Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Thai nationalism and territorial dispute : a comparative study of the field marshal Plaek Phibulsongkram and the Abhisit Vejjajiva governments
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
สุรชาติ บำรุงสุข
Faculty/College
Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)
Degree Name
รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
รัฐศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.1187
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลของแนวคิดชาตินิยมต่อการใช้กำลังทหารในปัญหาข้อพิพาทเรื่องดินแดนของไทยในสมัยรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม พ.ศ.2481-2484 และรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พ.ศ.2551-2554 ว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไรเนื่องจากในสมัยรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม แนวคิดชาตินิยมมีอิทธิพลจนนำไปสู่สงครามอินโดจีนพ.ศ.2484 ในขณะที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นเพียงการปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการวิจัยเอกสารและนำแนวคิดชาตินิยมมาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวทางการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่าแนวคิดชาตินิยมมีอิทธิพลต่อการใช้กำลังทหารในปัญหาข้อพิพาทเรื่องดินแดนทั้งสองสมัยแตกต่างกันเนื่องจากเงื่อนไขภายในประเทศ คือ สภาพการเมืองภายในประเทศที่มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพอย่างมาก รัฐบาลสามารถควบคุมอำนาจการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายต่างประเทศในการใช้กำลังทหารผนวกดินแดนที่เป็นข้อพิพาทได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มการเมืองอื่นๆ ที่ออกมาคัดค้าน กอรปกับกลุ่มการเมืองชาตินิยมที่สนับสนุนมาตรการทางทหารเป็นตัวแสดงในอำนาจรัฐที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายต่างประเทศโดยตรงส่งผลให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศมีทิศทางในการใช้กำลังทหารและนำไปสู่สงครามระหว่างประเทศในที่สุด ส่วนเงื่อนไขภายนอกประเทศ คือ การที่ประเทศคู่พิพาทกำลังเผชิญปัญหาความมั่นคงทางทหาร ดังเช่นกรณีที่ฝรั่งเศสถูกเยอรมนีโจมตีในสงครามโลกครั้งที่สองได้เอื้อให้รัฐบาลไทยตัดสินใจใช้กำลังทหารและทำสงครามในปัญหาข้อพิพาทเนื่องจากรัฐบาลประเมินสถานการณ์แล้วพบว่าประเทศไทยมีโอกาสชนะสงคราม ดังนั้นเงื่อนไขภายในประเทศและภายนอกประเทศข้างต้นส่งผลให้แนวคิดชาตินิยมแสดงบทบาทและมีอิทธิพลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจนยกระดับไปสู่สงครามระหว่างประเทศในที่สุด
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This dissertation aims to compare the influence of Thai Nationalism on the use of force in territorial dispute between the Field Marshal Plaek Phibulsongkram and the Abhisit Vejjajiva Government and also analyze why do nationalist ideals led to the Indochina War in 1941, while the Abhisit Vejjajiva period is just a military clash along the Cambodian-Thai border. This study uses qualitative research methodology through document research and also apply nationalism concept in conjunction with international policy analysis. The findings reveal that the influence of Thai Nationalism on the use of force in territorial dispute between two periods are different because the internal and external conditions. The internal condition is the political stability in the country. The government can control the foreign policy decision-making power in territorial dispute without focus on other objection political groups. Moreover, the nationalist politicians, who support military measures, play a direct role in foreign policy decision-making. As a result, the government decided to use a military force and lead to international warfare. The external condition is the facing military security problem of the disputed country. In the case of Indochina War, France were attacked by Germany in World War II, the Thai government assessed the situation and found that Thailand has a chance to win the war. To conclude that the internal and external conditions have contributed Thai nationalism concept plays a role and influence on territorial dispute effectively and also elevate it to international warfare.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ลิ่มสายหั้ว, ดาวราย, "ชาตินิยมไทยกับข้อพิพาทเรื่องดินแดน : ศึกษาเปรียบเทียบรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1677.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1677