Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การศึกษาระดับปริมาณรังสีอ้างอิงที่ผู้ป่วยได้รับระดับแผนกที่หน่วยงานรังสีวิทยาหลอดเลือด และ ร่วมรักษา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

Anchali Krisanachinda

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Radiology (fac. Medicine) (ภาควิชารังสีวิทยา (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Medical Physics

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.322

Abstract

Interventional Radiology (IR) procedures are minimally invasive surgery using angiographic equipment which the patients and staffs may receive high radiation dose. DRLs, based on 75th percentile of the median dose for a sample of standard sized of patients, are an effective tool for optimization of protection in the medical exposure of patients for diagnostic and interventional procedures (ICRP Publication 135, 2017). The objective of this study is to establish the local DRLs distribution of patient radiation dose and related parameters in interventional radiology procedures in standard-sized of Thai patients. Local DRLs of radiation dose and related parameters of patients (45-75kg for female, and 50-80kg for male) who underwent 3 Neuro-interventional and 9 body interventional procedures were established by retrieving the patient data from PACS and Radimetrics. The data analysis used descriptive statistics via SPSS version 22. The median value of interventional radiology procedures in this study were compared to National DRLs. The patient data of 485 cases, neuro-intervention 87 cases and body intervention 398 cases, were reviewed and collected between January 2019 and June 2020. The results show that: the median of KAP value and 75th percentile (DRLs) of Cerebral angiogram were 49 and 61 Gy.cm2, Embolization of intracranial aneurysm were 121 and 144 Gy.cm2, Embolization of brain AVM were 157 and 224 Gy.cm2, CT-guided TACE were 287 and 459 Gy.cm2, CBCT-guided TACE were 238 and 397 Gy.cm2, PICC line were 0.7 and 1 Gy.cm2, Perm cath were 1 and 4 Gy.cm2, PCD were 2 and 4 Gy.cm2, PTBD were 6 and 14 Gy.cm2, Peripheral angiogram were 4 and 18 Gy.cm2, Peripheral angioplasty were 7 and 16 Gy.cm2, CBCT-guided Biopsy were 12 and 17 Gy.cm2, respectively. The thickness of the body part, the complexity index, the angiographic equipment, the angiographic materials, the exposure techniques and the interventional radiologists' skill and decision influence the patient radiation dose. As the patient radiation doses in the therapeutic procedure are always higher than the diagnostic procedures, the DRLs of interventional radiology procedures should be optimized and reviewed DRLs annually. The exposure techniques to decrease the risk of patient radiation dose and reducing scatter radiation to all staffs should be reviewed. The Local DRLs of interventional radiology procedures is established in 2020 while Thailand DRLs is established in 2021. The Local DRLs report is useful in providing a guidance on National DRLs database.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

