Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Contexts and conditions related to leaving begging livelihoods: case studies in Bangkok
Year (A.D.)
2020
Document Type
Thesis
First Advisor
ศยามล เจริญรัตน์
Second Advisor
สุวัฒนา ธาดานิต
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
พัฒนามนุษย์และสังคม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2020.933
Abstract
ปัญหาขอทานเป็นปัญหาสังคมมายาวนานทั้งในแง่เศรษฐกิจและสังคม และส่งผลไปยังปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การค้ามนุษย์ การป้องกันและแก้ปัญหาให้ขอทานหลุดพ้นจากสภาวะการเป็นขอทานจึงเป็นประเด็นสำคัญ การศึกษาครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาถึงเงื่อนไขของการเข้าสู่การเป็นคนขอทาน 2) ศึกษาถึงเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการยุติการเป็นคนขอทาน 3) ศึกษาถึงรูปแบบและวิธีการที่คนขอทานไทยยุติการเป็นคนขอทาน และ 4) เสนอแนะแนวทางการป้องกันและการให้ความช่วยเหลือแก่คนขอทานไทย ผ่านการศึกษาเชิงคุณภาพแบบประวัติศาสตร์ชีวิต (Life History) ของกรณีศึกษา โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงเป็นบุคคลที่หลุดพ้นสถานะของคนขอทานในสองสถานะคือบุคคลที่ประกอบอาชีพอยู่แล้ว และบุคคลอยู่ในระหว่างการพักฟื้นภายในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จำนวน 6 คน จากผลการศึกษาพบว่า เงื่อนไขที่ส่งผลให้กลายเป็นคนขอทานเมื่อพิจารณาจากแนวคิดนิเวศวิทยาเชิงสังคม ได้แก่ 1) เงื่อนไขระดับบุคคล (Individual Level) ประกอบด้วย ปัจจัยทางเศรษฐกิจ และปัญหาความยากจน ปัจจัยด้านความพร้อมของสภาพร่างกายและจิตใจ และเงื่อนไขปัจจัยด้านระดับการศึกษา 2) เงื่อนไขระดับระหว่างบุคคล (Interpersonal Level) หรือปัจจัยด้านครอบครัวเป็นเงื่อนไขหลักที่ผลักดันให้กรณีศึกษาแทบทุกกรณีกลายเป็นคนขอทาน 3) เงื่อนไขระดับสถาบัน (Organizational / Institutional Level) ประกอบด้วยปัจจัยด้านทุนทางสังคมและการเข้าถึงทุนทางสังคม ที่คอยให้การสนับสนุน เงื่อนไขในระดับ ที่ 4) เงื่อนไขระดับชุมชน (Community Level) และ 5) เงื่อนไขระดับสังคม (Social Level) เป็นเงื่อนไขที่ไม่ส่งอิทธิพลต่อการกลายเป็นขอทาน อย่างไรก็ตามเพื่อให้หลุดพ้นจากการเป็นขอทานพบว่าประกอบด้วยสามระยะ คือ 1) ช่วงระยะตั้งต้น 2) ช่วงเปลี่ยนผ่านมาเป็นคนทั่วไปและพร้อมที่จะเริ่มต้นทำงาน และ 3) ช่วงสร้างความมั่นคงในงานหรืออาชีพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้ชีวิตของอดีตคนขอทานสามารถทะยานพ้นจากการเป็นขอทานซึ่งอยู่ในเงื่อนไขระดับสถาบันและเงื่อนไขระดับสังคมมากกว่าเงื่อนไขระดับที่ใกล้ตัวขอทาน คือ ปัจจัยจากภาครัฐ และภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมอย่าง สถาบันทางศาสนาเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์การเปลี่ยนผ่านมาเป็นขอทานและการกลับไปเป็นคนปกติมีปัจจัยที่แยกขาดออกจากกันไม่ได้อย่างชัดเจน เพราะแต่ละปัจจัยมีความซับซ้อนและเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ดังนั้นขอทานแต่ละคนจะมีเงื่อนไขของการกลับไปสู่คนปกติที่แตกต่างกัน และการแก้ไขเป็นกระบวนการที่สิ้นเปลืองทรัพยากรมากกว่าการป้องกันไม่ให้กลายมาเป็นขอทาน ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ คือ การกำหนดนโยบายในการป้องกันเพื่อไม่ให้บุคคลในสังคมต้องเปลี่ยนสถานะเป็นคนขอทาน และนโยบายที่ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลที่มีสถานะเป็นคนขอทานให้สอดคล้องกับบริบทของปัญหาในสถานการณ์ปัจจุบันอย่างเหมาะสม ในกลุ่มคนที่สามารถหลุดพ้นสถานะจากการเป็นคนขอทานและเปลี่ยนสถานะมาเป็นคนที่เริ่มต้นจะเป็นคนทำงาน และมีสถานะเป็นคนทำงานแล้ว รัฐและสถาบันอื่น ๆ ในสังคมก็ควรที่จะหยิบยื่นโอกาสและมอบความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ประกอบกับทัศนคติที่ผู้คนในสังคมมีต่อกลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The problem of beggars had long been a social problem in terms of economy and society, and it had also resulted in other related problems such as human trafficking. Prevention and problem solving of escapade from the state of being beggars was an important issue. This research aimed to 1) study the conditions of becoming a beggar, 2) study the conditions that affect the termination of the beggar, 3) study the patterns and methods that Thai beggars cease to be beggars, and 4) provide advice on prevention and assistance to Thai beggars. This study was a qualitative research that studied the life history of case studies. The sample of the study was chosen based on a purposive sampling, with six individuals who had left the beggar status: pre-occupation persons and persons who were in rehabilitation within the homeless shelter. The results of this study indicated that the conditions that resulted in becoming a beggar considering the social ecology concept were 1) Individual level conditions consist of economic factors and poverty problems, factors of physical and mental readiness, and educational level conditions. 2) Interpersonal level conditions or the family factors were the primary condition that drove almost every case study to become a beggar. 3) Organizational / Institutional Level conditions comprised factor of social capital and access to social capital that support the conditions. 4) Community level conditions. and Social Level were a condition that did not influence becoming a beggar. Nevertheless, in order to free from being a beggar, it was found that it consisted of three phases: 1) the initial phase, 2) the transition period to the common person and ready to start working, and 3) the stability of the job or career. This phase was a factor that contributed to the life of a former beggar to free from being a beggar, which was on the institutional and social level rather than the level conditions near the beggar which were factors from government and various sectors in society such as religious institutions. However, the phenomenon of becoming bagger and returning to normal had clearly inseparable factors as each of them was complex and interconnected. Therefore, each beggar had different conditions of returning to normal, and solving was a more resource-consuming process than preventing them from becoming a beggar. The recommendations of this study were to establish policies to prevent people in society from changing to beggar status and policies that provide assistance to people with beggar status in line with the context of the problem in the current situation appropriately. The person mentioned was a group of people who can get away from being a beggar, change their status to a person who had started to be a worker, and had a working status. States and other institutions in society should also be able to offer opportunities and provide assistance in various fields, along with the attitude that people in society had towards the target group this time.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ธรรมลังกา, วัฒนา, "บริบทและเงื่อนไขการยุติการเป็นขอทาน: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 4477.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4477