Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ผลกระทบของแอนติบอดี้ที่ถ่ายทอดจากแม่ต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของลูกสุกรที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็น

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

Dachrit Nilubol

Faculty/College

Faculty of Veterinary Science (คณะสัตวแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Pathology (fac. Veterinary Science) (ภาควิชาพยาธิวิทยา (คณะสัตวแพทยศาสตร์))

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Veterinary Pathobiology

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.458

Abstract

The humoral antibody responses following vaccination with different lineage of modified live genotype 2 porcine reproductive and respiratory syndrome virus (PRRSV) vaccines (MLVs) were investigated. Moreover, the mortality and growth performance in pigs were observed. Twenty-four pigs with high maternally derived antibody (MDA) levels (SN titer ≥ 8) from each PRRSV positive Herd 1 and Herd 2 were allocated to the H1, H1-1, and H1-2 groups (Herd 1) and H2, H2-1, and H2-2 groups (Herd 2). Twenty-four pigs with low MDA levels (SN titer <8) were allocated to the L1, L1-1, and L1-2 (Herd 1) and L2, L2-1, and L2-2 groups (Herd 2). Twenty-four pigs from the negative herd (Herd 3) were allocated to 3 groups: N, N-1, and N-2 groups. The H1, H2, L1, L2, and N groups were unvaccinated. The H1-1, H2-1, L1-1, L2-1, and N-1 groups were vaccinated with MLV (Ingelvac® PRRS MLV) at 2 weeks of age. The 5 other groups: H1-2, H2-2, L1-2, L2-2, and N-2 groups were vaccinated with MLV2 (Prime Pac® PRRS MLV) at 2 week of age. The antibody responses were measured by ELISA and serum neutralization (SN). The mortality was not observed in all vaccinated groups. Additionally, pigs with high MDA levels from the H1 and H2 groups did not exhibit the mortality throughout the study. ADG in pigs vaccinated with each MLV1 and MLV2 was significant higher than that in unvaccinated pigs. However, pigs vaccinated with MLV2 showed the highest values of ADG. Seroconversion was observed in all vaccinated groups with no significance difference in antibody titers between pigs with low and high MDA levels. However, pigs with low MDA levels showed the earliest and highest antibody level post vaccination. The highest SN-titer against MLV1 isolate and MLV2 isolate was observed in pig from the L1-1 and L2-2 groups, respectively. The field PRRSV-2 isolates: THA_SP/RB_S1/P1/0120-18 and THA_WC/RB_F165/20-22, the SN titers against these isolates were not observed in vaccinated groups. These results indicated that MDAs might not affect the immune response post vaccination. PRRSV-2 MLVs reduced the mortality and improved growth performance of pigs in the endemically PRRSV infected herds. Although, the vaccine was changed in weaning pigs, the antibody responses were detected post vaccination in both pigs with low and high level of MDAs. Moreover, the genetic similarity between vaccine and field virus was not related to the protection. Vaccine selection should depend on the induction of immune response and protection against heterologous PRRSV infection.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำภายหลังการทำวัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสชนิดเชื้อเป็นในลูกสุกรที่มีระดับของภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในระดับต่ำ (SN titer < 8) และสูง (SN titer ≥ 8) รวมทั้งศึกษาผลการใช้วัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสต่างไอโซเลตระหว่างแม่สุกร และลูกสุกรต่อการสร้างภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำภายหลังการทำวัคซีนในลูกสุกร ร่วมกับประเมินอัตราการเลี้ยงรอด และอัตราการเจริญเติบโตในลูกสุกร ลูกสุกรจำนวน 120 ตัว จากฟาร์มสุกร 3 ฟาร์ม ได้แก่ ฟาร์ม 1 (สุกรแม่พันธุ์ใช้วัคซีน Ingelvac® PRRS MLV: MLV1) ฟาร์ม 2 (สุกรแม่พันธุ์ใช้วัคซีน Prime Pac® PRRS MLV: MLV2) และฟาร์ม 3 (ปลอดโรคพีอาร์อาร์เอส) ลูกสุกรที่มีภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดจากแม่ในระดับสูงจากฟาร์ม 1 และ 2 ฟาร์มละ 24 ตัว แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ H1, H1-1, H1-2, H2, H2-1 และ H2-2 ลูกสุกรที่มีภูมิคุ้มกันในระดับต่ำ จากฟาร์ม 1 และ 2 ฟาร์มละ 24 ตัว แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ L1, L1-1, L1-2, L2, L2-1 และ L2-2 ลูกสุกรจากฟาร์ม 3 จำนวน 24 ตัว ถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ N, N-1 และ N-2 โดยกลุ่ม H1, L1, H2, L2 และ N เป็นลูกสุกรที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน กลุ่ม H1-1, L1-1, H2-1, L2-1 และ N-1 ลูกสุกรได้รับวัคซีน MLV1 ที่อายุ 2 สัปดาห์ และกลุ่ม H1-2, L1-2, H2-2, L2-2 และ N-2 ลูกสุกรได้รับวัคซีน MLV2 ที่อายุ 2 สัปดาห์ พบว่าไม่พบการตายจากการติดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสในลูกสุกรทุกกลุ่มที่ได้รับวัคซีน MLV1 และ MLV2 แต่อย่างไรก็ตามลูกสุกรในกลุ่ม H1 และ H2 มีอัตราการเลี้ยงรอดเท่ากับ 100% ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับวัคซีนก็ตาม ลูกสุกรที่ได้รับวัคซีน MLV1 และ MLV2 มีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าลูกสุกรที่ไม่ทำวัคซีนอย่างมีนัยสำคัญ จากผลตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันพบการเพิ่มขึ้นของระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสในลูกสุกรทุกกลุ่มที่ทำวัคซีน แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดจากแม่ในระดับต่ำมีการตอบสนองที่เร็ว และสูงกว่ากลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดจากแม่ในระดับสูง นอกจากนี้ยังตรวจพบนิวทรัลไลซิ่งแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสจากวัคซีน MLV1 และ MLV2 ในระดับสูงที่สุดจากกลุ่ม L1-1 และ L2-2 ตามลำดับ นิวทรัลไลซิ่งแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสที่แยกได้จากฟาร์ม 1 (THA_SP/RB_S1/P1/0120-18) และฟาร์ม 2 (THA_WC/RB_F165/20-22) ตรวจไม่พบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อเชื้อดังกล่าวในลูกสุกรที่ได้รับวัคซีนทุกกลุ่มการทดลอง จากผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ระดับของภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกไม่ได้มีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันในลูกสุกรภายหลังการทำวัคซีนอย่างเด่นชัด แต่การทำวัคซีนสามารถลดอัตราการตายที่อาจสืบเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอส และช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตในลูกสุกรในฝูงที่มีการติดเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสได้ถึงแม้จะมีการใช้วัคซีนต่างไอโซเลตของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสในลูกสุกรก็ตาม ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัส และไวรัสจากวัคซีนไม่ได้มีผลต่อการป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสในการศึกษานี้ การพิจารณาเพื่อเปลี่ยนวัคซีนควรพิจารณาจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันทั้งแบบสารน้ำ และพึ่งเซลล์ ร่วมกับประสิทธิภาพการผลิต ในกรณีนี้ถึงแม้การเปลี่ยนวัคซีนในลูกไม่ได้มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิต และการสร้างภูมิคุ้มกัน แต่การใช้วัคซีนหลายเสตรนอาจมีผลต่อความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อ และการควบคุมโรคในอนาคต

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.