Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ผลกระทบของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยต่อคุณภาพชีวิตที่สัมพันธ์กับโรคในช่องปากของเด็กอายุ 5 ปี ในเมือง มัณฑะเลย์ ประเทศพม่า

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

Palinee Detsomboonrut

Second Advisor

Duangporn Duangthip

Third Advisor

Gao, Sherry Shiqian

Faculty/College

Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Community Dentistry (ภาควิชาทันตกรรมชุมชน)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

Dental Public Health

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.124

Abstract

Purpose: The study aimed to develop the cross-cultural adaptation and psychometric properties of the Myanmar Version of SOHO-5 and assess the impact of ECC on oral health quality of life among 5-year-old children in Mandalay using the Myanmar version of the SOHO-5 questionnaire. Materials and methods: The Myanmar SOHO-5 version was conducted with the forward-backward translation method and investigated the content validity, internal consistency, test-retest reliability, construct validity, and discriminant validity on 5-year-old children and their parents in phase I. A cross-sectional study was conducted using a self-administered questionnaire to investigate the impact of ECC and relative factors on the oral health related quality of life of children in phase II. A total of 509 child–parent pairs in seven districts of Mandalay city, Myanmar were recruited to collect data related to the child’s demographic, oral health behavior, and children's OHRQoL using parental and child versions of SOHO-5 questionnaire. Clinical examinations were performed to determine the dmfs caries. Chi-squared analysis and multiple logistic regression were used to analyze the data. Results: In Phase I, the questionnaires were tested on 173 five years old children and their parents for reliability and validity. Cronbach's alpha coefficient values for internal consistency were 0.82 for the children's report and 0.79 for the parental report. The ICCs were 0.90 and 0.89 for the total scores of the children and parental versions in the test-retest reliability analysis. The total SOHO-5 scores for both reports were significantly associated with the global rating questions except for the 'impact on children's general health' question in the parental report. Furthermore, the Myanmar version discriminated between the children with and without caries experiences (p < 0.001). The result in phase II showed that 64.4 % of children reported an impact on OHRQoL (SOHO-5 score > 0), and 67.8% of the parent reported an impact on their children’s OHRQoL. The mean (standard deviation) total score of the SOHO-5 was 1.8 (2.2) and 2.6 (3.2), for child self-report and parental version, respectively. In multivariate logistic regression analysis, children with a higher dmft score had a significantly higher chance of having a poorer OHRQoL (OR: 1.23 (95% CI 1.16 - 1.31, p < 0.001) for children’s report and (OR: 1.24, 95% CI 1.17 - 1.33, p < 0.001) for parent’s report. Moreover, the debris score (OR: 2.12, 95% CI 1.39 – 3.23, p < 0.001) and the starting age for tooth brushing (OR: 1.61, 95% CI 1.03 – 2.51, p = 0.037) were the significant factors affecting children’s OHRQoL based on children’s report. Similarly in parent’s report, the debris score (OR: 2.08, 95% CI 1.35 – 3.21, p = 0.001), starting age for tooth brushing (OR: 1.89, 95% CI 1.21 – 2.98, p = 0.006) and brushing day per week (OR: 1.98, 95% CI 1.00 – 3.92), p < 0.049) had a greater probability of exerting an impact on children’s OHRQoL. Conclusion: This study provides evidence that the Myanmar SOHO-5 version’s children and parental reports have good reliability and validity and can be used to assess the OHRQoL of 5-year-old children in a Burmese-speaking population. In phase II, there was a significant relationship between ECC and OHRQoL of 5-year-old children in terms of the perceptions of both children and their parents. Furthermore, the study showed that the children’s OHRQoL was significantly associated with caries experiences, oral hygiene status, and starting age for tooth brushing in both reports, and brushing days per week in the parent report.