Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The result of Curcuminoids capsules to prevent increasing of lactulose mannitol ratio in urine from aspirin in the healthy volunteers compared to placebo

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

สุเทพ กลชาญวิทย์

Second Advisor

ฐนิสา พัชรตระกูล

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.1621

Abstract

ที่มา: จากข้อมูลระดับก่อนการวิจัยทางคลินิก แสดงถึงผลของแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก และอาจจะนำไปสู่การป้องกันการเกิดการบาดเจ็บของผิวเยื่อบุลำไส้จากยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางคลินิกนั้นมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์: การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาผลของผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ในการป้องกันการเพิ่มขึ้นของความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก วัดโดยวิธีอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลในปัสสาวะ วิธีการศึกษา: อาสาสมัครสุขภาพดี ทำการทดลองแบบสุ่มโดยมีกลุ่มควบคุม และข้ามกลุ่ม เพื่อได้รับผลิตภัณฑ์ แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือยาหลอก เป็นเวลาทั้งหมด 7 วัน และ ยาแอสไพริน 600 มิลลิกรัม หลังอาหารเช้า 1 วัน ก่อนทำการทดสอบ และ วันที่ทำการทดสอบ จากนั้นข้ามกลุ่มหลังจากเว้นระยะเวลาการทดสอบ 4 สัปดาห์ การวัดอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลในปัสสาวะ ทำโดยให้รับประทานแลคตูโลส10 กรัม และแมนนิทอล 5 กรัม จากนั้น เก็บปัสสาวะทุกครึ่งชั่วโมง จนครบ6ชั่วโมง โดยเริ่มตั้งแต่ 8 โมงเช้า โดยวัดครั้งแรกเป็นระดับอ้างอิง และ หลังรับประทานแอสไพริน โดยอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอล ถูกวัดโดยวิธี high performance liquid chromatography โดยแอสไพริน ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก คือ การเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอล มากกว่าหรือเท่ากับ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับระดับอ้างอิง นอกจากนั้น มีการวัดระดับไซโตไคน์ interleukin 1 beta (IL-1β) โดยวิธี enzyme-linked immunosorbent assay ผลการศึกษา: อาสาสมัครสุขภาพดี 20 คน เข้าร่วมการศึกษาตลอดการศึกษา ประกอบด้วย เพศหญิง 14 คน (70%) อายุเฉลี่ย 32.5±10.7 ปี จากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลที่ระดับอ้างอิง (ก่อนได้รับแอสไพริน) เท่ากับ 0.112 ± 0.057 หลังได้รับ แอสไพริน ทั้งกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และ กลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์ แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอล โดยมีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 47.48 ± 90.59% ในกลุ่มยาหลอก และ 36.95±84.61%, p=0.602 หลังจากได้รับแอสไพริน มีอาสาสมัคร 8 คน ในกลุ่มยาหลอก (40%) มีการเพิ่มขึ้นของความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก เปรียบเทียบกับ 3 คน (15%) ในกลุ่มได้รับผลิตภัณฑ์ แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน (p= 0.077) จากการวิเคราะห์ไม่พบผลของการข้ามกลุ่ม (carry over effect) และผลของช่วงเวลาต่อผลการศึกษา (period effect) ระหว่างกลุ่มที่ได้รับยาหลอกกับกลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์ แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน p= 0.235 และ p=0.752 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยของระดับ interleukin 1 beta ในเลือด ก่อนได้รับแอสไพริน 0.077± 0.058 pg/mL หลังได้รับแอสไพริน ระดับ interleukin 1 beta ในเลือดในกลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์ แคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน ลดลงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (0.048±0.006 pg/mL และ 0.059±0.031pg/mL, p=0.000 ตามลำดับ) ไม่พบผลข้างเคียงหลังได้รับแคปซูลสารสกัดขมิ้นชัน สรุปผล: การใช้แอสไพรินระยะสั้น สามารถเพิ่มอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลในปัสสาวะ ซึ่งแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของความสามารถซึมผ่านของลำไส้เล็ก การให้แคปซูลสารสกัดขมิ้นชันก่อนได้รับแอสไพริน มีแนวโน้มที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนระดับแลคตูโลส และแมนนิทอลในปัสสาวะ หลังได้รับแอสไพริน และมีความสัมพันธ์กับการมีระดับไซโตไคน์ที่กระตุ้นการอักเสบที่ต่ำกว่า การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถให้การป้องกันเยื่อบุผิวลำไส้เล็กของแคปซูลสารสกัดขมิ้นชันหลังได้รับแอสไพริน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: Preclinical data has been shown that curcuminoid had an intestinal permeability (IP) protection effect which may prevent the injury from non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs). Unfortunately, the clinical data is limited. Objective: We aim to study the effects of curcuminoid on IP evaluated by urine LMR after aspirin ingestion. Methods: Healthy subjects were randomized to curcuminoid 2,000 mg/day (Curcuma domestica extracts, The Thai Government Pharmaceutical Organization) or placebo capsules for 7 days with aspirin 600 mg orally on day 6 and 7 then crossed over after 4-week washing period. Lactulose 10 g and mannitol 5 g were ingested and urine was collected every 30 minutes for 6 hours started from 8 AM at baseline and after last dose of aspirin. Urine LMR were measured by using high performance liquid chromatography. Aspirin induced increase IP was defined as an increase > 50% of IP after ingested aspirin compared to baseline. Serum interleukin 1 beta (IL-1β), a proinflammatory cytokine, was also measured by enzyme-linked immunosorbent assay. Results: Twenty subjects (14 females, age 32.5±10.7 years) completed the studies. Baseline LMR of all subjects before curcuminoid and placebo were 0.112 ± 0.057. After taking aspirin, both placebo and curcuminoid group had LMR increase from baseline with the mean percentage change 47.48 ± 90.59% in placebo+aspirin group vs. 36.95±84.61% in curcuminoid+aspirin group, p=0.602. Eight subjects (40%) had IP increase after taking placebo+aspirin compared to three subjects (15%) in curcuminoid+aspirin group (p= 0.077). There was no significant carry over effect (p= 0.235) and period effect (p=0.752) between curcuminoid and placebo group. Baseline IL1β of all subjects were 0.077± 0.058 pg/mL. After taking aspirin, the serum IL1β level in curcuminoid group was significantly lower than the placebo group, placebo+ aspirin 0.059±0.031pg/mL vs. curcuminoid+aspirin 0.048±0.006 pg/mL, p=0.000. No adverse reaction was found after curcuminoid ingestion. Conclusions: Short term aspirin increased urine LMR which reflects increase of small intestinal permeability. Pretreatment with curcuminoid had a trend to reduce LMR changing after aspirin ingestion and associated with lower proinflammatory cytokine level. This study showed the potential mucosal protective effect of curcuminoid after aspirin ingestion.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.