Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Spatial patterns of crime against property in Yaowarat-Sampheng district

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ

Faculty/College

Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Urban and Regional Planning (ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง)

Degree Name

การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การวางผังและออกแบบเมือง

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.693

Abstract

ปัญหาการเกิดอาชญากรรมกลุ่มคดีประทุษร้ายแก่ทรัพย์สิน อันประกอบไปด้วย การวิ่งราวทรัพย์และการลักทรัพย์ในพื้นที่สาธารณะ เป็นปัญหาต่อความปลอดภัยที่สำคัญยิ่งของเมือง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อบรรยากาศการดำเนินกิจกรรมของคนเดินเท้าในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในพื้นที่ย่านพาณิชยกรรม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มี "กลุ่มเป้าหมาย" ของอาชญากรค่อนข้างมาก (Baran, Smith and Toker, 2007) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบเชิงพื้นที่ (spatial pattern) ในย่านเยาวราช-สำเพ็ง ที่มีแนวโน้มเกิดอาชญากรรมประเภทคดีวิ่งราวทรัพย์และลักทรัพย์บนพื้นที่สาธารณะ เช่น การล้วงกระเป๋า ด้วยการวิเคราะห์รูปแบบเชิงพื้นที่ร่วมกับแผนที่อาชญากรรม ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบเชิงพื้นที่การเกิดอาชญากรรมกลุ่มคดีประทุษร้ายแก่ทรัพย์สิน มักมีรูปแบบโครงข่ายการสัญจรที่หนาแน่น เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเข้าถึงและมองเห็นสูงถึงปานกลาง มักเกิดขึ้นบริเวณตำแหน่งการค้าที่มีกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่หนาแน่น ตลอดจนศาลเจ้า มีการสัญจรผ่านมาก ประกอบกับทางเท้าที่แคบกว่ามาตรฐาน รวมทั้งบริเวณใกล้ทางร่วมแยก หรือหัวมุมร้านค้า ซึ่งเป็นเป้าหมายในการก่อเหตุอาชญากรรม และเป็นบริเวณที่ง่ายต่อการหลบหนี โดยคดีวิ่งราวทรัพย์มีแนวโน้มเกิดขึ้นบนถนนสายหลักที่สามารถเข้าถึงด้วยรถจักรยานยนต์ และอยู่ใกล้ทางร่วมแยก เนื่องจากลักษณะของคดีที่อาชญากรจำเป็นต้องใช้ความเร็วในการหลบหนี มักก่อคดีในช่วงเวลาที่ความสามารถในการมองเห็นลดลง คือ ช่วงกลางคืน ในขณะที่คดีลักทรัพย์จำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่มีการทำกิจกรรมหนาแน่นของผู้คน มีความหลากหลายและการปะปนของคนในและนอกพื้นที่ เพื่อใช้ในการอำพรางตัวในการก่ออาชญากรรม จึงเลือกก่อคดีในช่วงเวลากลางวันอย่างชัดเจน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The problem of the crime against property includes snatching and pickpockets in public spaces. It is a very important problem for the city. In addition, it affects the atmosphere in the activities of pedestrians in daily life, especially in the commercial area because it is an area that has many "target group" of the criminals (Baran, Smith and Toker, 2007). The purpose of this thesis was to study the spatial pattern in Yaowarat - Sampheng District with a tendency to cause crime in the case of snatching and pickpockets in public spaces by analyzing the spatial patterns together with crime maps. The result of the study showed that the spatial patterns of crime against property is dense circulation network. It is an area that has a high to medium level of access potential and visibility. It usually occurs at the location of trade with dense commercial activities. As well as the shrine, because there is a lot of traffic and narrow sidewalks, including the area near the intersection or corner of the shop which is a target of crime. The property case is likely to occur on the main road that can be accessed by motor vehicles and the location near the junction because the criminals need to escape quickly. They often make a case during the night. The pickpocket cases require the space with dense activities of people. Therefore, the criminals choose to make a case during the daytime clearly

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.