Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
CCNA1 promoter methylation and association with Helicobacter Pylori and Epstein-Barr virus infection in multistep of gastric carcinogenesis
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
สมบูรณ์ คีลาวัฒน์
Second Advisor
นครินทร์ กิตกำธร
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การแพทย์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.1204
Abstract
ปัจจุบันมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นสาเหตุหนึ่งของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตในประชากรโลกรวมถึงในประเทศไทย กระบวนการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารเริ่มต้นจากเซลล์ปกติได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ ส่งผลให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นโดยเริ่มจากเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารปกติจนกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารในที่สุด การศึกษาในต่างประเทศพบว่าปัจจัยการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารมีอยู่หลายปัจจัย เช่น อายุ เพศ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการบริโภคอาหารบางชนิด รวมไปถึงการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร และไวรัสเอ็บสไตบาร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงระดับเมทิลเลชันบริเวณโปรโมเตอร์ของยีน CCNA1 ในเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยในเนื้อเยื่อมะเร็งกระเพาะอาหารมีระดับโปรโมเตอร์เมทิลเลชันของยีน CCNA1 สูงกว่าในกระเพาะอาหารปกติอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับในประเทศไทยมีการศึกษาการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ในกระบวนการก่อมะเร็งกระเพาะอาหารไม่มากนัก นอกจากนี้ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการเกิดโปรโมเตอร์เมทิลเลชันของยีน CCNA1 และการติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ในกระบวนการก่อมะเร็งกระเพาะอาหาร งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดโปรโมเตอร์เมทิลเลชันของยีน CCNA1 ในกระบวนการก่อมะเร็งกระเพาะอาหาร รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโปรโมเตอร์เมทิลเลชันของยีน CCNA1 กับการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร และไวรัสเอ็บสไตบาร์ในรอยโรคระยะต่างๆ ของกระบวนการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยทำการตรวจสอบการเกิดโปรโมเตอร์เมทิลเลชันของยีน CCNA1 การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร และการติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ จากตัวอย่างชิ้นเนื้อกระเพาะอาหารในพาราฟินบล็อกด้วยเทคนิค real-time PCR การย้อม giemsa และปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส ตามลำดับ ผลการตรวจสอบพบว่าการเกิดโปรโมเตอร์เมทิลเลชันของยีน CCNA1 สามารถจำแนกกระเพาะอาหารที่มีความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็ง และมะเร็งกระเพาะอาหารออกจากกระเพาะอาหารปกติได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโปรโมเตอร์เมทิลเลชันของยีน CCNA1 กับการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร และไวรัสเอ็บสไตบาร์ในทุกระยะของรอยโรค จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Pearson's chi-square test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยสรุปโปรโมเตอร์เมทิลเลชันของยีน CCNA1 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการคัดแยกผู้ป่วยที่กระเพาะอาหารมีความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็ง และผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารออกจากคนปกติได้ แต่ในส่วนของกลไก และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องยังคงต้องมีการศึกษาต่อไป
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Gastric adenocarcinoma is one of serious cause of illness and mortality in global population as well as in Thailand. Gastric carcinogenesis tissues include various stages; normal gastric tissue, chronic gastritis, intestinal metaplasia, dysplasia and gastric adenocarcinoma respectively. Previous studied reported that there were many factors related to gastric adenocarcinoma development such as; age, sex, smoking, alcohol consumption and some kind of food as well as Helicobacter pylori (H. pylori) and Epstein-Barr virus (EBV) infection. In addition, molecular studied showed that high level of CCNA1 promoter methylation found in gastric adenocarcinoma comparing to normal gastric tissue. In Thailand, there were few studies about H. pylori infection in gastric carcinogenesis tissues and no study about CCNA1 promoter methylation and EBV infection in gastric carcinogenesis tissues. So, the aims of this study was to evaluate CCNA1 promoter methylation in gastric carcinogenesis tissues and correlate CCNA1 promoter methylation with H. pylori and EBV infection in multistep of gastric carcinogenesis tissues. The results from real-time PCR showed that CCNA1 promoter methylation can be distinguished gastric cancer and gastric dysplastic lesions from normal gastric tissue, chronic gastritis and intestinal metaplasia. However, the Pearsons chi-square test reported that there are no significant in association (p-value > 0.05) between the CCNA1 promoter methylation and H. pylori and EBV infection. In conclusion, CCNA1 promoter methylation can be differentiated premalignant and gastric adenocarcinoma from non-cancer lesions. However, mechanisms and factors involving should be further studied.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ฐิติวณิชภิวงศ์, พิชญา, "การศึกษาระดับโปรโมเตอร์เมทิลเลชันของยีน CCNA1 กับความสัมพันธ์ของการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร และไวรัสเอ็บสไตบาร์ ในรอยโรคระยะต่างๆ ของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1694.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1694