Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
EXPOSURE, BEHAVIOR AND DEMAND OF THAI TELEVISION DRAMA SERIES AMONG MYANMAR AUDIENCES IN YANGON
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
พนม คลี่ฉายา
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิเทศศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.901
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้อง การชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมละครโทรทัศน์ชาวเมียนมาในนครย่างกุ้ง รวมถึงเพื่ออธิบายการเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนที่เป็นผู้ชมละครโทรทัศน์ไทยชาวเมียนมาในนครย่างกุ้งที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และชมละครโทรทัศน์ไทยภายในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับละครโทรทัศน์ไทยผ่านสื่อมวลชนโดยเฉลี่ยในระดับบางครั้ง แต่เปิดรับข่าวสารผ่านสื่อบุคคลและสื่อออนไลน์บ่อยๆ กลุ่มตัวอย่างชมละครโทรทัศน์ไทยที่บ้านผ่านทางโทรทัศน์มากที่สุด โดยมักชมเพียงคนเดียวเฉลี่ย 1 – 2 ชั่วโมง/วัน และชมช่วงเช้าเวลา 09.01 - 12.00 น. มากที่สุดทั้งในวันทำงานและวันหยุด ทั้งนี้ เวลาดังกล่าวตรงกับช่วงทีเบรก (Tea Break) และออกอากาศซ้ำของละครโทรทัศน์ไทย (Re-Run) นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยแบบบรรยายภาษาเมียนมาและคงเสียงภาษาไทยมากกว่าแบบพากย์ ต้องการนักแสดงนำที่แสดงละครสมบทบาทและมีหน้าตารูปร่างสวยงาม ต้องการละครโทรทัศน์ไทยที่มีเนื้อหาเรื่องราวสัมพันธ์กับชาวเมียนมา องค์ประกอบละครที่มีเค้าโครงเรื่องสุข เศร้า ตลก แก่นเรื่องที่ทำให้ได้ขบคิด และต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยแนวชีวิตรัก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ชมชาวเมียนมาที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกัน เปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับละครโทรทัศน์ไทยผ่านสื่อมวลชน สื่อออนไลน์ และสื่อบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ชมชาวเมียนมาเพศชายเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อมวลชนมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรับชมละครโทรทัศน์ไทย สรุปได้ว่า ผู้ชมชาวเมียนมาที่มีเพศและอายุต่างกัน มีความถี่ในการชมละครโทรทัศน์ไทยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ชมเพศหญิงมีความถี่ในการชมสูงกว่าเพศชาย ส่วนผู้ชมอายุ 56 ปีขึ้นไปมีความถี่ในการชมสูงกว่าผู้ชมอายุ 18 – 55 ปี ความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทย สรุปได้ว่า ผู้ชมชาวเมียนมาที่อายุต่างกันต้องการชมด้านองค์ประกอบละครและเนื้อหาเรื่องราวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ชมชาวเมียนมาที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ต้องการชมด้านดารานักแสดงนำ เนื้อหาเรื่องราว องค์ประกอบละคร และแนวละคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this research are to explore and explain about Media Exposure, Behavior, and Demand of Myanmar audiences in Yangon from different genders, ages, and education levels towards Thai television drama series. The research survey was conducted by using questionnaires in order to collect data from 400 Myanmar audiences who are 18 years old and over, live in Yangon, and watched Thai television drama series in the last 6 months. The result shows that, news about Thai television drama series are exposed to the Myanmar audiences through mass media sometime, but exposed through personal media and online media often. During weekday and weekend, the Myanmar audiences watch Thai television drama series at 09.01-12.00 o'clock, which is a "Tea Break" and a "Re-Run" time of for those series, and they watch the series 1–2 hours/day. Besides, they prefer watching with Myanmar subtitle and Thai sound, and prefer main actors with good performance and good looks. Moreover, they demand the contents that are related to the Myanmar, the happy-sad-funny plots, the considered themes, and Love Drama genres. The hypothesis testing shows that, Myanmar audiences who have different ages and education levels, differently receive the news of Thai television drama series from mass media, online media and personal media with the statistically significant value at the .05 level. The gender difference leads to the differences of exposure Thai television drama series news from mass media with statistically significant at the .05 level. For watching behavior, Myanmar audiences from different genders and ages also differently watch the series with the statistical significant value at the .05 level. The majority of audiences are female. And the audiences whose age are 56 years old and over, watch the series more than those who are younger (18 – 55 years old). For demand for watching, the audiences' age difference also leads to the different demand for the series' elements and contents that are related to the Myanmar, with the statistically significant value at the .05 level. Moreover, Myanmar audiences who have different education levels, also have different demand for main actors, series' elements, genres and contents that are related to Myanmar, with the statistically significant value at the .05 level.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กิจรุ่งไพศาล, กมลรัตน์, "การเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมชาวเมียนมาในนครย่างกุ้ง" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1391.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1391