Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Clinical characteristics of patient with first relapsed multiple myeloma in King Chulalongkorn Memorial Hospital
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
ปณิสินี ลวสุต
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.1512
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกพื้นฐานของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลมาที่กลับเป็นซ้ำครั้งแรก ในโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ วิธีการวิจัย รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับวินิฉัยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลมาที่กลับเป็นซ้ำครั้งแรกตามเกณฑ์ของ International Myeloma Working Group 2016 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 และติดตามผลการรรักษาจนถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2562 ผลการศึกษา พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลมาที่กลับเป็นซ้ำครั้งแรกจำนวน 108 คนในช่วงศึกษา อายุเฉลี่ยเมื่อแรกรับการวินิจฉัย 58.9 ปี พบว่ามีผู้ป่วยร้อยละ 13.1 มีโครโมโซมที่มีความเสี่ยงสูง t(4;14) แต่ไม่มีรายใดพบ del(17p) เมื่อโรคกลับเป็นซ้ำผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 61.6 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 32.4 มีสมรรถภาพของร่างกายดีขึ้นกว่าเมื่อแรกวินิจฉัย ในขณะที่ผู้ป่วยร้อยละ 25.9 สมรรถภาพลดลงซึ่งสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ตอบสนองในการรักษาครั้งแรกไม่ดี เมื่อกลับเป็นซ้ำพบว่ามีปริมาณของโรคน้อยกว่าแรกวินิจฉัย พบระยะของโรคที่รุนแรงระยะที่สามน้อยกว่า (ร้อยละ 53.7 กับ 14.8, แรกวินิจฉัย กับ เมื่อกลับเป็นซ้ำ ตามลำดับ, ค่าเฉลี่ยของเอ็มโปรตีนน้อยกว่า (2.63 กับ 1.62), ปริมาณพลาสม่าเซลล์ในไขกระดูกน้อยกว่า (ร้อยละ 59 กับ 30) และมีปริมาณเม็ดเลือดแดงสูงกว่า (9.6 กับ 10.4) มีผู้ป่วยที่เม็ดเลือดขาวต่ำ (ร้อยละ25.2 กับ 31.8) และเกล็ดเลือดต่ำ (ร้อยละ 13.1 กับ 28) มากกว่าแสดงถึงไขกระดูกที่ทำงานได้ลดลง และถ้าพบ มีความสัมพันธ์กับระยะเวลารอดชีวิต ในการรักษาครั้งแรก (Frontline) ผู้ป่วยได้รับยาใหม่ประสิทธิภาพสูง (Novel agents) ร้อยละ 86 และได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกร้อยละ 35.2 ผู้ป่วยใช้ยาพียงแค่ 1 สูตรและใช้ระยะเวลาในการรักษา 9.9 เดือน ระยะเวลาจากการวินิจฉัยถึงโรคกลับเป็นซ้ำครั้งแรก 25.5 เดือน (95% CI 21.1-30.5) การรักษาครั้งที่สองผู้ป่วยเข้าถึงยาชนิดใหม่ได้ลดลงเป็นร้อยละ 78.2 ผู้ป่วยร้อยละ 52 จำเป็นต้องได้ยาสูตรอื่นเพิ่มจึงจะได้การตอบสนอง ระยะเวลาการรักษายาวขึ้นเป็น 12.4 เดือนและพบว่ามีความสัมพันธ์กันกับ 2nd PFS (HR 0.86, p <0.0001) ระยะเวลาที่ควบคุมโรคได้หลังจากกลับเป็นซ้ำ (2nd PFS) นาน 16.2 เดือน (95%CI 11.9-20.5) ผู้ป่วยที่สามารถเข้าถึงยาชนิดใหม่มี 2nd PFS นานกว่าเป็น 22.7 เดือน (95% CI 16.0-29.5) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้ยาแบบดั้งเดิม 9.9 เดือน (95%CI 1.2-18.6) (p<0.0001) ผู้ป่วยมีอัตราการอยู่รอดหลังจากโรคกลับเป็นซ้ำในครั้งแรก 22.9 เดือน (95%CI 13.2-32.7) สรุป การศึกษานื้ทำให้ทราบเป็นครั้งแรกว่าระยะเวลาที่ควบคุมโรคได้หลังจากกลับเป็นซ้ำครั้งแรก (2nd PFS) ในประเทศไทยคือ 16.2 เดือน การเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพยังคงเป็นปัญหาสำคัญและข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในการคำปรึกษากับผู้ป่วย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Objective To evaluate clinical characteristics and treatment outcomes in patient with first relapsed MM. Methods All patient with first symptomatic relapsed MM in King Chulalongkorn Memorial Hospital during January 1, 2014 to December 31, 2017 were enrolled and followed up until March 31, 2019. Results There were 108 first relapsed MM in study period. The median age at diagnosis was 58.9 years. High risk myelomas with t(4;14) were found 13.1% in this group and no del(17p) found. At relapse, median age increased to 61.6 years. Some had physical improvement from diagnosis (32.4%) and those with less response to 1st line had performance decline (25.9%). Tumor burden was significant lower in 1st relapse. Patients had lower stage III (53.7% vs 14.8%, initial vs relapse), median M-protein (2.63 vs 1.62), BM plasma cell (59% vs 30%), acute kidney injury (27.8% vs 5.6%) and higher hemoglobin (9.6 vs 10.4). More patient with leukopenia (25.2% vs 31.8%) and thrombocytopenia (13.1% vs 28%) suggested decreased BM reserve and correlated with impaired survival. In frontline, 86% received novel agents and 35.2% underwent transplant. Patients required a median of 1 regimen to achieve remission and median treatment duration was 9.9 months. Median time from diagnosis to first relapsed was 25.8 months (95% CI 21.1-30.5). The number of patients who could access to 2nd line novel agent decreased to 78.2%. Fiffty-two percent required additional regimens to achieve response. Treatment duration in 2nd line was extended to 12.4 months, which associated with 2nd PFS (HR 0.86, p <0.0001). The median time from 1st relapsed to 2nd relapsed or death (2nd PFS) was 16.2 months (95%CI 11.9-20.5). Novel agent accessibility significantly improved 2nd PFS from 9.9 months of conventional therapy to 22.7 months (p=0.006). Median OS after 1st relapsed was 22.9 months (95%CI 13.2-32.7). Conclusion This data firstly demonstrated 2nd PFS with current treatment in Thai was 16.2 months. Effective treatment accessibility remained the issue. The results here were very useful for treatment selection counselling with patients.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุทธินนท์, ศิริลักษณ์, "การศึกษาลักษณะทางคลีนิกของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลมาที่กลับเป็นซ้ำครั้งแรกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3643.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3643