Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Motivating factors to attend football games
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
ฉัตรชัย ฉัตรปุณญกุล
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.1088
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 1 และไทยลีก 2 และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 1 และไทยลีก 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 1 และไทยลีก 2 ภายในสนามที่จัดการแข่งขัน ทั้งเพศชาย และเพศหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 800 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามจากงานวิจัยของ Wang and Matsuoka (2014) โดยนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของฟุตบอลไทยเกี่ยวกับปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าสถิติ และเปรียบเทียบความแตกต่างปัจจัยด้านแรงจูงใจโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ปัจจัยด้านความสนใจในกีฬา เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในปัจจัยด้านแรงจูงใจระหว่าง ผู้ชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 1 และไทยลีก 2 พบว่า ปัจจัยด้านแรงจูงใจสูงสุดในการเข้าชมไทยลีก 1 คือ ปัจจัยด้านการพบปะสังคม และปัจจัยด้านแรงจูงใจสูงสุดในการเข้าชมไทยลีก 2 คือ ปัจจัยด้านการสนับสนุนชุมชนหรือท้องถิ่น โดยปัจจัยในการเข้าชมไทยลีก 1 และไทยลีก 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญแทบทุกด้านยกเว้นปัจจัยด้านสิ่งที่ได้มาซึ่งความรู้ที่ไม่พบความแตกต่าง การวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า ปัจจัยด้านการพบปะสังคมและปัจจัยด้านการสนับสนุนชุมชนหรือท้องถิ่นเป็นปัจจัยด้านแรงจูงใจที่สำคัญในการเข้าชมฟุตบอลไทยลีก 1 และไทยลีก 2 นอกจากนี้ยังสรุปได้ว่า ผู้เข้าชมฟุตบอลไทยลีก 1 และ 2 ยังมีความแตกต่างในระดับแรงจูงใจอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยด้านแรงจูงใจการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลเป็นตัวแปรสำคัญที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคได้ นักการตลาด สโมสรฟุตบอลหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถใช้ในการวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะกับแต่ละกลุ่ม เพื่อสร้างความนิยมให้กับการแข่งขันฟุตบอลในแต่ละลีก
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of this study has two folds: to investigate the motivating factors to attend football Thai League 1 (T1) and 2 (T2) and to compare the motivating factors to attend T1 and T2. The sample of this study comprised 800 male and female spectators whose ages are over than 18 years old. The measure was adopted from Wang and Matsuoka (2014) and adapted to Thai football contexts. Independent sample t-test was used to analyze the motivating factors. The results show that in overall sport interest is the highest motivating factor.. Spectators in T1 have higher motivations in sport interest, achievement, socialization, drama, family bonding, and interest in player than T2. However, motivating factors in escape and support the city of T1 spectators are lower.. Moreover, results show that every motivating factor is found different between two leagues except in knowledge principle. It can be concluded that the motivating factors to attend football games are important variables used to segment consumers. Marketers, football clubs, and those involved can use results from this study to do marketing segmentation strategically and popularize football games in each league to meet spectators' motivations.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ชุ่มเชย, กมลชนก, "ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอล" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3219.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3219