Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

RESPONDING STRATEGIES TO VERBAL IRONY IN THAI: A CASE STUDY OF SPEAKERS OF EQUAL STATUS

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Department (if any)

Department of Thai (ภาควิชาภาษาไทย)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ภาษาไทย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.1153

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันในภาษาไทย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันในภาษาไทย กับปัจจัยเรื่องชนิดของถ้อยคำนัยผกผัน และปัจจัยเรื่องเพศ ในกรณีที่คู่สนทนามีสถานภาพเท่ากัน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากคำตอบในแบบสอบถามแบบเติมเต็มบทสนทนาชนิดให้เขียนตอบ (Written Discourse Completion task หรือ WDCT) ซึ่งประกอบด้วยสถานการณ์ที่มีการใช้ถ้อยคำนัยผกผัน 10 สถานการณ์ แบ่งเป็นสถานการณ์ที่มีการใช้ถ้อยคำนัยผกผันแบบประชดประชัน (sarcastic irony) และสถานการณ์ที่มีการใช้ถ้อยคำนัยผกผันแบบหยอกล้อ (humourous irony) กรณีละ 5 สถานการณ์ กลุ่มตัวอย่าง เพศชาย 200 คน เพศหญิง 200 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน และข้อมูลจากการบันทึกการสนทนาในชีวิตประจำวันแบบเผชิญหน้า จำนวน 20 สถานการณ์ ผลการวิจัยพบว่า การตอบถ้อยคำนัยผกผันในภาษาไทยมี 3 รูปแบบตามลำดับความถี่ในการปรากฏ ได้แก่ การตอบคู่สนทนาโดยใช้ถ้อยคำ การตอบคู่สนทนาโดยวิธีอื่น และการไม่ตอบคู่สนทนา กลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันแบบประชดประชันโดยใช้ถ้อยคำ แบ่งเป็น 5 กลวิธีใหญ่ 13 กลวิธีย่อย เรียงตามลำดับความถี่ ได้แก่ 1) กลวิธีการตอบแบบสุภาพ ประกอบด้วย 3 กลวิธีย่อย ได้แก่ การขอโทษ การชี้แจงเหตุผล และการแสดงความรับผิดชอบ การหยอกล้อ 2) กลวิธีการตอบกลับแบบไม่สุภาพ ประกอบด้วย 5 กลวิธีย่อย ได้แก่ การใช้ถ้อยคำนัยผกผันแบบประชดประชัน การบริภาษด้วยคำหยาบ การตำหนิ การตักเตือน และการปฏิเสธ 3) กลวิธีการหยอกล้อกลับไป ประกอบด้วย 2 กลวิธีย่อย ได้แก่ การใช้ถ้อยคำนัยผกผันแบบหยอกล้อ และการหยอกล้อ 4) กลวิธีการพยายามยุติการสนทนา ประกอบด้วย 2 กลวิธีย่อย คือ การตอบแบบสั้น และการเปลี่ยนประเด็นสนทนา และ 5) กลวิธีการถามย้ำเจตนาผู้พูด ส่วนกลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันแบบหยอกล้อโดยใช้ถ้อยคำ แบ่งเป็น 4 กลวิธีใหญ่ 11 กลวิธีย่อย เรียงตามลำดับความถี่ ได้แก่ 1) กลวิธีการหยอกล้อกลับไป ประกอบด้วย 3 กลวิธีย่อย ได้แก่ การใช้ถ้อยคำนัยผกผันแบบหยอกล้อ การหยอกล้อ การใช้คำหยาบเพื่อแสดงความสนิทสนม 2) กลวิธีการตอบแบบสุภาพ ประกอบด้วย 3 กลวิธีย่อยเช่นกัน ได้แก่ การชี้แจงเหตุผล การขอโทษ และการแสดงความรับผิดชอบ 3) กลวิธีการพยายามยุติการสนทนา ประกอบด้วย 3 กลวิธีย่อย ได้แก่ การตอบแบบสั้น การห้ามไม่ให้หยอกล้อ และการเปลี่ยนประเด็นสนทนา และ 4) กลวิธีการตอบแบบไม่สุภาพ ประกอบด้วย 2 กลวิธีย่อย ได้แก่ การตักเตือน และการปฏิเสธ เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันกับปัจจัยเรื่องชนิดของถ้อยคำนัยผกผันพบว่า ปัจจัยชนิดของถ้อยคำนัยผกผันมีผลต่อการเลือกกลวิธีทางภาษาในการตอบถ้อยคำนัยผกผัน สาเหตุเพราะจุดประสงค์ของถ้อยคำนัยผกผันทั้งสองชนิดแตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบพบว่า การตอบถ้อยคำนัยผกผันแบบประชดประชันใช้กลวิธีการตอบแบบสุภาพเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่การตอบถ้อยคำนัยผกผันแบบหยอกล้อใช้กลวิธีหยอกล้อกลับไปเป็นส่วนใหญ่ และความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันกับปัจจัยเรื่องเพศพบว่า เพศมีผลต่อกลวิธีการตอบถ้อยคำนัยผกผันทั้งสองชนิดเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น กล่าวคือ กลวิธีส่วนหนึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปรากฏค่า p ต่ำกว่าระดับนัยสำคัญที่ 0.05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research had the primary objectives to study the strategies of responding to irony in Thai and analyze the relationship between responding strategies and factors concerning the types of irony and gender in the case study of interlocutors of equal status. Data used in this research were elicited from a sample of 400 respondents, of which 200 were male and 200 were female. The sample were asked to complete the Written Discourse Completion Test (WDCT), which consisted of 10 situations where sarcastic irony was used and five situations where humorous irony was used. In addition, data were elicited from naturally occurring in 20 situations. According to the results, the responding strategies to irony in Thai language can be categorized into verbal response, non-verbal response, and no response, based on the order of frequency. The responding strategy to sarcastic irony by means of verbal response can be further divided into five major strategies and 13 sub-strategies, ranking in the order of frequency as follows: 1) Polite strategy, which comprises three sub-strategies, namely the act of apologizing, reasoning, and taking responsibilities. 2) Impolite strategy, which consists of five sub-strategies, namely the use of sarcastic irony, invective, reprimand, warning, and rejection. 3) Humorous strategy, which comprises two sub-strategies, namely the use of humorous irony and pleasantry. 4) Conversation-terminating strategy, which encompasses two sub-strategies, namely short responses and digression from the topic of conversation. 5) Intention-checking strategy. Meanwhile, the responding strategy to humorous irony by means of verbal response can be classified into four main strategies and 11 sub-strategies, ranking in the order of frequency as follows: 1) Humorous strategy, which comprises three sub-strategies, namely the use of humorous irony, pleasantry, and profanity to express intimacy. 2) Polite strategy, which consists of three sub-strategies, namely the act of apologizing, reasoning, and taking responsibilities. 3) Conversation-terminating strategy, which encompasses three sub-strategies, namely short responses, prohibition of the use of pleasantry, and digression from the topic of conversation. 4) Impolite strategy, which consists of two sub-strategies, namely warning and rejection. Upon consideration of the relationship between responding strategies and factors concerning the types of irony, it was evident that the types of irony had an effect on the adoption of the responding strategies, which was accounted for by the differences in the objectives of the two types of irony. According to the results of comparison, the most common responding strategy to sarcastic irony was polite strategy. On the other hand, humorous strategy was the most common strategy of responding to humorous irony. Regarding the relationship between responding strategies and gender, it was found that gender had a partial effect on the adoption of the responding strategies to both types of irony. In other words, there were statistically significant differences in the responding strategies at a p-value of less than 0.05.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.