Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Analysis of road traffic patterns using CDR and GPS
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
วีระ เหมืองสิน
Faculty/College
Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Computer Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.1377
Abstract
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหนึ่งที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง การทราบถึงปริมาณความต้องการในการเดินทางระหว่างพื้นที่และเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการวางแผนระบบขนส่งภายในเมือง ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้อยู่มากมายเช่น โปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ, จีพีเอสที่ติดบนรถแท็กซี่ (GPS), บันทึกการใช้งานเครือข่ายไวไฟ (Wi-Fi Log) และบันทึกรายละเอียดการใช้งานโทรศัพท์ (CDR) โดยข้อมูลที่นักวิจัยนิยมใช้ในการหาปริมาณความต้องการในการเดินทางระหว่างพื้นที่คือข้อมูลจากจีพีเอสที่ติดบนรถแท็กซี่และบันทึกรายละเอียดการใช้งานโทรศัพท์ ซึ่งข้อมูลจากแต่ละแหล่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันโดยข้อมูลจีพีเอสเป็นข้อมูลที่รายงานตำแหน่งของผู้ใช้งานอย่างแม่นยำและมีรอบการส่งตำแหน่งที่แน่นอนแต่ข้อมูลมีขนาดเล็กไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนประชากรทั้งเมืองได้ แต่ข้อมูลจากซีดีอาร์เป็นข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้งานขนาดใหญ่แต่ตำแหน่งที่ได้เป็นตำแหน่งของเสากระจายสัญญาณเท่านั้น ผู้วิจัยจึงนำข้อดีของข้อมูลจากทั้งสองแหล่งมาใช้ในการสร้างเครื่องมือ โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอวิธีการในการสร้างเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของประชากรระหว่างบ้านและสถานที่ทำงาน โดยใช้ข้อมูลจากบันทึกรายละเอียดการใช้งานโทรศัพท์ในการหาบ้านและสถานที่ทำงานของประชากรทำให้ทราบถึงปริมาณความต้องการในการทางระหว่างพื้นที่ และใช้ข้อมูลจีพีเอสจากรถแท็กซี่ในการหาเส้นทางบนถนนที่เป็นที่นิยมในการเดินทางระหว่างพื้นที่ และผู้วิจัยได้วิเคราะห์ในหลาย ๆ พื้นที่ยกตัวอย่างเช่น ประชากรที่ทำงานในพื้นที่สีลมและช่องนนทรี ,การเดินทางระหว่างสีลมกับอนุสาวรีชัยสมรภูมิ และการเดินทางจากฝั่งธนบุรีไปฝั่งพระนคร
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Bangkok is a city with high population density. To acknowledge travel demand quantity inter-area and road route selected. That information is a necessary to plan transportation system in the city. At present, there are several devices to record data of users locations such as mobile applications, taxi GPS, Wi-Fi log, and CDR. The popular data source among researchers to explore unban mobility pattern that from taxi GPS and CDR. The data from each source possesses different advantages as well as disadvantages. GPS data reports taxis locations with high accurately and fixed data delivery period. However, on account of small size of the data, it cannot represent the population of the city. Regarding CDR data, it is from the large group of users but with received locations of cell towers. Thus, the researcher applied the advantages of the data from both source for designing a tool. This thesis propose the method of an analysis tool for population mobility between their homes and workplaces. The CDR data was used to find homes and workplaces so as to acknowledge Transportation demand quantity of inter-area. GPS data from taxis was also exploited to search for famous inter-area driving routes. The researcher revealed the examples of the analysis of population working in Silom and Chong Nonsi areas , choosing a route from Silom to Victory Monument and choosing a bridge to travel from Thonburi side to Phra Nakhon side.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ทองสีนุช, ล่ำซำ, "การวิเคราะห์รูปแบบการจราจรบนถนนโดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่จากซีดีอาร์และจีพีเอส" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1867.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1867