Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effect of different inter-repetition rest periods of power-endurance training on bench press throw in amateur boxers

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

ทศพร ยิ้มลมัย

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.1214

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกพลังอดทนที่มีเวลาพักระหว่างครั้งแตกต่างกันที่มีต่อ ความสามารถสูงสุดของการออกแรงในท่านอนดันในนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการครั้งนี้ เป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นเพศชายในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 18 คน อายุระหว่าง 15-18 ปี ซึ่งได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ก่อนทำการทดลอง กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการฝึกด้วยแรงต้านที่ความหนัก 60% ของ 1 RM 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาความแข็งแรงและให้คุ้นเคยกับการออกกำลังกายด้วยแรงต้าน หลังจากนั้นทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มๆละ 6 คน กลุ่มทดลองที่ 1 (G1) ฝึกโปรแกรมพลังอดทนแบบต่อเนื่อง 20 ครั้ง ที่ระดับความหนัก 30% ของ 1 RM โดยไม่มีเวลาพัก ในท่านอนดัน กลุ่มทดลองที่ 2 (G2) และกลุ่มทดลองที่ 3 (G3) ฝึกโปรแกรมพลังอดทนเหมือนกันแต่มีเวลาพักระหว่างครั้ง 2 วินาที และ 4 วินาที ตามลำดับ กลุ่มทดลองทุกกลุ่มทำการฝึก 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ทำการวัดตัวแปรตามได้แก่ ความเร็วเฉลี่ยของบาร์ แรงเฉลี่ย และพลังอดทนในท่านอนดัน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี่ และวิเคราะห์ผลการทดสอบก่อนและหลังการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าที ผลการวิจัย ก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มมี อายุ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย และความแข็งแรงสัมพัทธ์ ในท่านอนดันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และไม่พบความแตกต่างของความเร็วเฉลี่ยของบาร์ที่ระดับความหนัก 15%, 30% และ 40% ของ 1 RM ระหว่างทั้งสามกลุ่ม อย่างไรก็ตามกลุ่ม G3 มีค่าพลังอดทนที่ระดับความหนัก 30% ของ 1 RM สูงกว่ากลุ่ม G2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าแรงเฉลี่ย และพลังอดทนที่ระดับความหนัก 30% และ 40% ของ 1 RM ในแต่ละกลุ่มทดลอง มีค่ามากกว่า ที่ระดับความหนัก 15% ของ 1 RM อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ ความเร็วเฉลี่ยของบาร์, แรงเฉลี่ย และพลังอดทนที่ระดับความหนัก 15% และ 30% ของ 1RM มีค่าเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกกลุ่มทดลอง โดยเฉพาะในกลุ่ม G1 และ G2 มีเปอร์เซ็นต์การพัฒนาที่มีแนวโน้มดีกว่าในกลุ่ม G3 สรุปผลการวิจัย การฝึกพลังอดทนที่ระดับความหนัก 30% ของ 1RM ในท่านอนดันแบบต่อเนื่อง และแบบมีเวลาพักระหว่างครั้ง 2 วินาที มีการพัฒนาความเร็วเฉลี่ยของบาร์, แรงเฉลี่ย และ พลังอดทนดีกว่าแบบมีเวลาพักระหว่างครั้ง 4 วินาที ผลการทดลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการฝึกพลังอดทนของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นระดับเยาวชนได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study was to compare effects of different inter-repetition rest periods of power-endurance training on bench press throw in amateur boxers.Eighteen male amateur boxers, age between 15-18 years old, from Suphanburi Sport School participated in this study. Before the experiment, all subjects underwent a resistance training program at a load of 60% 1RM, twice a week for two weeks for familialization. Thereafter, the participants were randomly assigned into three experimental groups matched by 1RM bench press. The first group (G1) performed a power-endurance program consisted of 20 repetitions at a load of 30% 1RM with continuous repetitions. The second (G2) and third (G3) group performed an identical training program but with 2 and 4 seconds inter-repettions rest periods, respectively. Each group continued to train twice a week for a total of 6 weeks. Average barbell velocity, force production, and power-endurance during a bench press throw were measured before and after 6 weeks of training. Data were expressed as means ± S.D. and were analyzed using One-way ANOVA analysis for physical characteristic and One-way ANCOVA for barbell velocity, force, and power-endurance followed by Bonferroni post- hoc test. The statistical significant was set at p-value < .05 Results:There were no significant differences in age, body weight, body mass index, and relative bench press strength among three groups. However, a significant higher (P< .05) power-endurance was observed at a load of 30% 1RM in G3 than that in G2. No differences in average barbell velocity were observed at 15%, 30% and 40% 1RM among three group. Nevertheless, average force and power-endurance were higher (p< .05) at loads of 30% and 40% 1RM compared with 15% 1RM in each group. After 6 weeks of training, Average barbell velocity, average force and power-endurance were significantly improved (p< .05) at loads of 15% and 30% 1RM, but not 40% 1RM, in all three groups, with a greater of magnitude observed in G1 and G2. Conclusion: Our results demonstrated that power-endurance training with a continuous and 2 second inter-repettions have favorable effects on average barbell velocity, average force, and power-endurance during a bench press throw and could therefore be used as an adjunctive exercise program for improving power-endurance in young amateur boxers.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.