rate of patients without HIV co-infection is 5.84 times higher than patients with HIV co-infection (ORadj = 5.84, 95%CI: 2.62 - 13.05) and the success rate of patients who have sputum AFB smear negative is 2.06 times higher than patients who have sputum AFB smear 3+ (ORadj = 2.06, 95%CI: 1.06 – 3.97). Conclusions: The success rate of adult patients with pulmonary tuberculosis treatment at Airborne Infection Clinic was 82.9%. Factors associated with success rate of pulmonary tuberculosis treatment were age below 60 years, weight over 40 kg, patients without HIV co-infection and patients with sputum AFB smear negative.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ตันธนาสุวัฒน์, นันทวัฒน์, "ผลลัพธ์การรักษาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดในผู้ใหญ่ ณ คลินิกควบคุมการติดเชื้อทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5029.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5029