หัตถการทางด้านรังสีวิทยาหลอดเลือดและร่วมรักษาเป็นหัตถการผ่าตัดขนาดเล็กโดยใช้เครื่องมือทางด้านรังสีร่วมรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยและบุคลากรการแพทย์ได้รับรังสีปริมาณสูง คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสีได้กำหนดระดับปริมาณรังสีอ้างอิงในปี ค.ศ. 2017 ที่ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ 75 ของค่ามัธยฐานของข้อมูลตัวอย่างผู้ป่วยที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อเป็นเครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายจากรังสีและใช้ปริมาณรังสีทางการแพทย์อย่างเหมาะสมสำหรับหัตถการวินิจฉัยและร่วมรักษา วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อสร้างระดับปริมาณรังสีอ้างอิงสำหรับผู้ป่วยได้รับระดับแผนกของผู้ป่วยชาวไทยที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ระหว่างการทำหัตถการด้านรังสีวิทยาหลอดเลือดและร่วมรักษา ระดับปริมาณรังสีอ้างอิงที่ผู้ป่วยได้รับระดับแผนกของผู้ป่วยชาวไทยที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ (45-75 กก. สำหรับผู้หญิงและ 50-80 กก.สำหรับผู้ชาย) ของหัตถการด้านระบบประสาทและสมอง 3 หัตถการและหัตถการส่วนลำตัว 9 หัตถการในระบบจัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์และโปรแกรมตรวจสอบปริมาณรังสีถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยโปรแกรม SPSS เวอร์ชัน 22 ค่ามัธยฐานของหัตถการด้านรังสีวิทยาหลอดเลือดและร่วมรักษาในการศึกษานี้จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับระดับปริมาณรังสีอ้างอิงของผู้ป่วยระดับประเทศ ข้อมูลผู้ป่วยของหัตถการด้านระบบประสาทและสมอง 87 คนและหัตถการส่วนลำตัว 398 คน รวมทั้งหมด 485 คนถูกรวบรวมในระหว่างเดือน มกราคม ถึง เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยมีผลการศึกษา ดังนี้ ค่าแคพมิเตอร์ที่ตำแหน่งมัธยฐานและเปอร์เซนไทล์ที่ 75 (ระดับปริมาณรังสีอ้างอิง) ของการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง คือ 49 และ 61 เกรย์ตร.ซม. การอุดเส้นเลือดโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองในกะโหลกศีรษะ คือ121 และ 144 เกรย์ตร.ซม. การอุดเส้นเลือดโรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม คือ 157 และ 224 เกรย์ตร.ซม. การให้ยาเคมีบำบัดทางเส้นเลือดแดงที่ตับโดยใช้ภาพจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คือ 287 และ 459 เกรย์ตร.ซม. การให้ยาเคมีบำบัดทางเส้นเลือดแดงที่ตับโดยใช้ภาพจากลำรังสีรูปกรวย คือ 238 และ 397 เกรย์ตร.ซม. การใส่สายสวนภายในหลอดเลือดดำส่วนกลาง คือ 0.7 และ 1 เกรย์ตร.ซม. การใส่สายสวนภายในหลอดเลือดดำสำหรับฟอกเลือดชนิดถาวร 1 และ 4 เกรย์ตร.ซม. การใส่สายระบายผ่านทางผิวหนัง 2 และ 4 เกรย์ตร.ซม. การใส่สายระบายน้ำดี 6 และ 14 เกรย์ตร.ซม. การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย 4 และ 18 เกรย์ตร.ซม. การขยายหลอดเลือดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย 7 และ 16 เกรย์ตร.ซม. การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจโดยใช้ภาพจากลำรังสีรูปกรวย 12 และ 17 เกรย์ตร.ซม. ตามลำดับ ความหนาของลำตัว, ดัชนีความยาก, เครื่องมือทางด้านรังสีร่วมรักษา, อุปกรณ์ทางด้านรังสีร่วมรักษา, เทคนิคปริมาณรังสี, ทักษะและการตัดสินใจของรังสีแพทย์มีผลต่อปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับของหัตการร่วมรักษามากกว่าหัตการวินิจฉัย ดังนั้น ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับในระหว่างการทำหัตการทางด้านรังสีวิทยาหลอดเลือดและร่วมรักษาควรมีการควบคุมในปริมาณที่เหมาะสมและทบทวนระดับปริมารรังสีอ้างอิงทุกปี เพื่อประเมินเทคนิคปริมาณรังสี ลดความเสี่ยงทางรังสีที่ผู้ป่วยได้รับและลดปริมาณรังสีกระเจิงที่บุคลากรการแพทย์ได้รับ การศึกษาระดับปริมาณรังสีอ้างอิงที่ผู้ป่วยได้รับระดับแผนกเป็นการศึกษาในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งระดับปริมาณรังสีอ้างอิงที่ผู้ป่วยได้รับของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2564 รายงานการศึกษาระดับปริมาณรังสีอ้างอิงที่ผู้ป่วยได้รับระดับแผนกนี้จะเป็นฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ในการจัดตั้งระดับปริมาณรังสีอ้างอิงที่ผู้ป่วยได้รับของประเทศไทย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.