Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Legal problems on assignment of claims in past infringement before patent assignment

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.823

Abstract

ในปัจจุบันได้มีการโอนสิทธิบัตรในทางธุรกิจมากขึ้น โดยเมื่อมีการซื้อขายสิทธิบัตร ผู้ซื้อสิทธิบัตรย่อมจะต้องตรวจสอบเกี่ยวกับสิทธิบัตรที่ตนจะลงทุนซื้อว่ามีความคุ้มค่าที่จะลงทุนโดยมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่าสิทธิบัตรดังกล่าวถูกละเมิดหรือไม่ เพราะการละเมิดสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นก่อนที่จะได้รับโอนสิทธิบัตรมาอาจทำให้ผู้รับโอนที่จะเป็นเจ้าของสิทธิบัตรคนใหม่ไม่ได้รับผลตอบแทนจากการนำสิทธิบัตรนั้นไปใช้ได้อย่างเต็มที่และเสียโอกาสในทางตลาดในอนาคต ผู้รับโอนก็ย่อมจะต้องการบังคับให้ผู้กระทำละเมิดก่อนที่ตนจะรับโอนสิทธิบัตรระงับการกระทำละเมิดดังกล่าว โดยมีประเด็นปัญหาทางกฎหมายที่วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นก่อนการโอนสิทธิบัตรว่า เมื่อตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522 ได้รับรองให้สิทธิบัตรดังกล่าวสามารถโอนให้แก่กันได้ แต่ไม่ได้มีการกำหนดขอบเขตว่ามีสิทธิใดบ้างที่โอนมายังผู้รับโอนสิทธิบัตร จึงมีประเด็นว่าหนี้มูลละเมิดสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นก่อนการโอนสิทธิบัตรนั้นจะโอนมาพร้อมกับการโอนสิทธิบัตรได้หรือไม่ และด้วยวิธีการและผลของกฎหมายใดในระบบกฎหมายไทย และวิธีการดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด กับสิทธิบัตรซึ่งมีลักษณะเฉพาะตามกฎหมายเฉพาะ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายของประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ และกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นก่อนการโอนสิทธิบัตรซึ่งถือเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการละเมิดสิทธิบัตรซึ่งเป็นการละเมิดตามกฎหมายเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522 ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่โอนไปด้วยผลของการโอนสิทธิบัตร หากประสงค์จะโอนจึงจะต้องแสดงเจตนาโอนแยก โดยสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดสิทธิบัตรถือเป็นสิทธิเรียกร้องอันอาจพิจารณาให้โอนได้ตามหลักการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โอนได้เฉพาะกรณีที่ได้โอนสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นก่อนการโอนสิทธิบัตรไปให้แก่ผู้รับโอนที่รับโอนสิทธิบัตรด้วย เนื่องจากสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดสิทธิบัตรถือเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผูกติดกับสถานะของผู้ทรงสิทธิบัตร ผู้รับโอนจึงจะต้องมีสถานะเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรด้วยจึงจะสามารถรับโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวอันสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายสิทธิบัตร ซึ่งในกรณีจะต้องพิจารณาให้โอนทั้งสิทธิบัตรที่สมบูรณ์ ด้วยการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522 ตามมาตรา 41 ประกอบกับการโอนสิทธิเรียกร้องที่สมบูรณ์ด้วยการทำเป็นหนังสือและจะต้องบอกกล่าวแก่ลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมเป็นหนังสือเพื่อยกขึ้นต่อสู้ลูกหนี้เห่งสิทธิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 จึงจะถือว่าผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นก่อนการโอนสิทธิบัตรจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในมูลละเมิดดังกล่าวได้ แต่การใช้หลักการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่เหมาะสมและเพียงพอกับสภาพปัญหาดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเสนอให้มีการตีความและเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นก่อนการโอนสิทธิบัตร และกำหนดความสมบูรณ์ของการโอนสิทธิบัตรให้ชัดเจนไว้ในพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522 เพื่อให้มีกฎหมายซึ่งเป็นกลไกในการคุ้มครองสิทธิบัตรให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายสิทธิบัตรและเกิดความเป็นระบบของกฎหมายสิทธิบัตร

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

At present, Patents are currently being transferred in the business world. When a patent is traded, Patent buyers must require to verify that patent are worth investing in, considering whether the patent has been infringed. Since patent infringement impacts their future benefit and market opportunities. As a result, before accepting the patent, the assignee must determine whether or not the patent is infringing. There are legal issues regarding past infringement claims, The Patent Act B.E. 2522 has certified that such patents can be assigned to each other but does not define the assignment objects are assigned to the assignee. Therefore, there has been some argument about whether the obligations in past infringement before patent assignment can be assigned with patent assignment, as is procedure and consequences in the Thai legal system. To provide some guideline for the analysis of such problems. The author has conducted a study on the Patent Act B.E. 2522 and the Civil and Commercial Code including the foreign laws such as the United States Law, the United Kingdom Law and the French Law. These results indicate that the claim in past infringement before patent assignment, which are claims arising from patent infringements which are violations of specific laws, is the Patent Act B.E. 2522, and that such claim is not assigned with patent assignment but declares an intention separately. The claim is assignable by the principle of Assignment of claims under the Civil and Commercial Code but it can only be assigned to the assignee who has accepted the patent assignment because the patent infringement claims are tied to the status of the patent holder. In order to accept such claims in accordance with the spirit of the patent law, the assignee must also have the status of a patent holder. As a result of this case, the validity must be considered. the validity of patent assignment must be in writing and registered under the Patent Act B.E. 2522, as well as the validity of the assignment of claims must be in writing and given notice to the debtor or the debtor has consented to the assignment in writing under the Civil and Commercial Code. According to my previous point, the assignee will have the authority to enforce the claims. However, the Civil and Commercial Code's principle of claim assignment is neither appropriate nor sufficient for such problems. For this reason, the author proposes to interpret and amend the provision of the Patent Act B.E. 2522 relating to the assignment of claim in past infringement before patent assignment and the validity of the patent assignment. To have a law that is a mechanism for patent protection that is accordance with the spirit of the patent law and to have a systematic approach to patent law.

Included in

Law Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.