Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The crisis of masculine identity in Kawabata Yasunari 's post-world war Ⅱ literary works
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
ตรีศิลป์ บุญขจร
Second Advisor
เดือนเต็ม กฤษดาธานนท์
Faculty/College
Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)
Degree Name
อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.1079
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิกฤตอัตลักษณ์ความเป็นชายในวรรณกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่สองของคะวะบะตะ ยะซุนะริ โดยศึกษานวนิยายจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ นวนิยายเรื่อง เสียงแห่งขุนเขา 『山の音』(1954)นวนิยายเรื่อง นิทราเทวี『眠れる美女』(1961)นวนิยายขนาดสั้นเรื่อง แขนข้างเดียว『片腕』(1964)และนวนิยายเรื่อง ดอกแดนดิไลออน『たんぽぽ』(1968)และศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับวรรณกรรมดังกล่าว ผลการวิจัยสรุปได้ว่าวรรณกรรมของคะวะบะตะที่เขียนขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมในช่วงเวลาดังกล่าว การนำเสนอวิกฤตอัตลักษณ์ความเป็นชายในนวนิยายได้แสดงให้เห็นถึงภาพของสังคมญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1950 และทศวรรษ 1960 ซึ่งได้รับผลกระทบจากการพ่ายแพ้สงครามและถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา นักเขียนได้ตระหนักถึงสภาวะในขณะนั้นและนำเสนอผ่านตัวละครเอกในนวนิยายที่เป็นตัวเอกปฏิลักษณ์ (antihero) ไร้สมรรถภาพทางเพศ มีความโดดเดี่ยวแปลกแยกจากสังคม ตัวละครได้สะท้อนให้เห็นถึงภาวะไร้ซึ่งอำนาจของเพศชาย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิกฤตอัตลักษณ์ความเป็นชายอย่างชัดเจน กล่าวคือ นักเขียนนำเสนอภาพของตัวละครชายที่ล้มเหลวในฐานะผู้นำครอบครัว ปฏิเสธหลีกหนีการเป็นพ่อและสามีที่ดีตามบทบาททางเพศภายใต้ระบบครอบครัวซึ่งผู้ชายถูกกำหนดให้เป็นเพศที่เข้มแข็งและผูกพันกับภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะพ่อและสามี นักเขียนนำเสนอภาพของตัวละครชายที่ประสบกับภาวะโดดเดี่ยวแปลกแยกในสังคมเมืองอันสืบเนื่องจากปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยเฉพาะความสัมพันธ์ชายหญิงที่เป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ตัวละครเหล่านี้จึงเลือกวิธีการต่อรองเพื่อยืนยันความเป็นชายของตนด้วยการแสดงออกถึงความปรารถนาทางเพศในรูปที่บิดเบี้ยวหรือมีรูปแบบพฤติกรรมทางเพศที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมเพื่อรับมือกับภาวะวิกฤตดังกล่าว ความปรารถนาทางเพศในรูปที่บิดเบี้ยวดังกล่าวถูกนำเสนอผ่านความสัมพันธ์ในลักษณะต้องห้ามที่ถูกกดทับไว้ในระดับจิตไร้สำนึก ซึ่งเผยให้เห็นถึงความวิตกกังวลในบทบาททางเพศหรือความไม่เป็นชายของตัวละคร การนำเสนอวิกฤตอัตลักษณ์ความเป็นชายในวรรณกรรมได้สะท้อนให้เห็นถึงภาพของผู้ชายที่มีความสับสนภายในจิตใจระหว่างความเป็นปัจเจกบุคคลกับโครงสร้างทางสังคมญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าว
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This thesis aims to study the crisis of masculine identity in Yasunari Kawabata's post-world war Ⅱ literary works. These literary works include Yama No Oto (1954), Nemurerubijo (1961), Kataude (1964), Tanpopo (1968). The study also focuses on the social and cultural backgrounds relevant to the novels. The study finds that Yasunari Kawabata's post-world war Ⅱ literary works relates to social background at that time. The crisis of masculine identity represented in these novels reflects the condition of Japanese society from the 1950's to the 1960's , the aftermath of the defeat and the military occupation by the United States. The writer reflects on the social conditions through the male protagonists in novels who are portrayed as the antihero encountering the sexual dysfunction and experiencing the state of social isolation. The male characters in these novels reflect the powerlessness of the male which can be regarded as the crisis of masculine identity. The novels portray the image of the male that emphasizes the failure of the man who is the head of a family. In other words, the male protagonists avoid from being a good father and a good husband in accordance to the fixed gender roles in the Japanese family system where men are supposed to be strong with responsibilities imposed upon them. The novels also portray the image of the male which emphasizes the social isolation due to difficulties in establishing relationships with others, especially the power relation between men and women. However, men have attempted to negotiate with the crisis by expressing their sexual desire or their sexual behaviors regarded as deviant according to the social norms. The distorted sexual desire are reflected through the taboo relationship suppressed in the unconscious mind and reveals the anxiety over their gender role or the loss of masculinity. The crisis of masculine identity represented in the novels reflects the internal image of the male that appears to be the tension between individualism and social structure in Japan at that time.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จาตุรแสงไพโรจน์, มัทนา, "วิกฤตอัตลักษณ์ความเป็นชายในวรรณกรรมหลังสงครามโลกครั้งที่สองของคะวะบะตะ ยะซุนะริ" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3210.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3210