Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Vitamin d receptor polymorphism in HBV carrier with low viral load and chronic hepatitis phases; a case-control study

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์

Second Advisor

ยง ภู่วรวรรณ

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.1320

Abstract

วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความแปรผันหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนตัวรับวิตามินดีกับระยะของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังโดยแบ่งเป็นระยะพาหะชนิดเชื้อน้อย และระยะตับอักเสบเรื้อรัง วิธีการศึกษา: การศึกษารวบรวมผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง โดยแบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ 2 กลุ่มคือ กลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยที่มี HBV DNA ในเลือด< 2,000 IU/ml และกลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรังที่มี HBV DNA ในเลือด ≥ 2,000 IU/ml และระดับ ALT ในเลือด > 40 IU/ml หรือพบหลักฐานการอักเสบหรือพังผืดในตับ ผู้ทำการวิจัยทำการศึกษา SNP ของยีนตัวรับวิตามินดีจำนวน 6 ตำแหน่ง คือ CdX-2, GATA, FokI, Bsml, ApaI และ TaqI ตรวจโดยใช้ TaqMan real-time polymerase chain reaction (PCR) assay เพื่อศึกษาความแตกต่างของอัลลีล จีโนไทป์ และ haplotype ของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยและระยะตับอักเสบเรื้อรัง รวมถึง linkage disequilibrium (LD) mapping ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย haplotype inference application ผลการศึกษา: การศึกษารวบรวมผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง 324 คนช่วงเดือน กุมภาพันธ์ถึงสิงหาคม พ.ศ.2563 แบ่งเป็นกลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อ 163 คน และกลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรัง 161 คน สัดส่วนของผู้ป่วยเพศชายในผู้ป่วยกลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยน้อยกว่ากลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรังอย่างมีนัยยะสำคัญที่ร้อยละ 46.0 ต่อร้อยละ 68.3 (p < 0.001) ค่าเฉลี่ยระดับวิตามินดีในแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ สัดส่วนความถี่อัลลีล CdX-2 ในกลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยและกลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรังของอัลลีล G (G allele) คิดเป็นร้อยละ 53.7 และ 62.7 ตามลำดับ สัดส่วนของอัลลีล A (A allele) คิดเป็นร้อยละ 46.3 และ 37.3 ตามลำดับโดยแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ (p 0.019) สัดส่วนความถี่จีโนไทป์ CdX-2 พบ G/G จีโนไทป์ในกลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยน้อยกว่ากลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรัง โดยพบร้อยละ 27.0 และ 41.0 ตามลำดับ (p 0.028) AA haplotype ของ CdX-2/GATA และ AAC haplotype ของ CdX-2/GATA/FokI สัมพันธ์กับกลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยอย่างมีนัยยะสำคัญโดยมีอัตราส่วนออด 1.43 (1.04-1.96), p 0.025 และ 1.98 (1.34-2.91), p < 0.0019 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบหลายตัวแปรพบว่า G/A จีโนไทป์ของ Cdx-2 เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์ระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยอย่างมีนัยยะสำคัญโดยมีอัตราส่วนออดที่ปรับแล้ว 1.83 (95%CI 1.10 – 3.04) จาก Linkage disequilibrium (LD) triangular mapping พบว่า BsmI, ApaI และ TaqI มีค่าคะแนน LD (LD'score) สูง (D' > 0.8) ทั้งในทั้งสองระยะ ในขณะที่ CdX-2/GATA และ GATA/FokI พบคะแนน LD สูงเฉพาะในกลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรัง สรุปผล: G/A จีโนไทป์ของ CdX-2 สัมพันธ์กับระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังชาวไทยอย่างมีนัยยะสำคัญ นอกจากนี้การศึกษาพบความแตกต่างของ LD ของ CdX-2/GATA และ GATA/FokI ในกลุ่มระยะพาหะชนิดเชื้อน้อยและกลุ่มระยะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นไปได้ว่าความแตกต่างของความหลากหลายของยีนตัวรับวิตามินดีนี้นำไปสู่ความแตกต่างของการควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Objectives: To demonstrate the association between vitamin D receptor (VDR) polymorphisms and two clinical phases of chronic hepatitis B (CHB) infection; HBV inactive carrier (IC) and chronic hepatitis(CH). Method: Patients with chronic HBV infection were enrolled. The IC phase was defined by HBV viral load (VL) < 2,000 IU/ml. The CH phase was defined as persistent HBV VL > 2,000 IU/ml with evidence of hepatic inflammation or fibrosis. Six common VDR genes' single nucleotide polymorphisms (SNP), including CdX-2, GATA, FokI, Bsml, ApaI, and TaqI, were studied using TaqMan real-time PCR assay. The different outcomes in allele, genotype, and haplotype frequencies in between groups and linkage disequilibrium (LD) mapping were analyzed using a haplotype inference application. Results: Among 324 enrolled patients, there were 163 patients in IC and 161 patients in CH phases. The proportion of male patients is lower in the IC group (46.0% vs. 68.3%, p < 0.001). The mean vitamin D levels were not statistically different between groups. The proportion of alleles frequency of CdX-2 in IC and CH was 53.7% and 62.7% for G allele, and 46.3% and 37.3% for A allele, which was statistically significant (p 0.019). The proportion of GG genotype of CdX-2 was less frequently found in patients with IC compared to patients with CH (27% vs 41%, p 0.028). AA haplotype (CdX-2/GATA) and AAC haplotype (CdX-2/GATA/FokI) were significantly associated with IC with odd ratio (OR) 1.43 (1.04 – 1.96), p 0.025 and OR 1.98 (1.34 - 2.91), p < 0.001, respectively. By multivariate analysis, CdX-2 G/A genotypes was independently associated with IC, with adjusted OR 1.83 (1.10 – 3.04), p 0.019. The SNPs' LD mapping revealed high LD scores in Bsml/ApaI/TaqI (BAT) haplotype in both groups while, CdX-2/GATA and GATA/FokI demonstrated high LD' score only in CH group. Conclusion: The results suggest that CdX-2 G/A genotypes was independently associated with IC status in Thai patients with chronic HBV infection. The difference in LD of the CdX-2/GATA and GATA/FokI haplotypes in between groups might result in the variation of immune control.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.