Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Comparison Of Cognitive Diagnostic Results Between Construct Maps And Three-Tier Diagnostic Test Of The Nursing Process In Fundamental Nursing

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

ศิริเดช สุชีวะ

Second Advisor

โชติกา ภาษีผล

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

การวัดและประเมินผลการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.679

Abstract

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาและรายงานการให้ผลย้อนกลับการวินิจฉัยในการพัฒนาความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนตามวิธีของแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎีและแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับ 2) ตรวจสอบคุณภาพของวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาทั้งสองวิธี เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเกณฑ์คือเทคนิคการคิดออกเสียง และ 3) เปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์และมโนทัศน์คลาดเคลื่อนที่ได้จากทั้งสองวิธี ตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปี 2 หรือ 3 ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ขนาดของตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 1,329 คน เป็นตัวอย่างในตอนที่ 1 จำนวน 233 คน ตัวอย่างในตอนที่ 3 จำนวน 305 คน ตัวอย่างในตอนที่ 5 จำนวน 102 คน และตัวอย่างในตอนที่ 6 จำนวน 689 คน การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 6 ตอนดังนี้ ตอนที่ 1 การสำรวจกระบวนการคิดของนักศึกษาพยาบาล ตอนที่ 2 การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาทั้งสองวิธี ตอนที่ 3 การทดลองใช้และปรับปรุงวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาทั้งสองวิธี ตอนที่ 4 การสร้างรายงานการให้ผลย้อนกลับการวินิจฉัยของวิธีการทั้งสอง ตอนที่ 5 การตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงวินิจฉัยโดยเปรียบเทียบวิธีการทั้งสองกับวิธีเกณฑ์คือเทคนิคการคิดออกเสียง และตอนที่ 6 การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยพุทธิปัญญาจากวิธีการทั้งสองวิธี เครื่องมือวิจัยในตอนที่ 1 เป็นแบบทดสอบอัตนัยตอบโจทย์สถานการณ์ผู้ป่วย และในตอนที่ 3, 5, 6 เป็นแบบทดสอบวินิจฉัย 2 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 แบบทดสอบวินิจฉัยที่พัฒนาจากแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎี และชุดที่ 2 แบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับ สถิติวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบพิจารณาจากค่าสถิติความเหมาะสมรายข้อ ได้แก่ INFIT MNSQ, OUTFIT MNSQ, t-statistic, SE และค่าความเที่ยงแบบ EAP เปรียบเทียบวิธีวินิจฉัยแต่ละวิธีกับเทคนิคการคิดออกเสียงด้วย Wilcoxon signed-rank test และเปรียบเทียบสัดส่วนการจำแนกกลุ่มมโนทัศน์และมโนทัศน์คลาดเคลื่อนด้วย McNemar–Bowker test ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาและรายงานการให้ผลย้อนกลับตามแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎีและแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับมีดังนี้ การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาตามแผนที่ตัวแปรโดยนำข้อมูลสำรวจกระบวนการคิดมาสร้างแผนที่ตัวแปร ออกแบบข้อสอบปรนัยหลายตัวเลือกแบบเรียงอันดับท้ายตัวเลือกให้เลือกมั่นใจ/ไม่มั่นใจ ให้คะแนน 3 ค่าคือ 0, 1, 2 คะแนน โมเดลการวัดเป็นราสซ์โมเดลแบบการแบ่งเชิงจัดอันดับ แล้วสร้างรายงานการให้ผลย้อนกลับ ส่วนการพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับโดยระบุความรู้ที่ควรมี สร้างผังข้อสอบคู่ขนานกับแบบทดสอบวินิจฉัยตามแผนที่ตัวแปร นำผลสำรวจกระบวนการคิดมโนทัศน์และมโนทัศน์คลาดเคลื่อนที่ได้มาสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับ รูปแบบข้อสอบในระดับที่ 1 และ 2 เป็นปรนัยหลายตัวเลือก ส่วนระดับที่ 3 ให้เลือกมั่นใจ/ไม่มั่นใจ ให้คะแนนทั้ง 3 ระดับแบบ 2 ค่าคือ 0, 1 คะแนน และโมเดลการวัดเป็นราสซ์โมเดลแบบทวิภาค แล้วสร้างรายงานการให้ผลย้อนกลับ การจำแนกผู้เรียนของวิธีการทั้งสองจำแนกเป็น 5 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่มีความรู้สมบูรณ์และมั่นใจ (CUC) กลุ่มที่มีความรู้สมบูรณ์แต่ไม่มั่นใจ (CULC) กลุ่มที่มีความรู้เพียงบางส่วน (IU) กลุ่มที่พร่องความรู้ (LK) และกลุ่มที่มีมโนทัศน์คลาดเคลื่อน (MC) 2) คุณภาพของวิธีการวินิจฉัยพุทธิปัญญาทั้งสองวิธี มีคุณภาพแบบทดสอบผ่านเกณฑ์โดยมีค่า MNSQ อยู่ในช่วง 0.70 ถึง 1.13, t-statistic อยู่ในช่วง -1.9 ถึง 1.7, SE อยู่ในช่วง -0.039 ถึง 0.349, ค่าความเที่ยงแบบ EAP ของแบบทดสอบวินิจฉัยตามแผนที่ตัวแปรเชิงทฤษฎีและแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับเท่ากับ 0.635 และ 0.684 ตามลำดับ การตรวจสอบความตรงเชิงวินิจฉัยเมื่อเปรียบเทียบทั้งสองวิธีกับวิธีเกณฑ์คือเทคนิคการคิดออกเสียงพบว่า แบบทดสอบวินิจฉัยตามแผนที่ตัวแปรและแบบทดสอบวินิจฉัยสามระดับให้ผลการวินิจฉัยไม่แตกต่างกับกับวิธีเกณฑ์ (Z=-1.000, sig.=.317 และ Z=-1.701, sig.=.089 ตามลำดับ) 3) เปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์และมโนทัศน์คลาดเคลื่อนที่ได้จากวิธีการวินิจฉัยทั้งสองวิธีพบว่า สัดส่วนการจำแนกกลุ่มมโนทัศน์และมโนทัศน์คลาดเคลื่อนของผู้เรียนในเรื่องกระบวนการพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (McNemar–Bowker test = 294.405, sig.= .000)

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were to 1) develop cognitive diagnostic methods with formative feedback reports according to construct maps and three-tier diagnostic test of the nursing process 2) validate quality of cognitive diagnostic methods by compare with think aloud protocal and 3) compare cognitive diagnostic results between cognitive diagnostic methods. The participants were 1,329 (Part 1 - 233, Part 3 - 305, Part 5 - 102, Part 6 - 689) second or third year nurse students. They were selected by purposive sampling. The research procedure consisted of 6 parts as follows: Part 1 survey cognitive model, Part 2 develop cognitive diagnostic methods, Part 3 try out, Part 4 develop formative feedback reports, Part 5 validate quality of cognitive diagnostic methods by compare with think aloud protocal and Part 6 compare cognitive diagnostic results between cognitive diagnostic methods. The research instruments were scenario essay-type questions (Part 1) and 2 cognitive diagnostic tests including diagnostic test using construct maps and three-tier diagnostic test (Part 3, 5, 6). Statistical analysis were items fit indices (MNSQ, OUTFIT MNSQ, t-statistic, SE) and EAP (Expected a posterior reliability). Comparison of each cognitive diagnostic method with think aloud protocal analysed by Wilcoxon signed-rank test. Comparison of cognitive diagnostic results analysed by McNemar–Bowker test. The research results were as follows: 1) the developed cognitive diagnostic methods with formative feedback reports as follows: develop cognitive diagnostic method according to construct maps by using data from part 1 to create construct maps; design items-ordered multiple-choice (OMC) with confidence chioces; design scoring guides- 3 scores (i.e. 0, 1, 2); design measurement model- the ordered partition model and create formative feedback report. Develop cognitive diagnostic method according to three-tier diagnostic test by using data from part 1 to create 1st tier-answer, 2nd tier- reason and 3rd tier-confidence; design items - multiple-choices; design scoring guides - 2 scores (i.e. 0, 1); design measurement model - dichotomous rasch model and create formative feedback report. Both methods classified students with 5 groups (i.e. complete understand with confidence: CUC, complete understand without confidence: CULC, incomplete understand: IU, lack of knowledge: LK, and misconception: MC). 2) validation of cognitive diagnostic methods were investigated thru items fit indices. Results revealed that MNSQ were between 0.70 to 1.13, t-statistics were between -1.9 to 1.7, SE were between -0.039 to 0.349 and EAP reliability were 0.635 and 0.684 respectively. Diagnostic validation by compared each cognitive diagnostic method with think aloud protocal. The results revealed that cognitive diagnostic according to construct maps and three-tier diagnostic test had no difference when compared with think aloud protocal (Z= -1.000, sig.= .317 and Z= -1.701, sig.=.089 respectively). 3) comparison of cognitive diagnostic results between construct maps and three-tier test revealed that both methods provided diagnostic results with statistically significant difference (McNemar–Bowker test = 294.405, sig.= .000)

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.