Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Remineralization of artificial early caries lesions with paint-on acidulated phosphate fluoride gel vs fluoride varnish application
Year (A.D.)
2020
Document Type
Thesis
First Advisor
ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล
Faculty/College
Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Pediatric Dentistry (ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ทันตกรรมสำหรับเด็ก
DOI
10.58837/CHULA.THE.2020.725
Abstract
จุดประสงค์: เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการใช้แอซิดูเลทเทตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจลโดยการทาด้วยพู่กันต่อรอยผุจำลองบนชิ้นฟันน้ำนมเมื่อเปรียบเทียบการใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบไขว้ โดยใช้ฟันน้ำนม 50 ชิ้นมาสร้างรอยผุจำลอง และแบ่งเป็น 3 กลุ่มเพื่อทาสาร ได้แก่ (1) เจล หลอกที่ไม่มีฟลูออไรด์ ปริมาณ 0.4 มิลลิลิตร เป็นกลุ่มควบคุม (2) แอซิดูเลทเทตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจล ความเข้มข้นร้อยละ 1.23 ปริมาณ 0.4 มิลลิลิตร ทาด้วยพู่กัน (3) ฟลูออไรด์วาร์นิช ความเข้มข้นร้อยละ 5 ปริมาณ 0.4 มิลลิลิตร ชิ้นฟันตัวอย่างจะถูกติดกับเครื่องมือถอดได้ในขากรรไกรล่างสำหรับอาสาสมัครทั้งหมด 25 คน เพื่อรับสารทั้ง 3 ชนิดตามลำดับการสุ่ม หลังจากใส่เครื่องมือเป็นเวลา 1 ชั่วโมงจึงทำการถอดเครื่องมือและนำชิ้นฟันไปผ่านกระบวนการจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาวะความเป็นกรดด่างในช่องปากเป็นเวลา 14 วัน นำค่าเฉลี่ยร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์เริ่มต้น (△F0) และหลังการทดลอง (△F1) ที่วัดผลโดยใช้เครื่องคิวแอลเอฟ-ดี มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ผลการศึกษา: กลุ่มชิ้นฟันที่ได้รับเจลหลอกมีค่า △F1 ลดลง แสดงให้เห็นว่ามีการสูญเสียแร่ธาตุเกิดขึ้น กลุ่มที่ได้รับแอซิดูเลทเลตฟอสเฟตฟลูอไรด์เจลและฟลูออไรด์วาร์นิชมีค่า △F1 เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่ามีการคืนกลับแร่ธาตุเกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่างระหว่าง △F0 และ △F1 พบว่า ฟลูออไรด์วาร์นิชสามารถคืนกลับแร่ธาตุในรอยผุจำลองได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้แอซิดูเลทเทตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจลและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.0001) สรุป: การใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช ความเข้มข้นร้อยละ 5 สามารถคืนกลับแร่ธาตุในรอยผุจำลองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้แอซิดูเลทเทตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจล ความเข้มข้นร้อยละ 1.23 โดยการทาด้วยพู่กัน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Objective: To evaluate the effect of paint-on acidulated phosphate fluoride gel on deciduous enamel with artificial carious lesion compared with fluoride varnish application Methods: In this crossover study, 50 primary tooth slabs with artificial carious lesions were divided into 3 study sessions with the same 25 volunteers in each session. Volunteers wore lower removable appliance containing tooth slabs and received 3 treatments in random order: (1) control - 0.4 ml placebo non-fluoridated gel (2) 0.4 ml 1.23% acidulated phosphate fluoride (APF) gel, paint-on technique (3) 0.4 ml 5% NaF varnish. After 1 hour, appliances were removed, the specimens were detached and submitted to 14 days of pH-cycling. The mean percentage of fluorescence loss (△F) at baseline (△F0) and after procedure (△F1) were analyzed using quantitative light-induced fluorescence-digital (QLF-D). Results: The mean △F1 of placebo group decreased compared to baseline, indicating caries progression, whereas mean △F1 of treatment groups increased, indicating remineralization occurred. The statistical results shows that the differences of △F0 and △F1 of treatment groups significantly increased compared to the control group. The most remineralization increase was observed in 5% NaF varnish group. Conclusion: 5% NaF varnish is the more effective regimen compared to paint-on 1.23% APF gel to remineralize artificial carious lesions
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กีรติบำรุงพงศ์, กีรติพร, "การคืนกลับของแร่ธาตุในรอยผุจำลองระยะเริ่มต้น ระหว่างการใช้ฟลูออไรด์เจลโดยการทาด้วยพู่กันและการใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 4270.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/4270