Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การศึกษาความตั้งใจของผู้บริโภคในการหลีกเลี่ยงบรรจุภัณฑ์พลาสติกจากการสั่งอาหารออนไลน์: กรณีศึกษาเมืองปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
Sujitra Vassanadumrongdee
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
Master of Arts
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Environment, Development and Sustainability
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.158
Abstract
China's plastic pollution has gotten worse, especially during the COVID pandemic when the city's lockdowns boosted the food takeout business. Although the government has made efforts in curbing the use of conventional single-use plastic packaging, the problem is still looming up in the critical time of building ecological civilization. The key to resolve the overwhelming usage of disposable plastic packaging lies in reduction, along with using green alternatives: biodegradable packaging and returnable containers. The study investigated consumers' willingness to adopt new alternatives by applying the theory of planned behavior (TPB). The measurement scale, developed upon previous literature, gains validated reliability and validity after running confirmatory factory analysis (CFA) in SmartPLS. The study distributed 536 questionnaires online, targeting consumers from Beijing and Shanghai. 430 valid samples were collected and analyzed, with results showing that consumers' perceived behavior control has strong and positive effect on their willingness to pay more to using biodegradable packaging and willingness to participate in the returnable container programs. The environmental attitude, social norms and past green behavior show less direct relationships with people's adopting intentions. Their effects on the intentions are mediated by perceived behavior control disproportionately. The moderating effect is also been found between socio-economic variables and WTP&WTM. The study thus made the recommendations that the government should roll out industrial-support incentives to support the development green alternatives. Besides, promotions of alternatives should also be stressed through incorporating plastic relevant knowledge into education plan of middle schools and universities and distributing advisements on social media platforms. In addition, the young and female should be set as the targeted groups to promote the use of green alternatives as this group of people are the major consumers of online food takeout. More importantly, the study can be applied to other cities in China with the same policy and cultural backgrounds.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
ประเทศจีนกำลังประสบปัญหามลพิษพลาสติกที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 เมื่อการล็อกดาวน์ของเมืองกระตุ้นธุรกิจซื้อกลับบ้านและสั่งอาหารออนไลน์ แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามควบคุมการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว แต่ปัญหาขยะพลาสติกยังคงถาโถมในช่วงเวลาสำคัญที่ต้องมีการพัฒนาประเทศสู่หนทางการพัฒนาที่ยั่งยืน กุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวอย่างล้นหลามคือ การลดปริมาณการใช้พลาสติกลง ควบคู่ไปกับการใช้บรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและบรรจุภัณฑ์ที่ส่งคืนเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำได้ การศึกษานี้ได้ทำการศึกษาระดับความเต็มใจของผู้บริโภคในการยอมรับบรรจุภัณฑ์ทางเลือกด้วยทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (TPB) โดยมีการพัฒนามาตรวัดตัวแปรตามทฤษฎีต่อยอดจากงานวิจัยที่ผ่านมาและได้มีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือและความถูกต้องผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ในโปรแกรม SmartPLS การศึกษานี้ได้เก็บข้อมูลด้วยการกระจายแบบสอบถามออนไลน์ให้กับกลุ่มผู้บริโภคคนจีนที่อาศัยอยู่เมืองปักกิ่งและเมืองเซี่ยงไฮ้ โดยได้รับแบบสอบถามตอบกลับจำนวน 536 ชุด สรุปแบบสอบถามที่ใช้ในการวิเคราะห์จำนวน 430 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง (PBC) ของผู้บริโภคมีผลในเชิงบวกอย่างมากต่อความเต็มใจที่จะจ่ายมากขึ้นสำหรับการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและความเต็มใจที่จะเข้าร่วมในโครงการส่งคืนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ ส่วนปัจจัยด้านทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อม บรรทัดฐานทางสังคม และพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอดีต มีความสัมพันธ์โดยตรงที่น้อยกว่าต่อความตั้งใจที่เปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์ทางเลือก โดยอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ถูกลดทอนด้วยปัจจัย PBC อย่างไม่เป็นสัดส่วน นอกจากนี้ ยังพบอิทธิพลกำกับระหว่าง ตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคมกับความเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในโครงการส่งคืนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้ (WTP) และความเต็มใจที่จะจ่ายบรรจุภัณฑ์ทางเลือก (WTM) การศึกษานี้จึงมีข้อเสนอแนะว่ารัฐบาลควรเสนอมาตรการจูงใจให้ภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนบรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ควรมีการส่งเสริมบรรจุภัณฑ์ทางเลือกอื่นผ่านการให้ความรู้เกี่ยวกับพลาสติกในการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย และให้มีการสื่อสารรณรงค์ในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ ควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการรณรงค์ คือ กลุ่มเยาวชนและผู้หญิง เนื่องจากเป็นผู้บริโภคหลักของการซื้ออาหารออนไลน์และการซื้อกลับบ้าน ผลการศึกษานี้สามารถนำไปปรับใช้กับเมืองอื่น ๆ ในประเทศจีนที่มีนโยบายและบริบททางวัฒนธรรมที่คล้ายกับกรุงปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Yang, Kaiyan, "Consumers' intention in avoiding plastic packaging from online food take-out : a case study of Beijing and Shanghai, China" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 4700.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4700