Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Reactor development for oil removal from drill cuttings
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
Second Advisor
ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา
Faculty/College
Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Environmental Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.1288
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบำบัดดินปนเปื้อนน้ำมันด้วยวิธีการล้างทำความสะอาดดินด้วยน้ำประปา ซึ่งดินปนเปื้อนมีจำนวนคาร์บอนอยู่ในช่วง C12 (Dodecane) ถึง C22 (Docosane) โดยมีปัจจัยที่ทำการศึกษาในการล้างทำความสะอาดดิน ได้แก่ ค่าพีเอชในการล้าง (ค่าพีเอชน้อยกว่าค่า pHzpc ค่าพีเอชเท่ากับค่า pHzpc และค่าพีเอชน้อยกว่าค่า pHzpc) ความเร็วในการเขย่า (30 60 และ 120 รอบต่อนาที) ระยะเวลาในการล้างทำความสะอาดดิน (5 10 และ 20 นาที) และอัตราส่วนระหว่างน้ำประปาต่อดิน (2.5 5 และ 10 มิลลิลิตรต่อกรัม) ตัวชี้วัดคือ ปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจะนำสภาวะที่เหมาะสมเดินระบบในถังปฏิกรณ์ โดยการเดินระบบแบบทีละเท จากการทดลองพบว่าสภาวะการล้างทำความสะอาดดินที่เหมาะสมในระดับปฏิบัติการ (Lab scale) คือ ค่าพีเอชในการล้างเท่ากับค่า pHzpc ความเร็วในการเขย่า 120 รอบต่อนาที ระยะเวลาในการล้างทำความสะอาดดิน 10 นาที และอัตราส่วนระหว่างน้ำและดินปนเปื้อน 10 มิลลิลิตรต่อกรัม ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุด ถึงร้อยละ 42.15 นำสภาวะไปเดินระบบในถังปฏิกรณ์ (Bench scale) เริ่มต้นจากเติมน้ำประปาและดินปนเปื้อน เป่าอากาศ (ล้างทำความสะอาดดิน) และกรองอนุภาค ค่าความปั่นป่วนภายในถังปฏิกรณ์ที่เกิดจากฟองอากาศที่มาจากความดันในเส้นท่อ 1.0 บาร์ สร้างฟองอากาศขนาด 2.40 มิลลิเมตร ค่าความเร็วเกรเดียนท์ของของเหลวที่เกิดจากฟองอากาศ 252.69 ต่อวินาที สามารถประเมินอายุการใช้งานของเซรามิคเมมเบรนอยู่ที่ 1,433 ชั่วโมง สภาวะที่ดีที่สุดจากการทดลองในถังปฏิกรณ์คือ พีเอชที่ใช้ในการล้างเท่ากับค่า pHzpc อัตราส่วนระหว่างน้ำประปาต่อดินปนเปื้อน 10 (ลิตรต่อกิโลกรัม) ระยะเวลาในการล้างทำความสะอาดดิน 10 นาที ให้ประสิทธิภาพร้อยละ 27.31 อย่างไรก็ตามการเพิ่มขนาดถังปฏิกรณ์หรืออติดตั้งใบพัดสำหรับการปั่นกวน อาจช่วยพัฒนาถังปฏิกรณ์สำหรับการล้างทำความสะอาดดินให้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The work aims to investigate the treatment of Oil-Contaminated soil by tap water washing which contaminated soil contains carbon in the range C12 (Dodecane) to C22 (Docosane). The effects of soil washing (pH for washing, mixing speed, washing time and liquid to solid ratio) pH for washing (zpc =pHzpc and >pHzpc) mixing speed (30 60 and 120 RPM) washing time (5 10 and 20 minutes) and liquid to solid ratio (2.5 5.0 and 10.0 ml/g) measuring the amount of oil is Total Petroleum Hydrocarbon (TPH). The results showed that the highest Total Petroleum Hydrocarbon removal efficiency 42.15 percent was achieve the optimum condition, pH for washing equal pHzpc mixing speed 120 RPM washing time 10 minutes and liquid to solid ratio 10.0 ml/g. The system to operate in bench scale, starts from adding water and contaminated soil, bubble generator (soil washing) and filtering particles in reactor. Bubble generator in reactor, using the highest velocity gradient of the pressure in the pipeline system 1.0 bar release bubbles diameter (DB) 2.40 mm, gradient velocity 252.69 per second. The lifetime of the ceramic membrane can be estimated at 1,433 hours. The optimum condition from bench scale in reactor is pH for washing equal pHzpc washing time 10 minutes liquid to solid ratio 10.0 l/kg. The efficiency was 27.31 percent. However, increasing the size of reactor or installing a propeller for stirring may help improve soil washing reactor to be more efficient.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โพธิรัชต์, ชุติกาญจน์, "การพัฒนาถังปฏิกรณ์สำหรับกำจัดน้ำมันในดินจากการขุดเจาะปิโตรเลียม" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3419.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3419