Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The politics of water policy making process in Indonesia:comparative case studies of Kuta and Sanur, Bali

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์

Faculty/College

Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)

Degree Name

รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

รัฐศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.980

Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับความขัดแย้งด้านทรัพยากรน้ำที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณ Kuta และ Sanur ในจังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งหลังจากที่ได้มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ส่วนท้องถิ่นนั้น รัฐบาลท้องถิ่นต้องพึ่งพาหรือหารายได้ด้วยตนเองมากขึ้น โดยการหารายได้ดังกล่าวอาจจะเป็นการคำนึงถึงผลประโยชน์ของฝ่ายรัฐบาลมากเกินไป จึงส่งผลกระทบต่อทั้งตัวชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับวัตถุประสงค์ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาวิวัฒนาการของการจัดสรรทรัพยากรน้ำในพื้นที่ท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแสดงที่เกี่ยวข้องในการจัดสรรทรัพยากรน้ำ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของกระบวนการของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่ใช้แก้ไขการจัดสรรทรัพยากรน้ำในพื้นที่ท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีสมมติฐานคือ การออกแบบเชิงสถาบัน (Institutional Design) ในการจัดการทรัพยากรน้ำ อันได้แก่ กระบวนการแสดงความคิดเห็นของชุมชน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับ deliberative democracy หรือการสร้างความสัมพันธ์ที่มีลักษณะที่เป็นแบบ Horizontal ซึ่งจะมีศักยภาพมากกว่าลักษณะที่เป็นแบบ Vertical มีแนวโน้มที่จะลดความขัดแย้งในการจัดสรรทรัพยากรน้ำในพื้นที่ได้ สำหรับการเก็บข้อมูลผู้วิจัยได้ทำการลงพื้นที่เพื่อทำการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด 4 กลุ่ม อันได้แก่ 1) กลุ่มหมู่บ้าน/ชุมชน 2) กลุ่ม NGOs 3) กลุ่มรัฐบาลท้องถิ่นที่รับผิดชอบงานด้านทรัพยากรน้ำ และ 4) กลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งบริเวณ Kuta และ Sanur จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ผลการวิจัยพบว่าในบริบทของบริเวณ Kuta และ Sanur ในจังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ถึงแม้ว่าจะมีความไม่เสมอภาคในตอนเริ่มแรก แต่ผลประโยชน์ของชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณที่ทรัพยากรน้ำขาดแคลนอย่างจริงจัง ก็ถูกเริ่มนำมาพิจารณาอย่างต่อเนื่องในเวทีการเจรจาหาทางออกร่วมกัน ดังนั้นจะตอบสมมติฐานได้ว่า องค์ประกอบที่นำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรน้ำที่เท่าเทียมและทำให้ประชาชนในท้องถิ่นบริเวณ Kuta และ Sanur ในจังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซียสามารถเข้าถึงน้ำได้อย่างเท่าเทียม ไม่เกิดสภาวะการขาดแคลนน้ำ จะประกอบไปด้วย ประการที่ 1 การที่รัฐบาลท้องถิ่นรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ประการที่ 2 กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งที่มีลักษณะเป็น Deliberative democracy โดยประการที่ 1 และประการที่ 2 จะเห็นได้จากการจัดตั้งคณะกรรมการด้านการบริหารจัดการน้ำ หรือ Water Management Committees (WMCs) และประการที่ 3 ความร่วมมือของกลุ่มธุรกิจในการกำหนดนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ ดังจะเห็นได้จากโมเดลความร่วมมือในการป้องกันน้ำใต้ดิน โดยเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This thesis aimed to investigate the conflicts over water resources in the Kuta and Sanur area in Bali, Indonesia. After administrative decentralization, local governments are required to become more self-reliant and generate income by themselves. Such income may be overly concerned with the interests of the government, so it affects both the community and the stakeholders. The objectives of this thesis were divided into 3 items, namely: 1) To study the evolution of water resource allocation in local areas of Indonesia, 2) To analyze the influence of actors involved in the allocation of water resources, and 3) To analyze the model of the deliberative democracy process used to correct the allocation of water resources in local areas of Indonesia. This thesis is based on the hypothesis of institutional design in the management of water resources, including Community Opinion Process. Stakeholder groups, involved in a deliberative democracy or relationship building of a horizontal nature which was more potent than a vertical nature, were more likely to reduce conflicts in the allocation of water resources in the area. For data collection, the researcher went to the area to conduct interviews with all 4 stakeholder groups, which were: 1) village/community groups, 2) NGOs, 3) local government groups responsible for water resources, and 4) tourism industry groups in Kuta and Sanur, Bali, Indonesia from November 5 to the date November 19, 2019. The results indicated that in the context of the Kuta and Sanur area in Bali, Indonesia, despite the initial inequality, the interests of the villagers in areas where water resources were severely scarce were continually considered in the negotiating forum to find a solution together. Thus, the hypothesis that the elements leading to equitable allocation of water resources and enabling the local population of Kuta and Sanur in Bali, Indonesia to have equal access to water without water scarcity would include: The first feature was that the local government listens to the opinions of the community and the second feature was the process of resolving conflicts characterized by deliberative democracy. The first and the second features were evident from the establishment of Water Management Committees (WMCs). The third feature was the cooperation of the business group in formulating water resource management policies that can be seen from the cooperation model on groundwater protection, which was cooperation between regional and local authorities.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.