Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Conceptual metaphors of male, female and LGBT in public discourses :a case study of television drama scripts and Thai pop songs

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Department (if any)

Department of Thai (ภาควิชาภาษาไทย)

Degree Name

อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

ภาษาไทย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.948

Abstract

กิบส์ (Gibbs, 1994) และโคเวคเซส (KÖvecses, 2002, 2010) กล่าวไว้ว่า ไม่ใช่เพียงแค่ถ้อยคำอุปลักษณ์ที่ใช้ในการสนทนาในชีวิตประจำวันเท่านั้นที่สะท้อนมโนทัศน์ของผู้ใช้ภาษาได้ ถ้อยคำอุปลักษณ์ที่มีลักษณะสร้างสรรค์จากแหล่งอื่นๆ เช่น นวนิยาย บทกวี ก็สามารถสะท้อนมโนอุปลักษณ์ (conceptual metaphor) ของผู้ใช้ภาษาในสังคมได้เช่นกัน วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มโนอุปลักษณ์เพศชาย เพศหญิง และเพศทางเลือก และวิเคราะห์ทัศนคติเกี่ยวกับเพศชาย เพศหญิง และเพศทางเลือกที่สะท้อนผ่านถ้อยคำอุปลักษณ์ในบทละครโทรทัศน์และเพลงไทยสากล ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทละครโทรทัศน์จำนวน 45 เรื่อง และเพลงไทยสากลจำนวน 1,002 เพลงซึ่งเผยแพร่ระหว่างเดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนธันวาคม 2560 ผลการวิจัยพบว่า จากจำนวนถ้อยคำอุปลักษณ์ที่พบทั้งสิ้น 5,736 ถ้อยคำ แบ่งเป็นถ้อยคำอุปลักษณ์เพศชาย 2,474 ถ้อยคำ สะท้อนมโนอุปลักษณ์เพศชาย 5 ลำดับแรกที่มีความถี่สูงสุดได้แก่ [เพศชาย คือ สิ่งของในครอบครอง] [เพศชาย คือ สัตว์] [เพศชาย คือ สิ่งสกปรก/ สิ่งปฏิกูล] [เพศชาย คือ สินค้า] [เพศชาย คือ ตัวละคร] ถ้อยคำอุปลักษณ์เพศหญิง 3,078 ถ้อยคำ สะท้อนมโนอุปลักษณ์เพศหญิง 5 ลำดับแรกที่มีความถี่สูงสุดได้แก่ [เพศหญิง คือ สิ่งของในครอบครอง] [เพศหญิง คือ สัตว์] [เพศหญิง คือ สิ่งสกปรก/ สิ่งปฏิกูล] [เพศหญิง คือ อมนุษย์] [เพศหญิง คือ ตัวละคร] และถ้อยคำอุปลักษณ์เพศทางเลือก 184 ถ้อยคำ สะท้อนมโนอุปลักษณ์เพศทางเลือก 5 ลำดับได้แก่ [เพศทางเลือก คือ สัตว์] [เพศทางเลือก คือ สิ่งของในครอบครอง] [เพศทางเลือก คือ อาหาร] [เพศทางเลือก คือ สิ่งสกปรก/ สิ่งปฏิกูล] [เพศทางเลือก คือ อมนุษย์] ถ้อยคำอุปลักษณ์ในบทละครโทรทัศน์และเพลงไทยสากลสะท้อนมโนอุปลักษณ์เพศชายและเพศหญิงเป็นคู่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่สามารถสลับบทบาทกันได้เช่น [เพศชาย คือ สัตว์นักล่า] - [เพศหญิง คือ สัตว์ถูกล่า/ เหยื่อ] และ [เพศหญิง คือ สัตว์นักล่า] - [เพศชาย คือ สัตว์ถูกล่า/ เหยื่อ] จึงอาจดูเหมือนทั้งสองเพศมีอำนาจเท่าเทียมกัน แต่ถ้อยคำ อุปลักษณ์ที่แสดงว่าเพศชายเป็นฝ่ายมีอำนาจเหนือพบปริมาณมากกว่าเพศหญิง ในขณะที่ถ้อยคำอุปลักษณ์ที่ประเมินค่า เพศหญิงเป็นเชิงลบพบปริมาณมากกว่าเพศชาย สะท้อนให้เห็นว่าเพศชายยังคงมีอำนาจเหนือกว่าเพศหญิงเช่นเดียวกับงานวิจัยด้านสังคมวิทยา ข้อค้นพบที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมสะท้อนผ่านหลักฐานทางภาษาว่าเพศหญิงสามารถเป็นผู้มีอำนาจเหนือกว่าเพศชายได้ ส่วนถ้อยคำอุปลักษณ์ที่สะท้อนมโนอุปลักษณ์เพศทางเลือกพบเฉพาะในบทละครโทรทัศน์และมักสะท้อนความเป็นชายขอบหรือเพิ่มระดับการลดคุณค่ามากกว่าเพศชายและเพศหญิง ผลการวิเคราะห์ทัศนคติที่สะท้อนผ่านมโนอุปลักษณ์เชิงวิพากษ์สรุปได้ว่า แม้จะมีมโนอุปลักษณ์ที่สะท้อนทัศนคติด้านบวกอยู่บ้าง แต่มโนอุปลักษณ์เพศสภาวะที่พบส่วนใหญ่สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางเพศหรืออำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ ตัวอย่างเช่น เพศชายยังมองเพศหญิงเป็นเพียงสิ่งตอบสนองความต้องการทางกาย (มโนอุปลักษณ์อาหารและ สิ่งด้อยค่า) เพศหญิงถูกเพิ่มค่าหรือลดค่าได้ (มโนอุปลักษณ์สิ่งมีค่า สินค้า สิ่งด้อยค่าและสิ่งไร้ค่า) เพศชายมีอำนาจแต่เพศหญิงไร้อำนาจ (มโนอุปลักษณ์สัตว์นักล่าและสัตว์ถูกล่า) เพศชายเป็นที่พึ่งและเพศหญิงเป็นที่พึ่งพา (มโนอุปลักษณ์พืช) เพศหญิงถูกกดขี่ทางเพศ (มโนอุปลักษณ์สัตว์ป่า) แม้ว่ากลุ่มมโนอุปลักษณ์ที่พบจะพบทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่เมื่อเทียบปริมาณถ้อยคำอุปลักษณ์และทัศนคติจะสะท้อนว่าเพศหญิงเป็นเพศที่ด้อยค่ากว่าเพศชาย ส่วนมโนอุปลักษณ์เพศทางเลือกสะท้อนว่าเพศทางเลือกเป็นเพศที่ด้อยค่ากว่าเพศหญิง อุดมการณ์ที่แฝงอยู่ภายใต้มโนอุปลักษณ์ที่พบในวาทกรรมสาธารณะ มี 3 อุดมการณ์เรียงลำดับจากพบมากไปน้อยได้แก่ อุดมการณ์ปิตาธิปไตย อุดมการณ์สตรีนิยม และอุดมการณ์รักต่างเพศ จากการวิคราะห์อุปลักษณ์แสดงให้เห็นว่าความเหลื่อมล้ำทางเพศหรือความไม่เท่าเทียมทางเพศยังคงมีอยู่ในสังคมไทยและถูกผลิตซ้ำผ่านวาทกรรมสาธารณะ แต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงให้เกิดความเท่าเทียมมากขึ้น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Gibbs (Gibbs, 1994) and KÖvecses (KÖvecses, 2002, 2010) state that it is not only metaphorical expressions used in daily conversation that can reflect language users’ concept, but metaphorical linguistic expressions which are created from other sources, such as novels and poetry, also can reflect conceptual metaphors of language users in society. This thesis aims to analyze male, female, and LGBT’s conceptual metaphors, and analyze attitudes towards males, females, and LGBTs, which are reflected through metaphorical expressions in television drama scripts and Thai pop songs. Data used in the research includes 45 television drama scripts and 1,002 Thai pop songs which were released in January 2015 through December 2017. The research shows that out of 5,736 metaphorical expressions found, 2,474 are male metaphorical expressions reflecting 5 highest frequency male conceptual metaphors as follows: MALE IS POSSESION; MALE IS ANIMAL; MALE IS FILTH/ WASTE; MALE IS MERCHANDISE; and MALE IS CHARACTER. There are 3,078 female metaphorical expressions reflecting 5 highest frequency female conceptual metaphors as follows: female as possession; FEMALE IS ANIMAL; FEMALE IS FILTH/ WASTE; FEMALE IS NON-HUMAN; and FEMALE IS CHARACTER. There are 184 LGBT’s metaphorical linguistic expressions reflecting 5 LGBT’s conceptual metaphors as follows: LGBT IS ANIMAL; LGBT IS POSSESION; LGBT IS FOOD; LGBT IS FILTH/ WASTE; and LGBT IS NON-HUMAN. Metaphorical expressions in television drama scripts and Thai pop songs reflect male and female conceptual metaphors as power relation’s pair which can switch roles, for example, male as predator – female as prey/ victim and female as predator – male as prey/ victim. Both genders, therefore, seem to have equal power. However, metaphorical expressions of males as the ones with more power are more frequently found. Meanwhile, more metaphorical expressions assessing females negatively are found than those of males. This reflects that males still have more power than females which is the same as found in research in sociology. One interesting finding is that nowadays there have been social changes reflected through linguistic evidences, that females can be the ones with more power than males. Metaphorical linguistic expressions reflecting LGBT’s conceptual metaphors are found only in television drama scripts and often reflect marginality or heighten the devaluation more than male and female. A critical metaphor analysis of attitudes leads to a conclusion that although there are some positive conceptual metaphors, most of the gender conceptual metaphors found, reflect gender disparity or unequal power between genders. For instance: males still see females as something that respond to physical needs (conceptual metaphors of food and worthless thing); females’ values can be added or reduced (conceptual metaphors of valuables, merchandise, worthless things and valueless things); males have power but females are powerless (conceptual metaphors of predators and preys); males are dependable and females are dependent (conceptual metaphors of plants); females are sexually oppressed (conceptual metaphors of wild animals). Although such conceptual metaphors are found in both male and female, there are more metaphorical expressions and attitudes that are found to be reflecting that females have less value than males. Meanwhile, LGBT’s conceptual metaphors reflect that LGBTs have less value than females. There are 3 ideologies hidden in the conceptual metaphors found in the public discourse. The most found is the patriarchal ideology, and then the feminist ideology, followed by the heteronormative ideology. The metaphor analysis shows that gender disparity and gender inequality still exist in Thai society and are reproduced through public discourse, yet some changes have been made to improve equality.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.