Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การวิเคราะห์รูปแบบของอาร์เซนิกด้วยลิแกนด์ที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบและสำลีโดยใช้ ICP-OES
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
Apichat Imyim
Second Advisor
Narong Praphairaksit
Faculty/College
Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)
Department (if any)
Department of Chemistry (ภาควิชาเคมี)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Chemistry
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.101
Abstract
This research aimed to develop a method for speciation of arsenic species including As(III) and As(V) in environmental samples. Cotton wool and sulfur containing ligands including ammonium pyrrolidinedithiocarbarmate (APDC), L–cysteine and diethyldithiocarbamic acid were used in a solid phase extraction and determination of arsenic by using inductively coupled plasma optical emission spectrometry. The separation parameters were studied including pH, ligand concentration, cotton amount, type of eluents and flow rate. It was found that at pH 2, 0.1% APDC concentration and 0.5 g of cotton, As(III) could form complex with APDC (As(III) – APDC) and was separated from As(V) by using cotton column. The adsorption percentage was around 90%. Then As(III) was eluted by using 5 mL of 4 M HNO3, 4 M HCl and 0.5 M H2O2 at a ratio of 1:1:1 as eluent. The proposed method was then used to perform a speciation analysis of arsenic in solutions containing As(III) and As(V) in the range of 10 – 1000 μg L-1. The results showed good recoveries of both arsenic species at 83 - 118% with acceptable relative standard deviation (%RSD). The proposed method was applied for arsenic speciation in environmental water samples. The results showed good recoveries and %RSD.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์สปีชีส์ของอาร์เซนิก ได้แก่ อาร์เซนิก(III) และอาร์เซนิก(V) ในตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคนิคการแยกด้วยเฟสของแข็ง โดยใช้สำลีและลิแกนด์ที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ แอมโมเนียมไพโรริดีนไดไทโอคาร์บาเมต, แอล-ซิสทีอีน และ ไดเอทิลไดไทโอคาร์บามิกแอซิด และวิเคราะห์ปริมาณของสารหนูทั้ง 2 ชนิด ด้วยเทคนิคอินดักทีฟลีคัพเปิลพลาสมาออฟติคัลอิมิสชันสเปกโทรเมตรี โดยศึกษาภาวะที่เหมาะสมของการแยกสารหนู ได้แก่ ชนิดของลิแกนด์ที่มีซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบที่เลือกใช้, pH, ความเข้มข้นของลิแกนด์, ปริมาณสำลี, อัตราการไหล และชนิดของตัวชะที่เหมาะสม จากนั้นจึงได้ทำการทดสอบกับตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อม จากการทดลองพบว่าที่ pH 2, ความเข้มข้นของแอมโมเนียมไพโรริดีนไดไทโอคาร์บาเมตที่ 0.1% และปริมาณสำลี 0.5 กรัม อาร์เซนิก(III) สามารถถูกดูดซับไว้บนสำลีได้เกินกว่า 90% และอาร์เซนิก(V) ไม่ถูกดูดซับเอาไว้ จากนั้นจึงทดสอบการชะอาร์เซนิก(III) ออกจากคอลัมน์โดยใช้ตัวชะคือ สาระลายผสม 4 M HNO3, 4 M HCl และ 0.5 M H2O2 อัตราส่วน 1 : 1 : 1 ปริมาตร 5 มิลลิลิตร สามารถชะอาร์เซนิก(III) ได้เปอร์เซ็นต์การคืนกลับที่ยอมรับได้ (>80%) วิธีการนี้ถูกนำไปทดสอบกับสารละลายผสมอาร์เซนิก(III) และอาร์เซนิก(V) ความเข้มข้น 10 – 1000 ไมโครกรัมต่อลิตร และตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อม ผลการทดสอบสามารถแยกอาร์เซนิกทั้งสองสปีชีส์ได้อย่างสมบูรณ์ มีเปอร์เซ็นต์การคืนกลับอยู่ที่ 83 - 118 % และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ยอมรับได้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Triteeyaprasert, Kavee, "Speciation of arsenic using sulfur containing ligand and cotton wool by ICP-OES" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 2232.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/2232