Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
APPROACHES FOR SMALL-SIZED PRIMARY SCHOOL TEACHERS DEVELOPMENT IN CENTRAL VICINITY PROVINCES BASED ON THE CONCEPT OF ACTION LEARNING AND INTEGRATED LEARNING MANAGEMENT
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
ชญาพิมพ์ อุสาโห
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
บริหารการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.993
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาครู ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 178 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลมีจำนวนทั้งสิ้น 123 โรงเรียนผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 102 คน และครูจำนวน 249 คน รวมทั้งสิ้น 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวนทั้งสิ้น 2 ชุด คือ แบบสอบถามาตรประมาณค่า และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมากที่สุดตามลำดับ (สภาพปัจจุบัน = 4.015, SD = 0.749 สภาพที่พึงประสงค์ = 4.602, SD = 0.583) 2) ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูที่สูงสุดคือ การประเมินผลการพัฒนาครู (PNImodified = 0.146) 3) แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 5 แนวทางดังนี้ 1) พัฒนาครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโดยเน้นผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาของผู้เรียน 2) พัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูในกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติโดยเน้นการสะท้อนคิดเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 3) พัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยเน้นการจัดประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียนเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 4) ปรับปรุงการประเมินผลการพัฒนาครูโดยเน้นการประเมินผล 3 ลักษณะ 5) ปรับปรุงการนำแผนพัฒนาครูไปปฏิบัติโดยเน้นการพัฒนาครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในด้านการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานเป็นกลุ่มอย่างหลากหลายร่วมมือรวมพลังเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were: 1) to study the current and desirable states of small-sized primary school teacher development in central vicinity provinces base on the concept of action learning and integrated learning management; 2) to analyze the need of small-sized primary school teacher development; 3) to propose the approaches for small-sized primary school teacher development. The research method was descriptive research. The population of this research were 178 small-sized primary schools under Office of the Basic Education Commission. The sample of this research were 123 small-sized primary schools. The research instrument were questionnaire and assessment tools. The frequency, percentage, mean, standard deviation, priority need index, mode and content analysis were used for data analysis. The research findings showed that 1) the current and desirable states of small-sized primary school teacher development in central vicinity provinces base on the concept of action learning and integrated learning management were at an overall high level and highest level respectively (the current state = 4.015, SD = 0.749 the desirable state = 4.602, SD = 0.583) 2) the need of small-sized primary school teacher development is Evaluation the Personnel Development Program (PNImodified = 0.146) 3) the approaches for small-sized primary school teacher development in central vicinity provinces based on the concept of action learning and integrated learning management consisted of 5 approaches: 1) to develop teachers for improving student academic achievement about critical thinking, discussion and problem solving; 2) to develop teachers for enhancing their ability to reflect about student academic achievement; 3) to develop teachers for enhancing their ability to integrate learning management by emphasizing giving direct experience to student for improving student academic achievement; 4) to rectify evaluation of the personnel development program by emphasizing evaluation in 3 types; 5) to rectify implementation of the development program about integrating learning management that supports students to collaborate in group for improving their academic achievement.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อ่วมเพ็ง, กมลพร, "แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1483.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1483