Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Incidence and associated factors of military static line parachute injuries in basic airborne trainees
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Preventive and Social Medicine (ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.705
Abstract
ความเป็นมา ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการกระโดดร่มที่จำเพาะต่อบริบทของประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การบาดเจ็บและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการกระโดดร่มด้วยสายดึงประจำที่ของพลร่มในการฝึกหลักสูตรส่งทางอากาศ วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า กลุ่มตัวอย่าง คือ กำลังพลที่เข้ารับการฝึกหลักสูตรส่งทางอากาศของโรงเรียนสงครามพิเศษช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กรกฎาคม 2561 จำนวน 992 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูล 3 ด้าน คือ (ก) ด้านข้อมูลทั่วไป (ข) ด้านสภาวะแวดล้อมในการกระโดดร่ม และ (ค) ด้านการบาดเจ็บจากการกระโดดร่ม วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการกระโดดร่มด้วยสถิติ Multi-level Poisson Regression โดยใช้ Incidence Rate Ratio (IRR) และช่วงความเชื่อมั่นที่ 95 % (95%CI) เป็นตัวชี้วัดความสัมพันธ์ ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีการบาดเจ็บจากการกระโดดร่มทั้งสิ้น 166 ครั้ง จากการกระโดดร่มทั้งหมด 4,677 ครั้ง อุบัติการณ์การบาดเจ็บจากการกระโดดร่มคิดเป็น 35.50 ครั้ง/การกระโดดร่ม 1,000 ครั้ง (ช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% ตั้งแต่ 30.04 ถึง 41.21) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการกระโดดร่มคือ การกระโดดร่มพร้อมสัมภาระเมื่อเทียบกับการกระโดดร่มโดยไม่มีสัมภาระ [Adjusted IRR (95%CI) = 1.28 (0.88 - 1.87)] การเพิ่มขึ้นของความเร็วลมทุก 1 น็อต [1.54 (1.27 - 1.87)] การกระโดดร่มจากเครื่องบินเมื่อเทียบกับเฮลิคอปเตอร์ [1.75 (0.68 - 4.55)] การออกจากอากาศยานทางด้านข้างเมื่อเทียบกับทางด้านหลัง [2.13 (1.43 - 3.23)] การกระโดดร่มในตอนกลางคืนเมื่อเทียบกับตอนกลางวัน [2.19 (0.81 - 5.90)] และการมีอาการเมาอากาศยาน [3.43 (1.93 - 6.92)] สรุป การป้องกันการบาดเจ็บจากการกระโดดร่มด้วยสายดึงประจำที่สามารถทำได้โดยการควบคุมปัจจัยในด้าน ชนิดของอากาศยาน ทางออกของอากาศยาน ช่วงเวลาในการกระโดดร่ม การกระโดดร่มพร้อมสัมภาระ อาการเมาอากาศยาน และความเร็วลม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Background: There is currently no information about incidence and associated factors of parachute injuries specifically for Thailand context. Objective: To determine the incidence and associated factors of military static line parachute injuries in basic airborne trainees Methods: A prospective cohort study was conducted among 992 military personals who attended the basic airborne training program during February-July 2018. Information sheets were used to collect data about: (a) personal demographics, (b) environmental condition surrounding the parachute practice, and (c) parachute related injuries. The incidence rate of the injury was then calculated and its risk factors determined by analyzing Multi-level Poisson Regression and using the Incidence Rate Ratio (IRR) and 95% confidence interval (95%CI) as the risk measure. Results: There were 166 parachute related injuries from the total of 4,677 jumps, with the incidence rate of 35.50 per 1,000 jumps (95%CI = 30.04 - 41.21). Factors significantly related to parachute injury were jump with equipment versus without equipment [Adjusted IRR (95%CI) = 1.28 (0.88 - 1.87)], increasing wind speed per 1 knot [1.54 (1.27 - 1.87)], airplane versus helicopter exit [1.75 (0.68 - 4.55)], side versus rear exit [2.13 (1.43 - 3.23)], night versus day jumping [2.19 (0.81 - 5.90)], and presence of motion sickness [3.43 (1.93 - 6.92)]. Conclusion: To prevent military static line parachute injuries, following factors should be taken into consideration: type of aircraft, aircraft exit, jump timing, equipment, motion sickness and wind speed.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มณีฉาย, วัชรภัสร์, "อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการบาดเจ็บจากการกระโดดร่มด้วยสายดึงประจำที่ในพลร่มที่เข้าฝึกหลักสูตรส่งทางอากาศ" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 2836.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/2836