Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Application of molecular biology techniques for an assessment of reproductive population size of hawksbill turtle eretmochelys imbricata at Talu island, Prachuap Khiri Khan province

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

นพดล กิตนะ

Second Advisor

ธงชัย งามประเสริฐวงศ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.1286

Abstract

การขยายตัวของกิจกรรมมนุษย์ทั่วโลกส่งผลรบกวนต่อเต่าทะเลอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เต่ากระ Eretmochelys imbricata ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีประชากรลดลงจนมีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากการลดลงของพื้นที่แหล่งวางไข่และแหล่งหาอาหาร การเสียชีวิตจากการติดเครื่องมือประมง รวมถึงการถูกล่าโดยมนุษย์ ข้อมูลประชากรเต่ากระจึงมีความสำคัญสำหรับนำมาใช้ในการประเมินสถานภาพ ในการศึกษานี้จึงได้นำเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลมาประยุกต์ใช้ศึกษาไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอและนิวเคลียร์ดีเอ็นเอของลูกเต่ากระที่เกิดในปี พ.ศ. 2557 เพื่อตรวจสอบรูปแบบพันธุกรรมที่ลูกเต่าได้รับจากเต่ากระเพศเมียและเต่ากระเพศผู้มีแหล่งผสมพันธุ์และแหล่งวางไข่ บริเวณเกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประกอบกับการสืบค้นข้อมูลการพบเห็นเต่ากระในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการประเมินสถานการณ์ประชากรเต่ากระ ผลการศึกษาภาวะพหุสัณฐานของไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอของลูกเต่ากระจำนวน 5 รัง รวมทั้งสิ้น 38 ตัว พบรูปแบบสารพันธุกรรม 1 แฮพโพลไทป์ และมีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมเท่ากับ 0 เมื่อพิจารณาร่วมกับบันทึกข้อมูลภาคสนามการขึ้นวางไข่ของเต่ากระเพศเมียที่เกาะทะลุ แสดงให้เห็นว่า ในปี พ.ศ. 2557 ลูกเต่ากระเกิดมาจากแม่เต่าตัวเดียวกัน กล่าวคือ พบเต่ากระเพศเมียจำนวน 1 ตัว ส่วนการศึกษาภาวะพหุสัณฐานของไมโครแซทเทลไลต์ในนิวเคลียร์ดีเอ็นเอของลูกเต่ากระจำนวน 5 รัง รวมทั้งสิ้น 214 ตัว สามารถประมาณการณ์จำนวนเต่ากระเพศผู้ได้ 1 - 4 ตัว สำหรับการสืบค้นข้อมูลการพบเต่ากระในประเทศไทยพบว่า เต่ากระส่วนใหญ่ (ร้อยละ 67) ถูกพบในรูปแบบการเกยตื้นตามพื้นที่ชายฝั่ง โดยมีเครื่องมือประมงและขยะทะเลเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของเต่ากระ จากการตรวจสอบด้วยเทคนิคทางชีววิทยาโมกุลที่พบว่ามีจำนวนเต่ากระวัยเจริญพันธุ์น้อย ประกอบกับแนวโน้มการเกยตื้นของเต่ากระที่สูงขึ้นในช่วง 5 - 10 ปีที่ผ่านมา แสดงถึงสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงของเต่ากระในบริเวณอ่าวไทย จึงควรมีการวางแผนการจัดการด้านการประมงและขยะทะเลในบริเวณอ่าวไทยเพื่อการอนุรักษ์พันธุ์เต่ากระต่อไป

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

With ever-increasing human activities around the globe, disturbance of sea turtle life is inevitable. Hawksbill turtle, Eretmochelys imbricata, a critically endangered species, is facing a global population decline as results of decreased nesting habitats and foraging grounds, death by fishing gears as well as exploitation by human. It is thus crucial to monitor population status of the sea turtle. In this study, the number of adult hawksbill turtles breeding and nesting at Talu Island, Prachuap Khiri Khan Province in the Gulf of Thailand was assessed by using molecular techniques on mitochondrial DNA and nuclear DNA from juvenile turtles. Furthermore, secondary data of hawksbill turtle sighting were compiled to assess population situation in Thailand. In nesting season of 2014, mtDNA polymorphism of 38 juvenile turtles representing 5 nests revealed only one haplotype (h=0, π=0), consideration with field data record, indicating that these 5 nests were potentially laid by one single female. While analysis of microsatellite polymorphism in nuclear DNA of 214 juvenile turtles from 5 nests revealed the estimated number of male hawksbill turtles of 1 to 4 individuals. Literature surveys on sighting of the hawksbill turtle in Thailand showed that, rather than the nesting female turtles, majority (67%) of the turtles found in the Gulf of Thailand was the stranded turtles due to injury or death involving fishing gears and marine debris. The low number of adult hawksbill turtles together with an increasing number of stranded turtles in the Gulf of Thailand during the past 5 - 10 years further bring about concerns over the population status of this critically endangered species and suggest that management plan for fishery and marine debris in the Gulf of Thailand are crucial for conservation of the hawksbill turtle.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.