Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

THE EFFECT OF FAMILY SUPPORT PROGRAM ON DEPRESSIVE SYMPTOMS IN FIRST-EPISODE SHCIZOPHRENIC PATIENTS

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

จินตนา ยูนิพันธุ์

Faculty/College

Faculty of Nursing (คณะพยาบาลศาสตร์)

Degree Name

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

พยาบาลศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.1123

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางจิตครั้งแรก ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนจากครอบครัว 2) อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางจิตครั้งแรกระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนจากครอบครัว กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางจิตครั้งแรก ที่เข้ารับบริการแผนกหอผู้ป่วยนอกสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 40 คู่ ได้รับการจับคู่ผู้ป่วยจิตเภทด้วยเพศ และจับคู่ครอบครัวผู้ป่วยด้วยระยะเวลาการดูแลผู้ป่วย และจับคู่เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คู่ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนจากครอบครัว กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการสนับสนุนจากครอบครัว แบบประเมินเกี่ยวกับแหล่งสนับสนุนทางสังคม แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของญาติ และแบบประเมินอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของแบบประเมินอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางจิตครั้งแรกหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนจากครอบครัวต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการทางจิตครั้งแรกที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนจากครอบครัวต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of quasi-experimental research were: 1) to compare depressive symptoms in first- episode schizophrenic patients before and after received family support program, and 2) to compare depressive symptoms in first - episode schizophrenic patients who received family support program and those who received regular nursing care. The sample consisted of 40 first - episode schizophrenic patients, receiving services in out-patient department, Galya Rajanagarindra Institute. They were matched-pair by patients’ sex and family income, and, then equally randomly assigned into an experimental group and a control groups. The experimental group received the family support program, whereas the control group received regular nursing care. Research instruments included 1) a nurses’ of the family support program, depression assessment in schizophrenic patients, social support scale, test of caregivers’ knowledge about schizophrenic care. All instruments were content validated by a panel of 5 professional experts. The Cronbach's alpha coefficient reliability of the depression assessment was .93 Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The research conclusion were: 1) Depressive symptoms in first- episode schizophrenic patients after receiving family support program was significantly lower than that before the experiment, at the .05 level. 2) Depressive symptoms in first- episode schizophrenic patients after receiving family support program was significantly lower than those who received regular nursing care, at the .05 level.

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.