Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Influence of perceived fit between athlete endorser and sport product on purchase intention
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
ฉัตรชัย ฉัตรปุณญกุล
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.1096
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องนี้คือ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้ความสอดคล้องในการใช้ผู้มีชื่อเสียงด้านกีฬามาเป็นผู้แนะนำสินค้าที่เกี่ยวกับกีฬา (Sport-related product) และไม่เกี่ยวกับกีฬา (Nonsport-related product) และ (2) เพื่อศึกษาผลของการรับรู้ความสอดคล้องของผู้แนะนำสินค้าและประเภทของสินค้าต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคชาวไทย วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดหลัง (Posttest-Only Design) เพื่อตอบวัตถุประสงค์งานวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 100 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่ม และจำลองแบบโฆษณาจำนวน 2 ชิ้นงาน โดยที่รูปนักกีฬาจะเหมือนกันในทั้งสองชิ้นงาน แต่ในชิ้นงานแบบที่ 1 จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับกีฬา และในแบบที่ 2 จะเป็นสินค้าที่ไม่เกี่ยวกับกีฬา การทดสอบค่าทีและการถดถอยเชิงเส้นตรงถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคจะรับรู้ความสอดคล้องในระดับสูงถ้าผู้แนะนำสินค้ามีความสอดคล้องกับประเภทสินค้า และการรับรู้ความสอดคล้องส่งผลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผลการวิจัยเป็นประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการและนักการตลาดที่คิดจะใช้การตลาดการกีฬา (Sport marketing) มาเป็นกลยุทธ์ในการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งสามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ได้ต่อไปในอนาคต
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Purpose: The objective of this study has two folds: to examine the perception of fit between famous athlete endorser and sport-related product versus nonsport-related product and to examine the effects of perceived fit on purchase intention among Thai consumers. Methods: Posttest-only experimental design was employed to answer research objectives. Subjects (n = 100) in this study were undergraduate students from Chulalongkorn Unviersity. They were randomly assigned into two groups. Two fictitious advertisements in which both using the same athlete endorser but different product type were designed. Independent sample t-test and simple linear regression were employed to test hypotheses. Conclusion: Results show that the level of perceived fit is significantly higher for athlete endorser and sport-related product. Moreover, perceived fit significantly and positively affects purchase intention. The results of this study has several practical contributions for practioners and marketers when trying to use sport marketing to sell products and services strategically in the future.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รังสิเสนา ณ สงขลา, ญาดา, "อิทธิพลของการรับรู้ความสอดคล้องระหว่างผู้แนะนำสินค้าที่เป็นนักกีฬาและสินค้ากีฬาที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อ" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3227.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3227