Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Use of zooxanthellae for bleaching recovery of cauliflower coral, Pocillopora damicornis in laboratory

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ

Second Advisor

ธรรมศักดิ์ ยีมิน

Faculty/College

Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)

Department (if any)

Department of Marine Science (ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล)

Degree Name

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์ทางทะเล

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.1035

Abstract

ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เกิดขึ้นเมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น และ ความเค็มของน้ำทะเลลดต่ำลง เมื่อเกิดการฟอกขาวปะการังมีการปรับตัวต่อสภาวะนี้แตกต่างกัน และปะการังที่เกิดฟอกขาวบางส่วนสามารถรับซูแซนเทลลีจากมวลน้ำและเกิดการร่วมอาศัยใหม่อีกครั้งเพื่อฟื้นตัวจากการฟอกขาว เพื่อให้ทราบบทบาทของซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวของปะการังฟอกขาว การศึกษาครั้งนี้ จึงแบ่งการทดลอง 3 การทดลองหลัก ได้แก่ 1) ผลของอุณหภูมิ (27 30 และ 33 องศาเซลเซียส) และความเค็ม (10 20 และ 30 psu) ต่อการเติบโตของซูแซนเทลลี 2) ผลของอุณหภูมิและความเค็มต่อการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ และ 3) การใช้ซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้ปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora damicornis ซึ่งเก็บจาก 3 สถานีบริเวณเกาะแสมสาร ได้แก่ สถานีเขาหมาจอ เกาะปลาหมึก และจุดดำน้ำหาดเทียน และทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อปะการังอยู่ที่ระดับอุณหภูมิสูง 33 องศาเซลเซียส ภายใต้ระดับความเค็ม 10 psu พบการฟอกขาวสูงถึง 50-90% และพบซูแซนเทลลีหลุดออกมาในมวลน้ำด้วยความเข้มข้นเซลล์มากที่สุด และที่ภายใต้สภาวะเดียวกันนี้ ซูแซนเทลลีไม่สามารถเติบโตได้ เซลล์ส่วนใหญ่ตายในวันที่ 4 ของการทดลอง โดยพบความหนาแน่นน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มการทดลองอื่น และเซลล์ที่พบในกลุ่มการทดลองนี้มีสีจางลง และสูญเสียรงควัตถุภายในเซลล์อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ปกติ ชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิสูง 33 องศาเซลเซียส และความเค็มต่ำ 10 psu ส่งผลต่อการเติบโตของซูแซนเทลลีและการฟอกขาวของปะการัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ภายใต้สองปัจจัยร่วมกัน และเมื่อให้ซูแซนเทลลีกับปะการังที่ฟอกขาว พบว่า กิ่งปะการังที่ฟอกขาวประมาณ 5% สามารถฟื้นตัวจากการฟอกขาวได้ หากภายหลังฟอกขาวอุณหภูมิค่อยๆลดต่ำลงจนถึงระดับควบคุม

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

To identify the role of zooxanthellae for bleaching recovery, this study was subdivided into three experiments; 1) The effects of temperature (27 control, 30 and 33 oC) and salinity (10, 20 and 30 psu) on the growth of zooxanthellae; 2) The combined effects of temperature and salinity on coral bleaching; 3) Use of zooxanthellae for bleaching recovery in the laboratory. This study was conducted in aquariums under laboratory conditions on cauliflower coral Pocillopora damicornis, collected from 3 sites around Samaesan Island, Chonburi, Thailand. The results showed that when coral exposed to the highest temperature (33 oC) under lowest salinity (10 psu), 50-90% bleaching was found with the highest symbiont densities in the water column detected. At this condition, zooxanthellae that isolated from 7 marine invertebrates, most cells died on day 4 of experiment and those cells in the water column were similar to normal cells in shape and size but clearly pale in colors with less cytoplasmic organelles than the normal cells. The bleached nubbins (< 5%) exposed to zooxanthellae can recovery when after the thermal stress, the temperature turns to normal condition. These results suggested that the combination of the high temperature and low salinity affect zooxanthellae and coral bleaching.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.