Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of pilates training on pulmonary function and rhinitis symptoms in patients with allergic rhinitis

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

วรรณพร ทองตะโก

Second Advisor

เจตทะนง แกล้วสงคราม

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.1016

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกพิลาทีสที่มีต่อสมรรถภาพปอดและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อายุระหว่าง 18 - 45 ปี จำนวน 20 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ไม่ได้รับการฝึกใด ๆ จำนวน 9 คน และกลุ่มทดลอง ได้รับการฝึกพิลาทีส 60 นาที/ครั้ง 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ จำนวน 11 คน โดยก่อนและหลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired-t test) ที่ระดับความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 และตัวแปรด้านอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ นำค่ามาวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลองของแต่ละ​กลุ่มการทดลองโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measured ANOVA) ที่ระดับความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนของการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent-t test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ .05 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman's rank correlation)ที่ระดับความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มฝึกพิลาทีสมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ได้แก่ ค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า - ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาทีเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ได้แก่ อาการคัดจมูก อาการคันจมูก อาการจาม อาการน้ำมูกไหล อาการโดยรวม และการไหลของเลือดในโพรงจมูกลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีปริมาตรการไหลของอากาศสูงสุดในโพรงจมูกเพิ่มขึ้น แตกต่างกับก่อนการทดลอง อีกทั้ง กลุ่มฝึกพิลาทีสมีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ได้แก่ ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด แตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ได้แก่ ค่าแรงสูงสุดที่กระทำในเชิงมุมขณะกล้ามเนื้อหดตัวอยู่กับที่ในท่าเหยียดลำตัวเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าแรงสูงสุดที่กระทำในเชิงมุมขณะกล้ามเนื้อหดตัวอยู่กับที่ในท่างอลำตัวเพิ่มขึ้นแตกต่างกับทั้งก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่เพิ่มขึ้นยังมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกกับการเพิ่มขึ้นของสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกพิลาทีสส่งผลดีต่อสมรรถภาพปอดและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ รวมทั้งช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study was to determine the effects of pilates training on pulmonary function and symptoms in patients with allergic rhinitis. Twenty allergic rhinitis patients aged 18 - 35 years were randomized into 2 groups: control group (CON; n=9) and pilates training group (PTG; n=11). Participants in CON group do their daily routine without receiving any training program, while those in PTG group completed receiving pilates training program three time a week for ten week-long (60 minutes/time). The physiological data, pulmonary function, respiratory muscle strength and core muscle strength assessment were analyzed during the pre-test and post-tests. The dependent variables between pre-test and post-tests were analyzed by paired t-test. The rhinitis symptoms variables between pre-test and post-test were analyzed by repeated measures ANOVA. In addition, an independent t-test was used to compare the variables between groups. The correlation between pulmonary function, respiratory muscle strength and core muscle strength were analyzed by Spearman's rank correlation. Statistical significance was defined as p < .05. The results indicated that after ten weeks, the PTG group had significantly increased in pulmonary function variables such as forced vital capacity (FVC), forced expiratory volume in one second (FEV1) and maximum voluntary ventilation (MVV) compared with pre-test and the CON group (p < .05). Moreover, the PTG group had significantly decreased in nasal blood flow and rhinitis symptoms when compared with pre-test and the CON group (p < .05). In addition, the PTG group had significantly increased in respiratory muscle strength variables such as maximum inspiratory pressure (MIP) and maximum expiratory pressure (MEP), core muscle strength variables and PNIF when compared to pre-test and CON group (p < .05). The positive significant correlation was found between core muscle strength, FVC, FEV1, MVV and MIP (p < .05). In conclusion, the present finding demonstrated that 10 weeks of pilates training improved pulmonary function, rhinitis symptoms, respiratory muscle strength, and core muscle strength in patients with allergic rhinitis.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.