Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Isolation of bacteria from solid waste in cassava starch industry for compost production
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล
Faculty/College
Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เทคโนโลยีชีวภาพ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.456
Abstract
ในประเทศไทยกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังก่อให้เกิดของเหลือทิ้งจำนวนมาก เช่น กากมันสำปะหลัง และกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียที่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ในงานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนกากมันสำปะหลัง และกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียให้เป็นปุ๋ยหมักโดยใช้หัวเชื้อแบคทีเรีย หัวเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ประกอบด้วย กลุ่มเชื้อที่ทำหน้าที่ย่อยเซลลูโลส B. subtilis TISTR 008, B. subtilis C-CV1033 และ B. shackletonii C-S1052 กลุ่มเชื้อที่ทำหน้าที่ย่อยแป้ง B. subtilis A-CV1031 และ B. subtilis A-S51041 เชื้อที่ทำหน้าที่ตรึงไนโตรเจน B. ginsengihumi N-BS1 เชื้อที่ทำหน้าที่ละลายฟอสเฟต B. shackletonii P-S1041 และเชื้อที่ทำหน้าที่ละลายโพแทสเซียม B. bataviensis K-S1043 การใช้หัวเชื้อแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวกับกากมันสำปะหลัง กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย ร่วมกับรำข้าว มูลวัว ผงหินฟอสเฟต และแร่เฟลด์สปาร์ เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมัก พบว่ามีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม เท่ากับร้อยละ 1.77, 1.97, 1.75, 3.76, 0.72 และมีปริมาณ สังกะสี แมงกานีส เหล็ก และทองแดงเท่ากับ 139, 740, 3040 และ 11.26 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ในขณะที่อัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนของปุ๋ยลดลง การใช้กากมันสำปะหลัง กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย ร่วมกับรำข้าว มูลวัว ผงหินฟอสเฟต และแร่เฟลด์สปาร์ มีศักยภาพในการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้แก่ปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือทิ้งได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
In Thailand, cassava starch processing generates various solid waste such as cassava pulp and wastewater treatment sludge that creating serious environmental pollution. The study of cassava pulp and wastewater treatment sludge converted to compost by a bacterial consortium. Bacterial consortium formulated with five groups of bacteria containing B. subtilis TISTR 008, B. subtilis C-CV1033 and B. shackletonii C-S1052 (cellulolytic bacteria), B. subtilis A-CV1031 and B. subtilis A-S51041 (amylolytic bacteria), B. ginsengihumi N-BS1 (nitrogen fixation bacteria), B. shackletonii P-S1041 (phosphate solubilizing bacteria), and B. bataviensis K-S1043 (potassium solubilizing bacteria). The effect of consortium inoculation on cassava pulp, wastewater treatment sludge, rice bran, cow dung, phosphate rock and feldspar compost demonstrated nitrogen (N), phosphorus (P), potassium (K), calcium (Ca), magnesium (Mg), zinc (Zn), manganese (Mn), iron (Fe), copper (Cu) were 1.77%, 1.97%, 1.75%, 3.76%, 0.72%, 139, 740, 3040 and 11.26 mg/kg, respectively. Whereas, C:N ratio of waste compost was reduced. The combination of cassava pulp, wastewater treatment sludge, rice bran, cow dung, phosphate rock and feldspar has potential to improve the nutrients in waste compost.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
บุตรคำโชติ, เฌอญานุส, "การคัดแยกแบคทีเรียจากวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลังเพื่อการผลิตปุ๋ยหมัก" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 4998.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4998