Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Application of Biostimulant Chitosan to Improve Quality of Rice Grain

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

ขวัญรัฐ ส่วนพงษ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.808

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซาน ในการเพาะปลูกข้าวลักษณะ pre-harvest เพื่อเพิ่มคุณภาพของเมล็ดข้าวจากกระบวนการขัดสี ซึ่งเลือกทดลองในข้าวเจ้าพันธุ์ กข41 และพันธุ์ปทุมธานี 1 ใช้วิธีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design) มีปัจจัยในการศึกษาปัจจัยเดียวคือ การใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานในแปลงทดลองเปรียบเทียบกับชุดแปลงทดลองควบคุม โดยนำผลลัพธ์ข้าวเปลือกที่ได้มาผ่านกระบวนการสีข้าว แล้วตรวจสอบปริมาณผลผลิตที่ได้จากกระบวนการขัดสี รวมถึงตรวจสอบคุณภาพเชิงกายภาพของเมล็ดข้าว ผลการทดลองพบว่า การใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานในข้าวเจ้าพันธุ์ กข41 ทำให้ปริมาณข้าวกล้อง , ปริมาณข้าวขาวรวม และปริมาณข้าวขาวเต็มเมล็ดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยได้ปริมาณข้าวขาวเต็มเมล็ดเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.99 เมื่อเทียบกับชุดทดลองควบคุม สำหรับในข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 พบว่า มีปริมาณข้าวกล้อง, ปริมาณข้าวขาวรวม และปริมาณข้าวขาวเต็มเมล็ดที่ได้จากกระบวนการสีข้าวเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยได้ปริมาณข้าวขาวเต็มเมล็ดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.06 เมื่อเทียบกับชุดทดลองควบคุม หลังจากตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพของเมล็ดข้าว ได้แก่ นํ้าหนักข้าวกล้องเต็มเมล็ด 100 เมล็ด, ค่าความแกร่งเมล็ดข้าวกล้อง และขนาดเมล็ดข้าวกล้อง ในข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการศึกษาผลกระทบของนวัตกรรมสารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานในเชิงพาณิชย์ พบว่า การใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานในการเพาะปลูกข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตที่ได้จากกระบวนการสีข้าว แต่พบว่าจะมีความคุ้มค่าด้านการลงทุนเมื่อใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานในข้าวสายพันธุ์ที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงมากกว่าข้าวสายพันธุ์ที่มีมูลค่าทางการตลาดต่ำ และสามารถใช้สารกระตุ้นชีวภาพไคโตซานร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยปกติ เพื่อลดต้นทุนค่าฉีดพ่นสารนี้ได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research used chitosan biostimulant as a pre-harvest treatment in the cultivation of rice to improve yield and quality of rice grain. Rice Orysa Sativa L. cv. RD41 and Pathum Thani 1 were selected for the experiment, using a randomized complete block design. The rice kernel was analyzed in terms of yield from the milling process and quality of rice grain. The result demonstrated that the use of chitosan biostimulant in RD41 rice can improve yield of rice milling, such as, quantity of brown rice, white rice and whole grain white rice from rice milling process. (with statistical significance level of 0.05) and we found that whole grain white rice quantity was increased by 8.99%. The use of chitosan biostimulant in Pathum Thani 1 rice demonstrated a good trend in rice yield improvement. We found that whole grain white rice quantity increased by 8.06%. In terms of the quality rice grain tested in both rice strains, we found that the weight per 100 kernels of whole grain brown rice, the mechanical strength ,and size of the brown rice, were increased (with statistical significance level of 0.05). Potential commercialization studies found the use of chitosan biostimulant in both rice strains was able to add value to rice products in the milling process. But it will be worth the investment when using the chitosan biostimulants in high market value rice. The biostimulant can be use combination with other fertilizers to reduce cost of application.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.