Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
RELATIONSHIP BETWEEN COPEPOD COMMUNITY AND ENVIRONMENTAL FACTORS AT SICHANG ISLAND, CHONBURI PROVINCE
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์
Second Advisor
พรเทพ พรรณรักษ์
Faculty/College
Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)
Department (if any)
Department of Marine Science (ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์ทางทะเล
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.1274
Abstract
ศึกษาโครงสร้างประชาคมของโคพีพอด ได้แก่ ความหลากชนิด, ความยาวลำตัว และปริมาตรชีวภาพของโคพีพอด บริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีใน พ.ศ. 2551, 2554 และ 2559 ในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (มกราคม พ.ศ. 2559) ช่วงระหว่างมรสุม หรือ Inter-I (เมษายน พ.ศ. 2559) ช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (กรกฎาคม พ.ศ. 2559) และช่วงระหว่างมรสุม หรือ Inter-II (ตุลาคม พ.ศ. 2551, ตุลาคมและพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 และพฤศจิกายน พ.ศ. 2559) ผลการศึกษาพบโคพีพอดขนาดใหญ่เมโซแพลงก์ตอน 15 ชนิดใน พ.ศ. 2559 รองลงมา 8 ชนิดใน พ.ศ. 2554 และต่ำสุด 5 ชนิดใน พ.ศ. 2551 ขณะที่พบโคพีพอดขนาดไมโครแพลงก์ตอนทั้งสิ้น 18 ชนิดในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พบโคพีพอดขนาดใหญ่ในความหนาแน่นสูงสุดใน พ.ศ. 2559 รองลงมาใน พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2551 โดยใน พ.ศ. 2559 ช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และช่วงระหว่างมรุสมเดือนเมษายน พบโคพีพอดมีความหนาแน่นในช่วง 619-678 ตัว/ลูกบาศก์เมตร แต่ในช่วงระหว่างมรุสมพฤศจิกายนและช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนั้น พบโคพีพอดในความหนาแน่นต่ำระหว่าง 298-397 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ส่วนโคพีพอดขนาดเล็กมีความชุกชุมสูงใกล้เคียงกัน (92,417-108,142 ตัว/ลูกบาศก์เมตร) ในช่วงระหว่างมรสุมเมษายนและช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนช่วงระหว่างมรสุมเดือนพฤศจิกายนและช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหนาแน่นต่ำในช่วง 16,888-29,402 ตัว/ลูกบาศก์เมตร การศึกษาความยาวลำตัว (prosome length) และปริมาตรชีวภาพ (biovolume) พบว่าโคพีพอดเพศเมียเกือบทุกชนิดมีความยาวลำตัวและปริมาตรชีวภาพสูงกว่าเพศผู้ ยกเว้นโคพี-พอดชนิด Acartia erythraea ที่เพศผู้มีความยาวลำตัวและปริมาตรชีวภาพสูงกว่าเพศเมีย ปัจจัยสิ่งแวดล้อมบริเวณเกาะสีชังใน พ.ศ. 2559 มีความแปรปรวนแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา โดยปัจจัยสิ่งแวดล้อมหลักที่มีอิทธิพลต่อประชาคมโคพีพอด ได้แก่ ความเค็ม, ปริมาณของแข็งละลาย และปริมาณออกซิเจนละลาย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Community structure of planktonic copepods; diversity, prosome length and biovolume; in the coastal areas of Sichang Island, Chonburi province was studies in 3 years; inter-monsoon-II (October 2008), inter-monsoon-II (October and November 2011), northeast monsoon (January 2016), inter-monsoon-I (April 2016), southwest monsoon (July 2016) and inter-monsoon-II (November 2016). In copepod species; mesoplankton; was highest in 2016 (15 species), followed in 2011 (8 species) and 2008 (5 species), while microplanktonic copepod species was highest in NE monsoon (18 species). Copepod density was highest in 2016, followed in 2011 and 2008. Similar high meso-copepod density in inter-monsoon-I and SW monsoon (619-678 ind./m3). Similar low meso-copepod density in NE monsoon and inter-monsoon-II (298-397 ind./m3). Micro-copepod density was similar pattern in meso-copepod; high density in inter-monsoon-I and SW monsoon (92,417-108,142 ind./m3), while low density in NE monsoon and inter-monsoon-II (16,888-29,402 ind./m3). Prosome length and biovolume of female copepods were higher than male, except one species; Acartia erythraea was higher than female. Salinity, Total dissolved solids (TDS) and dissolved oxygen (DO) were major environmental factors influence on copepod community.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รัตนานุพงศ์, วดีพร, "ความสัมพันธ์ระหว่างประชาคมโคพีพอดและปัจจัยสิ่งแวดล้อม บริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1764.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1764