Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of AR comic book with PWIM Technique for reading competence of primary school students

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

ใจทิพย์ ณ สงขลา

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Communication and Technology (ภาควิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.453

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM 2) ศึกษาผลการใช้หนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลการใช้หนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน แบบบันทึกการอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่อง แผนการจัดการเรียนรู้ หนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และT-test ผลการวิจัยพบว่า หนังสือการ์ตูนเออาร์มีขั้นตอนการพัฒนาหนังสือการ์ตูนเออาร์ฯ ดังนี้ 1) การศึกษาเอกสารและวิเคราะห์ข้อมูล 2) การออกแบบ 3) การตรวจสอบเนื้อหา 4) การพัฒนาหนังสือ 5) การตรวจสอบสื่อหนังสือ 6) การนำไปใช้ 7) การประเมินผล องค์ประกอบของหนังสือการ์ตูนเออาร์ฯ ประกอบด้วย 1) การ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ และการ์ตูนประกอบเรื่อง 2) ตัวชี้วัดภาษาไทย 3) เนื้อเรื่อง 4) ตัวละคร 5) ความเป็นจริงเสริม ขั้นตอนการใช้มี 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) การดูรูปภาพและระบุคำศัพท์ 2) การอ่านออกเสียงเพื่อเชื่อมโยงคำและรูป 3) การจัดกลุ่มคำหรือการคิดแบบอุปนัย 4) การนำไปใช้ และผลการวิเคราะห์ความสามารถในการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองเก่ง กลาง อ่อนพบว่ากลุ่มทดลองทุกกลุ่มมีความสามารถในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ผลจากการวิเคราะห์ความสามารถในการอ่านหลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่ากลุ่มทดลองกลุ่มเก่ง กลาง อ่อนมีความสามารถในการอ่านหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมกลุ่มเก่ง กลาง อ่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objectives of this study were 1) to develop an AR comic book using the PWIM technique 2) to examine the effects of the AR comic book on grade 2 primary students. The participants of the study were divided into two groups: an experimental group and a control group, each of which included 30 students. The instruments consisted of a pre-test and a post-test, the AR comic book with the PWIM technique, lesson plans and a reading competence scoring sheet. The quantitative data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and T-test. The findings of the study suggested that in order to develop the AR comic book, there were seven steps to follow including 1) studying and analyzing data, 2) designing the content, 3) validating the content, 4) developing the book, 5) validating the media used in the book, 6) implementing, and 7) evaluating. In addition, the AR comic book composed of five major components including 1) 2D cartoon animations and illustrated cartoons, 2) Thai language indicators, 3) a story, 4) characters, and 5) augmented reality. The processes of using the AR comic book should consist of four steps as follows: 1) looking at pictures and identifying words, 2) reading aloud to make connection between words and pictures, 3) practicing inductive thinking, and 4) applying the words in contexts. Quantitative findings indicated that the post-test mean scores of the low, average, and high groups of students in the experimental group were higher than the pre-test mean scores with a statistical significance at a level of .05. Moreover, the post-test mean scores of the low, average, and high groups of students in an experimental group were higher than the post-test mean scores of those in a control group with a statistical significance at a level of .05

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.