Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
ผลของหน่วยความจำขณะทำงานต่อการแข่งขันทางโครงสร้างในการประมวลผลหน่วยคำกาลปัจจุบันในภาษาอังกฤษโดยผู้เรียนที่มีภาษาไทยเป็นภาษาที่หนึ่ง
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
Nattama Pongpairoj
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Discipline
English as an International Language
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.150
Abstract
In the course of second language (L2) acquisition, L2 grammatical processing is often found to be dissimilar to that of native speakers, and nonnative processing difficulties have been attributed to various sources. In the realms of agreement processing, whether both first language (L1) and L2 linguistic systems are co-activated simultaneously within a bilingual mind during grammatical processing remains an active question in language sciences. This study examined individual differences in terms of working memory capacity and distance-based complexity in L2 agreement processing. In two word-by-word self-paced reading experiments, a total of 80 agreement-lacking Thai learners of L2 English and 80 native speakers of English read sentences involving English subject-verb agreement dependencies in two distance conditions. Distance was manipulated based on the dependency locality theory (Gibson, 1998, 2000), using semantically reversible English relative clauses (e.g., *The guy [that _ knows the driver/that the driver knows _] want to buy a new car). Two explanatory variables were crossed in a 2 x 2 design: distance (short-distance subject-extracted relative clause (SRC) vs. long-distance object-extracted relative clause (ORC)) and grammaticality of the subject-verb agreement (grammatical vs. ungrammatical). Stimuli in Experiment 1 involved singular subjects while those in Experiment 2 contained plural subjects; each consisted of 20 sentences, half grammatical and half ungrammatical, along with 40 distractors. The self-paced reading experiments were designed using the E-Prime 3.0 software package. A complex reading span task was used as a measure of working memory capacity. LexTALE scores showed L2 English proficiency to be upper-intermediate. In Experiment 1, linear mixed-effects modeling revealed that the native speakers and L2 learners were sensitive to agreement violation in both short-distance SRC ungrammatical and long-distance ORC ungrammatical conditions, shown by reading slowdowns. Their ability to show and maintain their sensitivity was, however, modulated as a function of working memory capacity and distance-based complexity. In Experiment 2, linear mixed-effects modeling showed that unlike the native speakers, who were able to show and maintain their sensitivity in both distance conditions, higher-span L2 learners showed longer reading times which were observed only in the short-distance SRC ungrammatical condition. These findings indicated that nonnative sensitivity to L2 agreement violation tended to be modulated by individual differences in terms of working memory capacity and distance-based linguistic complexity, particularly in agreement processing that involved multiple unique-to-L2 features, i.e., plural and third-person singular morphology, in long-distance agreement dependencies. To account for L2 learners’ agreement processing difficulties, the findings suggested that L2 learners may labor under parallel activation, whereby working memory capacity is insufficient to resolve long-distance agreement dependencies, where the linguistic environment was more complex, thus resulting in reduced sensitivity to L2 agreement violation. The research findings were congruent with the L1-L2 structural competition account (Austin et al., 2015; Trenkic et al., 2014; Trenkic & Pongpairoj, 2013).
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