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการปรับเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมและคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของมาตรวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 5 ปี และประเมินผลกระทบของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยต่อคุณภาพชีวิตในเด็กอายุ 5 ปีในเมืองมัณฑะเลย์โดยใช้แบบสอบถามมาตรวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 5 ปี วัสดุและวิธีการ: มาตรวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 5 ปีได้รับการแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาพม่าและแปลย้อนกลับ และทดสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ความสอดคล้องภายใน การวัดความเที่ยงด้วยวิธีทดสอบซ้ำ ความเที่ยงตรงตามโครงสร้างและความตรงเชิงจำแนกในเด็กอายุ 5 ปีและผู้ปกครองในการศึกษาระยะแรก การศึกษาภาคตัดขวางได้ดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามด้วยตนเองเพื่อประเมินผลกระทบของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของเด็กในการศึกษาระยะที่สอง ผลการศึกษา พบว่า เด็กและผู้ปกครองจำนวน 509 คู่ใน 7 เขตในเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า ได้รับการคัดเลือกเพื่อเก็บข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมสุขภาพช่องปาก และคุณภาพชิวิตมิติสุขภาพช่องปากโดยใช้มาตรวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 5 ปี ทั้งฉบับสำหรับเด็กและสำหรับผู้ปกครอง และได้รับการตรวจทางคลินิกเพื่อประเมินค่าเฉลี่ย ผุ อุด ถอน การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ไคสแควร์และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา: แบบสอบถามได้รับการประเมินความเที่ยงและความตรงในเด็กจำนวน 173 คน สำหรับการศึกษาระยะแรก พบว่า การตรวจสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชในการวัดความสอดคล้องภายในมีค่าเท่ากับ 0.82 ในฉบับเด็ก และ เท่ากับ 0.79 ในฉบับผู้ปกครอง ค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้นในการวัดความเที่ยงด้วยวิธีทดสอบซ้ำ มีค่าเท่ากับ 0.90 และ 0.89 สำหรับฉบับเด็กและผู้ปกครองตามลำดับ คะแนนมาตรวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 5 ปี ทั้งฉบับเด็กและฉบับผู้ปกครองมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับข้อคำถามโดยรวม ยกเว้นข้อคำถาม “ผลกระทบด้านสุขภาพทั่วไปของเด็ก”ในส่วนของผู้ปกครอง นอกจากนี้แบบสอบถามฉบับภาษาพม่ามีความสามารถในการจำนแกเด็กที่มีฟันผุและเด็กที่ปราศจากฟันผุได้ (p < 0.001) ผลการศึกษาในระยะสอง พบว่า ร้อยละ 64.4 ของเด็กมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 5 ปี และร้อยละ 67.8 ของผู้ปกครองรายงานว่าเด็กมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากเช่นเดียวกัน ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนมาตรวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 5 ปีมีค่าเท่ากับ 1.8 (2.2) และ 2.6 (3.2) ในฉบับรายงานโดยเด็กและผู้ปกครองตามลำดับ ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก พบว่า เด็กที่มีค่าเฉลี่ยผุ อุด ถอนสูงกว่าจะมีโอกาสที่มีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากต่ำกว่าทั้งที่รายงานโดยเด็ก(OR: 1.23 (95% CI 1.16 - 1.31, p < 0.001) และรายงานโดยผู้ปกครอง (OR: 1.24, 95% CI 1.17 - 1.33, p < 0.001) นอกจากนี้คะแนนอนามัยในช่องปาก (OR: 2.12, 95% CI 1.40 – 3.23, p < 0.001) และอายุที่เริ่มแปรงฟัน (OR: 1.61, 95% CI 1.03 – 2.51, p = 0.037) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับฉบับเด็ก ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับผลในฉบับผู้ปกครอง ที่พบว่า คะแนนอนามัยในช่องปาก (OR: 2.08, 95% CI 1.35 – 3.21, p = 0.001)อายุที่เริ่มแปรงฟัน (OR: 1.89, 95% CI 1.21 – 2.98, p = 0.006) และความถี่ในการแปรงฟันต่อสัปดาห์ (OR: 1.98, 95% CI 1.00 – 3.92), p < 0.049) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในเด็ก สรุปผล: การศึกษานี้แสดงหลักฐานว่า มาตรวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 5 ปี ฉบับภาษาพม่าทั้งที่รายงานโดยเด็กและผู้ปกครองมีความเที่ยงและความตรงที่ดี และสามารถใช้ในการประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในเกอายุ 5 ปีในประชากรที่ใช้ภาษาพม่าได้ การศึกษาในระยะสอง พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยกับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากสำหรับเด็กอายุ 5 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งการรับรู้ของเด็กและของผู้ปกครอง นอกจากนี้ ประสบการณ์ฟันผุ ปัจจัยทางสังคม อนามัยช่องปาก และอายุที่เริ่มแปรงฟัน เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากทั้งฉบับเด็กและผู้ปกครอง ส่วนความถี่ของการแปรงฟันต่อสัปดาห์เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากในฉบับผู้ปกครอง

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.