Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

METHODS OF MAKING SAW-DUANG BY MASTER MANOCH PUDPONG

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์

Faculty/College

Faculty of Fine and Applied Arts (คณะศิลปกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Music (ภาควิชาดุริยางคศิลป์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ดุริยางค์ไทย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.844

Abstract

งานวิจัยเรื่อง กรรมวิธีการสร้างซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการสร้างซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง ศึกษากรรมวิธีการสร้างซอด้วงและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอด้วง โดยใช้วิธีในการเก็บข้อมูลลงศึกษาภาคสนามในฐานะลูกมือช่างเป็นเวลา 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่าช่างมาโนช ผุดผ่องได้เริ่มศึกษาการสร้างซอด้วงใจรักดนตรีไทยแต่ไม่มีโอกาสได้เรียน จึงเป็นแรงผลักดันให้ช่างมาโนชค้นคว้าศึกษาด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จในการสร้างซอด้วงเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ สถาบันการศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจที่จะมาศึกษาดูงานการสร้างซอ พันธุ์ไม้ที่ใช้ทำซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง มีทั้งหมด 5 ชนิด คือ ไม้มะเกลือ ไม้ชิงชัน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้แก้ว และไม้ดำดง การสร้างซอด้วงมีวัสดุและอุปกรณ์ทั้งหมด 45 ชนิด มีกรรมวิธีการสร้างทั้งหมด 8 ขั้นตอนคือ การเตรียมกระบอกซอด้วง การขึ้นหนังซอด้วง การกลึงคันทวนซอด้วง การกลึงลูกบิด การขึ้นหางม้า การกลึงคันชักซอด้วง การประกอบซอด้วง การแต่งเสียงซอด้วง ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง มี 5 ขั้นคือ 1. การกลึงกระบอกซอด้วงจะต้องใช้บุ้งตะไบด้านในให้ผิวไม่เรียบ 2.การใช้หนังงูที่มีขนาดตัวยาว 4 เมตรขึ้นไปและจะใช้เฉพาะช่วงหลังเท่านั้น 3. การขึ้นหางม้าจะให้หางม้ามีลักษณะแบนไม่กลม 4.การคัดเลือกหางม้า ช่างมาโนช ผุดผ่อง ช่างใช้หางม้าที่นำเข้าจากประเทศมองโกเลีย คุณสมบัติของหางม้านั้นมีเส้นขนที่หนากว่าม้าประเทศไทย 5.หย่อง มีขนาด 1 เซนติเมตร ช่างใช้ไม้ไผ่ที่ทำตะเกียบที่ผ่านการอมน้ำมันแล้วเพราะคุณสมบัติของไม้ไผ่ที่อมน้ำมันนั้น ช่วยให้เสียงซอมีความดังกังวาน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research is entitled Methods of making Saw-Duang by Master Manoch Pudpong, The purposes of the research is to study the history of Mr. Manoch Pudpong, making process a Saw-Duang, and the factors that affect the quality of the sound of a Saw-Duang. By to be a craftsman assistant for 6 months to collect practical information. The research result findings that show Mr. Manoch Pudpong started making a Saw-Duang by himself because of his passion; but he did not have an opportunity to study. So it was a motivation to push him to be achieved in the Saw-Duang making. He is now a Saw-Duang maker well known around the country. Many educational institutions take an interest to study about the Saw-Duang making. There are 5 kinds of wood for making the Saw-Duang of Mr. Manoch Pudpong. They are Diospyros wood, Rosewood, Burma Blackwood, Orange Jessamine, and Diospyros pubicalyx wood. There are 40 kinds of equipment, and 7 procedures including a preparing of the tube-shaped, making the open portion from leather, a bow turning, a knob turning, hair making, assembling parts of the Saw-Duang, and a sound tuning. There are 5 steps of the factors which affect the sound quality Mr. Manoch Pudpong’s Saw-Duang. 1) to use a rasp to rub the inner surface of the sound box, a using snakeskin which is 4 meters, 2) use only the back skin 3) use of horsetail hair which is not round-shape. 4) A choosing horsetail hair, Mr. Manoch Pudpong uses imported horsetail hair from Mongolia which are thicker than horsetail hair in Thailand. 5) Each anchor is long 1 centimeter. A craftsman uses bamboo which is soaked in oil because it helps the sound of a Saw to be resonance.

Included in

Music Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.