Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A Conceptual Framework Study And Scale Development Of Multicultural Counseling Competency: A Mixed Methods Study

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

อรัญญา ตุ้ยคำภีร์

Faculty/College

Faculty of Psychology (คณะจิตวิทยา)

Degree Name

ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

จิตวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.744

Abstract

การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษากรอบมโนทัศน์สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในบริบทสังคมไทย (2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติมาตรวัดสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ผู้วิจัยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมีสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ในนักจิตวิทยาการปรึกษาไทย 7 ราย ที่คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณเพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรวัดสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ในนักจิตวิทยาการปรึกษา ผู้ปฏิบัติงานด้านการปรึกษาโดยใช้ทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยา นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ด้านจิตวิทยาการปรึกษา และจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว)และนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 สาขาจิตวิทยา จำนวนทั้งสิ้น 461 คน จาก 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ (แบ่งเป็นการตรวจสอบคุณภาพข้อกระทงรายข้อ 85 คน การตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรวัดทั้งฉบับ 316 คน และการตรวจสอบความตรงเชิงภาวะสันนิษฐานด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด 60 คน) ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และ LISREL ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่ากรอบมโนทัศน์สมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ประกอบด้วย 10 ด้าน คือ (1) การตระหนักในพื้นฐานความเชื่อ ค่านิยม และอคติ ทางวัฒนธรรม (2) การตระหนักในความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม (3) การตระหนักในทักษะทางวัฒนธรรม (4) ความเข้าใจในพื้นฐาน ความเชื่อ ค่านิยม และอคติ ทางวัฒนธรรมของผู้มาปรึกษา (5) ความเข้าใจในความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรมของผู้มาปรึกษา (6) ความเข้าใจในทักษะทางพหุวัฒนธรรม (7) การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในเรื่องพื้นฐานความเชื่อ ค่านิยม และอคติ ทางวัฒนธรรม (8) การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในเรื่องความรู้ทางวัฒนธรรม (9) การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในด้านทักษะ กลยุทธ์ และเทคนิคที่เหมาะสม และ (10) การผสมผสานความเป็นมืออาชีพกับการใช้ชีวิตส่วนตัวได้อย่างลงตัว และ ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า มาตรวัดสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยาที่พัฒนาขึ้นจากกรอบมโนทัศน์ในการศึกษาเชิงคุณภาพระยะที่1 มีจำนวน 47 ข้อ มีความตรงตามเนื้อหาจากการตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิ มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์กับแบบสอบถามสัมพันธภาพและความร่วมมือในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา (r = .48, p < .001) และไม่พบความสัมพันธ์กับมาตรวัดการตอบเพื่อทำให้ดูดีทางสังคม (r = .04, ns) มีความตรงเชิงภาวะสันนิษฐานจากการเปรียบเทียบด้วยกลุ่มรู้ชัด (t = 3.71, p < .001) และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าโมเดลการวัดสมรรถนะทางพหุวัฒนธรรมในการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ที่มี 10 ด้าน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ 2 = 40.58; df = 28; p = .059; CFI = 1.00; GFI = .98; AGFAI = .95; SRMR = .03; RMSEA = .04; χ 2/df = 1.45) มาตรวัดมีค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .957

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This mixed methods research was aimed to (1) study a conceptual framework of the multicultural counseling competency in Thai context (2) develop and examine relevant psychometric properties of the multicultural counseling competency scale. There were two phase of study. The first phase was a qualitative study on experiences of the Thai multicultural counseling competencies through in-depth interviews with seven Thai counselors and the literature review. The key informants were met the set criteria and selected by using the purposive sampling technique. The second phase was a quantitative research developing and examining psychometric properties in the multicultural counseling competency scale. Participants for the second phase were 461 counselors, counseling service providers, graduate students in counseling psychology or guidance counseling, and 4th year undergraduates in psychology. There were from five regions of Thailand and selected using the purposive sampling. Data were analyzes by SPSS for Windows and LISREL. The qualitative findings revealed that the conceptual framework of multicultural counseling competency was composed of ten components: (1) Awareness of counselor’s own assumption of fundamental belief, attitude and cultural bias, (2) Awareness of counselor’s own assumption of fundamental cultural knowledge, (3) Awareness of counselor’s own assumption of cultural skills, 4) Understanding of client’s worldview on fundamental belief, attitude and cultural bias, (5) Understanding of client’s worldview on fundamental cultural knowledge, (6) Understanding of multicultural competency, (7) Continual self-development on fundamental belief, attitude and cultural bias, (8) Continual self-development on cultural knowledge, (9) Continual self-development on appropriate interventions and (10) Harmonious integration between professional and personal life. The quantitative evaluation of the technical adequacies of this scale revealed (1) the content validity as affirmed by guest specialists, (2) the criterion related validity tested against Social Desirability Scale: SDS Form C (r = .04, ns),The Working Alliance Inventory-Short Form (r = .48, p < .001), (3) the construct validity confirmed with the confirmatory factor analysis revealed that the model developed suited the empirical data (χ2 = 40.58; df = 28; p = .059; CFI = 1.00; GFI = .98; AGFAI = .95; SRMR = .03; RMSEA = .04; χ2/df = 1.45), the known-group technique (t = 3.71, p < .001), and (4) the overall Cronbach’s alpha coefficient at .957.

Included in

Psychology Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.