Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of high-intensity intermittent training in normobaric hypoxic environment on aerobic and anaerobic performance in varsity futsal players
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
วันชัย บุญรอด
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.1237
Abstract
วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการออกกำลังกายในสภาวะที่มีปริมาณออกซิเจนที่แตกต่างกัน และเพื่อศึกษาผลระยะยาวของการฝึกแบบหนักสลับพักความหนักสูงในสภาวะออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางแอโรบิกและแอนแอโรบิกในนักกีฬาฟุตซอลระดับมหาวิทยาลัย โดยงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 การศึกษา ในการศึกษาที่ 1 นักกีฬาฟุตซอลระดับมหาวิทยาลัย เพศชาย จำนวน 16 คนอายุระหว่าง 18-22 ปี ทำการวิ่งสปริ๊นท์ไปกลับแบบซ้ำเที่ยว ระยะห่าง 5 เมตร จำนวน 3 เซ็ต เซ็ตละ 6 เที่ยว เที่ยวละ 10 วินาที ด้วยความพยายามสูงสุดที่ทำได้ สลับกับการพักแบบมีกิจกรรม 20 วินาที พักระหว่างเซ็ต 5 นาที ทำการทดลอง 4 ครั้ง โดยใช้วิธีการทดลองแบบถ่วงดุลลำดับเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์โดยมีค่าออกซิเจนที่ต่างกันในแต่ละครั้ง (FIO2 = 20.9%, 14.5%, 13.5% และ 12.5%) วัดค่าระบบการหายใจและระบบไหลเวียนเลือด คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ปริมาณแลคเตทในเลือด จำนวนการสปริ๊นท์ที่สำเร็จ และการประเมินการรับรู้ความเหนื่อย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ชนิดวัดซ้ำ เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของบอนเฟอร์โรนี่ ผลการศึกษาครั้งที่ 1 ใช้ในการกำหนดสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำในการศึกษาที่ 2 โดยพิจารณาจากความเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นในจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณแลคเตทในเลือดและคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ แล้วจึงพิจารณาถึงความปลอดภัยในการนำไปใช้จากค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ในการศึกษาที่ 2 ผู้เล่นฟุตซอลระดับมหาวิทยาลัย เพศชาย จำนวน 22 คน อายุระหว่าง 18 - 22 ปีแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้วิธีการจับคู่ตามคะแนนการทดสอบพลังแบบแอนแอโรบิก คือ กลุ่ม Hypoxic (ทำการฝึก FIO2 = 13.5%) และกลุ่มควบคุม (ทำการฝึก FIO2 = 20.9%) ผู้เข้าร่วมทำการฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยทำการวิ่งสปริ๊นท์ไปกลับแบบซ้ำเที่ยว ระยะห่าง 5 เมตร จำนวน 3 เซ็ต เซ็ตละ 6-10 เที่ยว (เพิ่ม 2 เที่ยวทุกๆ 2 สัปดาห์) เที่ยวละ 10 วินาที ด้วยความพยายามสูงสุดที่ทำได้ สลับกับการพักแบบมีกิจกรรม 20 วินาที พักระหว่างเซ็ต 5 นาที ทำการทดสอบก่อนและหลังการฝึกในตัวแปรที่เกี่ยวกับความสามารถที่แสดงออกทางแอโรบิกและแอนแอโรบิก นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การเปรียบเทียบผลการทดลองโดยการทดสอบค่า”ที กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า: 1. ในการศึกษาที่ 1 ปริมาณแลคเตทในเลือดหลังการออกกำลังกายในเซ็ตที่ 3 มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) ใน FIO2 12.5% (10.4 ± 2.1 มิลลิโมลต่อลิตร) เมื่อเปรียบเทียบกับ FIO2 20.9%, 14.5% และ 13.5% (5.0 ± 1.6, 7.8 ± 1.5 และ 9.4 ± 1.9 มิลลิโมลต่อลิตรตามลำดับ) คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเมื่อเทียบกับ FIO220.9% มีการลดลง 34.1% ใน FIO2 12.5% ในขณะที่สภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำ 14.5% และ 13.5% มีการลดลงของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ 14.1% และ 18.6% ตามลำดับ และพบว่าค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดมีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p <0.05) ใน FIO2 12.5% (73.7 ± 3.4%) เมื่อเปรียบเทียบกับ FIO2 20.9%, 14.5% และ 13.5% (95.1 ± 1.8, 81.1 ± 2.1 และ 79.1 ± 2.4% ตามลำดับ) นอกจากนี้ในสภาวะปริมาณออกซิเจนที่ลดต่ำลง จำนวนการสปริ๊นท์ที่สำเร็จมีการลดต่ำลง อัตราการเต้นของหัวใจ การระบายอากาศหายใจต่อนาที และระดับการรับรู้ความเหนื่อยเพิ่มสูงขึ้น ข้อสรุปสำหรับการศึกษาครั้งที่ 1 FIO2 13.5% เป็นสภาวะที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้ทำการฝึกแบบหนักสลับพักความหนักสูงด้วยการวิ่งสปริ๊นท์ไปกลับแบบซ้ำเที่ยว แม้ว่าหากพิจารณาจากตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความเมื่อยล้า FIO2 13.5% จะมีการตอบสนองที่น้อยกว่า FIO2 12.5% แต่เนื่องจากใน FIO2 12.5% ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดจะลดต่ำลงไปมากกว่า 75% ซึ่งเป็นระดับที่อาจเกิดอันตรายกับนักกีฬาขณะทำการฝึกเป็นอย่างมาก การนำ FIO2 13.5% ไปใช้ทำการฝึกจึงมีความปลอดภัยมากกว่า 2. ในการศึกษาที่ 2 กลุ่มที่ฝึกในสภาวะออกซิเจนต่ำมีพัฒนาความสามารถที่แสดงออกทางแอโรบิกในตัวแปรเรื่องความอดทนแบบหนักสลับพัก และความสามารถที่แสดงออกทางแอนแอโรบิกในตัวแปรความสามารถสูงสุดทางแอนแอโรบิกซึ่งมีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) นอกจากนี้ค่า VO2max จุดกั้นแอนแอโรบิก เวลาจากการทดสอบบรูซโปรโตคอล และพลังแบบแอนแอโรบิกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับข้อมูลก่อนการทดลอง (p <0.05) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม (p <0.05) นอกจากนี้เปอร์เซ็นต์ดัชนีความล้าในกลุ่มที่ฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับข้อมูลก่อนการทดลอง ข้อสรุปสำหรับการศึกษาครั้งที่ 2 คือ การฝึกแบบหนักสลับพักความหนักสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติมีการพัฒนาความสามารถที่แสดงออกทางแอโรบิกและความสามารถที่แสดงออกทางแอนแอโรบิกได้ดีกว่าการฝึกในสภาวะออกซิเจนปกติ ซึ่งบ่งชี้ว่าการฝึกในลักษณะนี้สามารถนำมาใช้เป็นรูปแบบการฝึกเพื่อพัฒนานักกีฬาฟุตซอลในระดับมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The main objective of the present study was to determine acute and chronic effects of high-intensity intermittent training in normobaric hypoxic environment on aerobic and anaerobic performance in varsity futsal players. This research was divided into 2 studies. In study 1, using a counterbalanced design, 16 male university-level futsal players, aged 18 - 22 years, performed 3 sets of repeated sprint shuttles (6 × 10 s) over a 5m distance with 20 s active rest between reps and 5 min active rest between sets. Participants completed 4 trials in a random order over 4 weeks with different inspired oxygen fractions for each trial (FIO2 = 20.9%, 14.5%, 13.5% and 12.5%). The Measurements of cardiorespiratory, oxygen saturation, electromyography, blood lactate concentration, number of completed sprints, and rating of perceived exertion were assessed. ANOVA with repeated measures followed by Bonferroni multiple comparisons was used to analyze the data. The results from the 1st study were used to set hypoxic environment for study 2. In study 2, 22 male university-level futsal players, aged 18 - 22 years, were divided into 2 groups based on matching group method: Hypoxic group (trained in FIO2 = 13.5%) and control group (trained in FIO2 = 20.9%). Participants performed same exercise as the 1st study, 3 times per week for 6 weeks but repetition increased 2 reps every 2 weeks. Pre- and post-training measurements included anaerobic performance and aerobic performance. The obtained data were analyzed in terms of means and standard deviation. Paired t-test and Independent sample t-test were employed for statistical significance (p < .05) The results and conclusion of the present study were as follows: 1. For the study 1, after set3, blood lactate concentration was substantially higher in the 12.5% FIO2 (10.4 ± 2.1 mmol/L) compared to normoxia, 14.5% or 13.5% condition (5.0 ± 1.6, 7.8 ± 1.5, and 9.4 ± 1.9 mmol/L, respectively). Compared to normoxia, the EMG signal was 34.1% lower in the 12.5% condition, 14.1% and 18.6% lower in the 14.5% and 13.5% oxygen condition respectively. Moreover, SpO2 in 12.5% after set3 was substantially lower (73.7 ± 3.4%) compared to normoxia, 14.5% or 13.5% condition (95.1 ± 1.8, 81.1 ± 2.1, and 79.1 ± 2.4%, respectively). Overall the lower FIO2 conditions produced lower in number of sprints, and highest heart rate, ventilation and rating of perceived exertion levels. In conclusion for the 1st study, FIO2 13.5% is suitable condition for high-intensity intermittent training. Although, at FIO2 13.5% was lower in benefitcial responses than FIO2 12.5% but at FIO2 12.5% had lower in SpO2 that might be harmful from insufficient oxygen to athletes. Thus, FIO2 13.5% was an appropriate choice and selected to use in study 2. 2. For the study 2, hypoxic group had significantly greater in intermittent endurance and anaerobic capacity than the control group (p<0.05). VO2max, Anaerobic Threshold, Bruce protocol total time, Anaerobic power showed a significant increase when compared to the pre - experimental data but no significant differences between hypoxic group and control group (all p<0.05). Moreover, only percent fatigue index showed a significant decrease when compared to the pre - experimental data. In conclusion for the 2nd study, training with high-intensity intermittent training in normobaric hypoxic condition had greater effects in aerobic and anaerobic performance than training in normoxic condition. This indicated that high-intensity intermittent training in normobaric hypoxic condition could be used as a beneficial training model for varsity futsal players.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ขาวสนิท, ภัทราวุธ, "ผลของการฝึกแบบหนักสลับพักความหนักสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางแอโรบิกและแอนแอโรบิกในนักกีฬาฟุตซอลระดับมหาวิทยาลัย" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1727.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1727