Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

EFFECTS OF TEACHING MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING USING PRODUCTIVE FAILURE METHOD ON MATHEMATICAL REASONING AND COMMUNICATION ABILITIES OF EIGHTH GRADE STUDENTS

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

ไพโรจน์ น่วมนุ่ม

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Curriculum and Instruction (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การศึกษาคณิตศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.765

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์กับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์แบบปกติ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์กับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์แบบปกติ และ 5) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ใบกิจกรรม และแบบบันทึกหลังสอน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจากความไม่สมบูรณ์มีพัฒนาการของความสามารถในการให้เหตุผลและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ดีขึ้น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were 1) to compare mathematical reasoning ability of students being taught mathematical problem solving by using productive failure method between, before and after learning., 2) to compare mathematical reasoning ability of students being taught mathematical problem solving between by using productive failure method and by conventional approach., 3) to compare mathematical communication ability of the students being taught mathematical problem solving by using productive failure method between, before and after learning., 4) to compare mathematical communication ability of students being taught mathematical problem solving between by using productive failure method and by conventional approach., and 5) to study development of the mathematical reasoning and communication ability of students being taught mathematical problem solving by using productive failure method. The subjects were eighth grade students of Takuapasenanukul school in the second semester of the academic year 2016. There were 35 students in the experimental group and 35 students in the control group. The instruments for data collection were mathematical reasoning ability tests, mathematical communication ability tests, work sheets and post instruction assessment. The quantitative data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The qualitative data were analyzed by content analysis. The results of the study revealed that: 1) the mathematical reasoning ability of students being taught mathematical problem solving by using productive failure method after learning were higher than those before at a .05 level of significance., 2) the mathematical reasoning ability of students being taught mathematical problem solving by using productive failure method were higher than those of the students being taught mathematical problem solving by conventional approach at a .05 level of significance., 3) the mathematical communication ability of students being taught mathematical problem solving by using productive failure method after learning were higher than those before at a .05 level of significance., 4) the mathematical communication ability of students being taught mathematical problem solving by using productive failure method were higher than those of the students being taught mathematical problem solving by conventional approach at a .05 level of significance., and 5) the mathematical reasoning and communication ability of students being taught mathematical problem solving by using productive failure method were developed in positive direction.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.