Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Eus-Guided Radiofrequencyablation As Adjunctive Treatment For Advanced Pancreatic Cancer Versus Standard Treatment (Erap)

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

ประเดิมชัย คงคำ

Second Advisor

รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.1486

Abstract

เป้าหมายงานวิจัย: เพื่อศึกษา เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของขนาดของก้อนที่ตับอ่อน ของมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม ระหว่างผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด วิธีการศึกษา : เทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการรักษาด้วยการเผาทำลายโดยใช้เข็มคลื่นวิทยุผ่านทางกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัดและกลุ่มควบคุม คือผู้ป่วยที่มี อายุ เพศ ระยะของมะเร็งตับอ่อน และ ECOG ใกล้เคียงกับผู้ป่วยกลุ่มทดลอง แต่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว มาเปรียบเทียบขนาดก่อนหลัง,ภาวะแทรกซ้อน และ ปริมานยาแก้ปวดที่ใช้ ก่อนและหลังทำการรักษาในช่วง 3เดือน ผลการศึกษา :เก็บข้อมูลตั้งแต่ กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึง กันยายน พ.ศ. 2561ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น28 ราย เป็นกลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม อย่างละ 14 ราย (อายุเฉลี่ย66.14±10ปี; อัตราส่วน ชาย: หญิง= 1: 3)พบว่า ไม่มีความแตกต่างของลักษณะก่อนทำการรักษาระหว่างประชากรระหว่างทั้งสองกลุ่ม มีการส่องกล้องคลื่นเสียง และเผาทำลายด้วยเข็มคลื่นวิทยุ ทั้งสิ้น 34 ครั้ง(พิสัย 1-4ครั้ง/คน)มีรายงานภาวะแทรกซ้อน ทั้งสิ้น3 ใน 34 ครั้ง ในผู้ป่วย2 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.8 ได้แก่ การติดเชื้อในก้อนมะเร็ง จำเป็นต้องได้ยาฆ่าเชื้อ (นอนโรงพยาบาล 7 วัน ), เลือดออกจากรอยเจาะเข็ม ใช้ฮีโมคลิปหยุดเลือด (นอนโรงพยาบาล 7 วัน)และ ตับอ่อนอักเสบไม่รุนแรง (นอนโรงพยาบาล 2วัน)โดยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยไม่มียังสามารถเข้ารับยาเคมีบำบัดได้ตามกำหนดการเดิม ผลการทดลองพบว่า ในกลุ่มทดลอง ความยาวของก้อนมะเร็งไม่โตขึ้น (ก่อน เทียบกับ หลัง ; 61.37±20.1 ม.ม. เทียบกับ 64.25±22.0 ม.ม. (P = 0.099)แต่ในกลุ่มควบคุม ความยาวก้อนมะเร็งโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ก่อน เทียบกับ หลัง ; 50.1 ± 21.1ม.ม. เทียบกับ 55.4 ± 18 ม.ม.(P = 0.017), กลุ่มทดลองสามารถลดการใช้ยาแก้ปวดได้ร้อยละ 50 เท่ากับมอร์ฟีน 22.5มิลลิกรัมต่อวัน แต่ไม่พบความแตกต่างในอัตราการรอดชีวิตที่ 6เดือนของทั้งสองกลุ่ม ข้อสรุปการศึกษา: ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ การทำการรักษาด้วยเข็มคลื่นวิทยุผ่านการส่องกล้องคลื่นเสียงร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด สามารถชะลอการโตของก้อนมะเร็ง และ สามารถลดการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มมอร์ฟีนได้ ดีกว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Introduction: Feasibility and safety of EUS-guided radiofrequency ablation (EUS-RFA) for unresectable pancreatic cancer (UPC) has been reported in a few small non-comparative studies. This study aim to compare radiological response and pain medication used between EUS-RFA plus chemotherapy versus chemotherapy (CMT) alone as a primary treatment of UPC. Methods: Patients with UPC with ECOG below 3 were recruited. Patients treated with EUS-RFA plus concurrent CMT were classified as group A. Control group was patients treated with CMT alone (group B) with matching clinical parameters. Results: Since July 2017 until August 2018, 28 patients (mean age 66.14±10years; M: F= 1: 3) at King Chulalongkorn Memorial hospital were recruited. No statistical difference of baseline parameters. 34 EUS-RFA procedures were performed in 14 patients with median number of procedure at 3 times (range 1-4 times), median total ablation time at 270 seconds (range 90 - 962 seconds), and adverse event (AEs) rate at 8.8 % (3/34). 3 AEs were post-procedure infection (length of stay (LOS) 7 days), bleeding puncture site (LOS 7 days), and mild pancreatitis (LOS 2 days). No delay of scheduled chemotherapy. Outcomes of both groups were compared. Dosage reduction of morphine equivalent analgesia was significantly better in group A, 22.5 mg/day(range 0-60)versus 0 mg/day (-20 to 30) (p=0.003), respectively, as well as median percentage of dosage reduction (50 % (0 to 100) versus 0 % (-100 to 42.9), p=0.001), respectively. No enlargement of mean maximal target lesion diameter (mm) in group A (before vs. after; 61.37±20.1 mm vs 64.25±22.0 mm (P = 0.099), but significant increase in group B (50.1 ± 21.1 mm vs. 55.4 ± 18 mm (P = 0.017), respectively). No significant difference of 6-month survival rate. Conclusion: In UPC patients, EUS-RFA plus concurrent CMT significantly reduce morphine dosage requirement than CMT.RFA additionally stabilized the tumor maximal target diameter whereas CMT failed to halt tumor progression.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.