ในการรับภาษาที่สอง การประมวลผลไวยากรณ์หน่วยคำแสดงความคล้อยตามของผู้เรียนภาษาที่สองมักปรากฏความแตกต่างจากเจ้าของภาษา และปัญหาของการประมวลผลหน่วยคำในภาษาที่สองมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายด้าน งานวิจัยด้านการประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตามที่ผ่านมายังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่า ระบบภาษาที่หนึ่งและระบบภาษาที่สองได้รับการกระตุ้นร่วมกันในขณะประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตามหรือไม่ งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาตัวแปรความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านความจำขณะทำงานและความซับซ้อนด้านระยะห่างระหว่างประธานกับกริยาในการประมวลผลไวยากรณ์หน่วยคำแสดงความคล้อยตามในภาษาที่สอง งานวิจัยนี้ประกอบด้วยการทดลอง จำนวน 2 แบบ ผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง จำนวน 80 คน และเจ้าของภาษา จำนวน 80 คน เข้าร่วมการทดลองการอ่านทีละคำแบบกำหนดเวลาด้วยตนเอง (self-paced reading) โดยประโยคที่ใช้ในการทดลองมีสองเงื่อนไขที่แตกต่างกันในด้านระยะห่างการพึ่งพาของหน่วยคำแสดงความคล้อยตาม โดยใช้โครงสร้างคุณานุประโยคภาษาอังกฤษแบบสลับความหมายได้ในการสร้างระยะห่าง เช่น *The guy [that _ knows the driver/that the driver knows _] want to buy a new car. ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการพึ่งพาที่มีลักษณะภายใน (the dependency locality theory) (Gibson, 1998, 2000) การออกแบบประโยคทดลองเป็นแบบ 2 x 2 โดยมีตัวแปรอธิบาย ได้แก่ ระยะห่างและความถูกต้องทางไวยากรณ์ของหน่วยคำแสดงความคล้อยตามทางพจน์ระหว่างประธานและกริยาของอนุประโยคหลัก ประโยคทดลองในการทดลองที่หนึ่งใช้ประธานเอกพจน์ ในขณะที่ในการทดลองที่สองใช้ประธานพหูพจน์ โดยแต่ละการทดลองประกอบด้วยประโยคทดลอง จำนวน 20 ประโยค โดยมีประโยคทดลองที่มีเงื่อนไขแบบถูกไวยากรณ์ จำนวน 10 ประโยค ประโยคทดลองที่มีเงื่อนไขแบบผิดไวยากรณ์ จำนวน 10 ประโยค และประโยคลวง จำนวน 40 ประโยค โดยใช้โปรแกรม E-Prime 3.0 ในการออกแบบการทดลองการอ่านทีละคำแบบกำหนดเวลาด้วยตนเอง นอกจากนี้ ยังใช้แบบอ่านวัดช่วงความจำขณะทำงาน (reading span task) เพื่อวัดขนาดของความจำขณะทำงานของกลุ่มตัวอย่าง โดยสมิทธิภาพภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทยอยู่ในระดับกลางสูงซึ่งวัดจากแบบวัด LexTALE ในการทดลองที่หนึ่ง ผลการวิเคราะห์โมเดลเชิงเส้นแบบผสมพบว่า เจ้าของภาษาและผู้เรียนชาวไทยมีความแวดไวทางไวยากรณ์เมื่อประโยคประกอบด้วยการใช้หน่วยคำแสดงความคล้อยตามผิดไวยากรณ์ ทั้งในแบบระยะห่างการพึ่งพาของหน่วยคำแสดงความคล้อยตามแบบใกล้และแบบไกลผ่านระยะเวลาการอ่านที่ช้าลง อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการแสดงความแวดไวทางไวยากรณ์ได้รับอิทธิพลจากขนาดของความจำขณะทำงานและความซับซ้อนด้านระยะห่างระหว่างประธานและกริยา ในการทดลองที่สอง ผลการวิเคราะห์โมเดลเชิงเส้นแบบผสมพบว่า การประมวลผลของผู้เรียนชาวไทยแตกต่างจากการประมวลผลของเจ้าของภาษา ผู้เรียนชาวไทยใช้เวลาการอ่านที่ช้าลงในประโยคแบบระยะห่างการพึ่งพาของหน่วยคำแสดงความคล้อยตามแบบใกล้เท่านั้นและมีความแวดไวทางไวยากรณ์สัมพันธ์กับช่วงความจำขณะทำงานที่สูงขึ้น ในขณะที่เจ้าของภาษาสามารถแสดงความแวดไวทางไวยากรณ์ทั้งในแบบระยะห่างการพึ่งพาของหน่วยคำแสดงความคล้อยตามแบบใกล้และแบบไกล ผลการวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ความแวดไวทางไวยากรณ์ที่แตกต่างจากเจ้าของภาษาในการประมวลผลไวยากรณ์หน่วยคำแสดงความคล้อยตามของผู้เรียนภาษาที่สองนั้นได้รับอิทธิพลจากความแตกต่างระหว่างบุคคลในแง่ของขนาดความจำขณะทำงาน และความซับซ้อนด้านระยะห่างระหว่างประธานและกริยา โดยเฉพาะการประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตามที่ประกอบด้วยไวยากรณ์เฉพาะในภาษาที่สอง ได้แก่ หน่วยคำแสดงพหูพจน์และหน่วยคำแสดงความคล้อยตามในบุรุษที่สามเอกพจน์ในประโยคที่มีระยะห่างการพึ่งพาของหน่วยคำแบบไกล ข้อค้นพบในงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองอาจได้รับการกระตุ้นร่วมกันแบบคู่ขนานและส่งผลต่อการประมวลผลของผู้เรียนภาษาที่สอง โดยที่ความจำขณะทำงานอาจไม่เพียงพอต่อการประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตาม ซึ่งเป็นผลมาจากการประมวลหน่วยคำที่อยู่ในประโยคที่มีระยะห่างการพึ่งพาของหน่วยคำแบบไกลและมีความซับซ้อนทางโครงสร้างภาษามากกว่า จึงส่งผลทำให้ความแวดไวต่อหน่วยคำแสดงความคล้อยตามที่ผิดไวยากรณ์ในภาษาที่สองลดลง ทั้งนี้ปัญหาการประมวลผลหน่วยคำแสดงความคล้อยตามในผู้เรียนภาษาที่สองยังสอดคล้องกับสมมติฐานของการแข่งขันทางโครงสร้างระหว่างภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สอง (the L1-L2 structural competition account) (Austin et al., 2015; Trenkic et al., 2014; Trenkic & Pongpairoj, 2013)
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Rattanasak, Sonthaya, "Effects of working memory on structural competition in processing English present tense morphology by L1 Thai learners" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 4692.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4692