Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
HAND-ARM VIBRATION SYNDROME AMONG TAXI MOTORCYCLISTS IN BANGKOK
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
สรันยา เฮงพระพรหม
Second Advisor
พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Preventive and Social Medicine (ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.754
Abstract
การศึกษาเชิงพรรณานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนและลักษณะอาการที่เด่นชัดในกลุ่มผู้มีอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานครจำนวน 401 คนที่ถูกเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่ มิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึง กันยายน พ.ศ.2560 มีอัตราการตอบกลับร้อยละ 100 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 93.8 อายุเฉลี่ย 40.1 ปี (SD=11.0) น้ำหนักตัวเฉลี่ย 67.9 กิโลกรัม (SD=11.4) ค่ามัธยฐานของจำนวนผู้โดยสารต่อวัน 48.0 คน [IQR=30.0,50.0] ค่ามัธยฐานของระยะเวลาที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง 6 ปี [IQR=3.0,12.0] ร้อยละ 68.8 สวมถุงมือระหว่างการขับขี่ ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 49.1 ของกลุ่มตัวอย่างพบอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือน ลักษณะอาการที่เด่นชัดมากที่สุด คือ อาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือ มือ แขน ข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อศอก (ร้อยละ 26.4) รองลงมาคือ นิ้วมือ ชา เสียว ซ่า ๆ แปลบ ๆ ต่อเนื่องเกิน 20 นาที (ร้อยละ 24.2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการ HAVs ได้แก่ สภาพถนนขรุขระมาก (ORadj=3.42, 95% CI=1.288-9.125) การสวมถุงมือ (ORadj=1.85, 95% CI=1.163-2.951) รถจักรยานยนต์เกียร์ธรรมดา (ORadj=0.62, 95% CI=0.394-0.992) อายุ (ORadj=1.02, 95% CI=1.009-1.050) และ จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวัน (ORadj=1.01, 95% CI=1.002-1.022) กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานครแสดงลักษณะอาการของ HAVsเกือบร้อยละ 50 ดังนั้นหน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรมีแนวทางการดูแลตนเองและแนวทางการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการ HAVsเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจาการทำงานให้กลุ่มอาชีพต่อไป
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This cross-sectional study aimed to study hand-arm vibration syndrome: HAVs and its obvious symptoms among 401 taxi motorcyclists in Bangkok whom were randomized by multistage sampling. Data were collected by self administered questionnaire from June 2017 to September 2017 with 100% response rate. Majority of the subjects were male with the mean age of 40.1 years old (SD=11.0) and the mean weight of 67.9 kilograms (SD=11.4). The number of passengers per day were 48 persons [IQR=30.0, 50.0], lengths of working on this occupation were 6 years [IQR=3.0,12.0], and nearly sixty-nine percent of the subjects have worn gloves while riding. Results also show that almost 50% of the subjects illustrated the HAVs. The apparent syndromes were reported as pain around the upper extremity muscle or joint (26.4%) and tingling of the fingers lasting more than 20 minutes (24.2%). The significant factors found to be associated with the HAVs were roughed-road surface (ORadj = 3.42, 95%CI =1.288-9.125) wearing gloves (ORadj = 1.85, 95%CI =1.163-2.951) manual gear motorcycle (ORadj=0.62, 95% CI=0.394-0.992) age (ORadj = 1.02, 95CI =1.009-1.050), and number of the passengers per day (ORadj=1.01, 95% CI=1.002-1.022). According to this study, approximately 50% of Taxi motorcyclists in Bangkok apparently exposed to HAVs. To reduce the risk of HAVs among this occupation, the public health agency or any related should consider to issue the mitigation measures or the prevention guidelines for HAVs.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ตำหนักโพธิ, มารุต, "อาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานคร" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1244.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1244