Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Technostress and burnout syndrome in the “new normal”: expanded aspect of group incohesiveness and importance of job crafting

Year (A.D.)

2024

Document Type

Thesis

First Advisor

ประพิมพา จรัลรัตนกุล

Faculty/College

Faculty of Psychology (คณะจิตวิทยา)

Degree Name

ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

จิตวิทยา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2024.105

Abstract

จากการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นแบบวิถีใหม่ที่เทคโนโลยีกลายเป็นช่องทางหลักในการทำงานและติดต่อสื่อสาร สังเกตเห็นได้ว่ารูปแบบความเครียดจากเทคโนโลยีของบุคคลเปลี่ยนไปตามบริบทปัจจุบัน จึงนำมาสู่งานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและพัฒนามาตรวัดความเครียดจากเทคโนโลยี โดยนำมุมมองด้านการขาดความเหนียวแน่นในกลุ่มมาพิจารณาร่วมด้วย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรภาระงานในการทำงานออนไลน์ การขาดความเหนียวแน่นในกลุ่ม การปรับงาน ความเครียดจากเทคโนโลยี และภาวะหมดไฟ แบ่งเป็น 2 การศึกษา คือ การศึกษาที่ 1 ใช้การสัมภาษณ์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ แล้วจึงเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการศึกษาพบว่า ความเครียดจากเทคโนโลยีตามแนวคิดใหม่ มี 4 องค์ประกอบ คือ ด้านความท่วมท้นจากเทคโนโลยี ด้านความไม่มั่นคงทางจิตใจจากเทคโนโลยี ด้านการขาดความเหนียวแน่นจากเทคโนโลยี และด้านความไม่เสถียรของเทคโนโลยี โดยมาตรวัดมีความเชื่อมั่นระดับสูง ทั้งฉบับเต็ม (M = 3.2, SD = 0.8, 95% CI [3.09, 3.26], α = .963, CITC = .448–.707) และฉบับย่อ (M = 3.2, SD = 0.8, 95% CI [3.13, 3.30], α = .915, CITC = .463–.687) การศึกษาที่ 2 ใช้การเก็บข้อมูลในบุคคลเดียวกัน 3 ครั้ง เว้นช่วง 1 สัปดาห์ โดยจากการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลพบว่า ภาระงานในการทำงานออนไลน์มีอิทธิพลทางบวกต่อความเครียดจากเทคโนโลยี ทั้งในการวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (β = .501, p < .001) และการวิเคราะห์ระยะยาว (β = .294, p < .001) โดยความเครียดจากเทคโนโลยีมีอิทธิพลทางบวกต่อภาวะหมดไฟ ทั้งในการวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (β = .458, p < .001) และการวิเคราะห์ระยะยาว (β = .497, p < .001) อีกทั้งยังพบอิทธิพลทางอ้อมของภาระงานในการทำงานออนไลน์ต่อภาวะหมดไฟ โดยมีความเครียดจากเทคโนโลยีเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบสมบูรณ์ ทั้งในการวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (β = .229, p < .001) และการวิเคราะห์ระยะยาว (β = .142, p < .001) ในขณะที่การขาดความเหนียวแน่นในกลุ่มมีอิทธิพลต่อภาวะหมดไฟในทางตรง (β = .106, p = .013) และทางอ้อม (β = .087, p < .001) เพียงในการวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ในส่วนของปรับงาน พบว่ามีอิทธิพลทางลบต่อภาวะหมดไฟทั้งในการวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (β = -.315, p < .001) และการวิเคราะห์ระยะยาว (β = -.308, p < .001) แต่มีอิทธิพลกำกับเพียงในการวิเคราะห์ภาคตัดขวาง โดยมีทิศทางอิทธิพลต่างกันตามตัวแปรต้นภาระงานในการทำงานออนไลน์ (β = -.090, p = .035) และการขาดความเหนียวแน่นในกลุ่ม (β = .093, p = .031)

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Shifting to technology-driven work became standard after the COVID-19 pandemic subsided. Technostress has undergone a shifted pattern in the new normal. Therefore, this study aimed for: 1) investigate the new pattern of technostress components and 2) examine the causal relationships of online workload, group-incohesion, job crafting, technostress, and burnout. Study 1 involved the reconceptualization and development of the technostress scale. Semi-structured interview was used for qualitative analysis, followed by an online survey for factor analysis. Results revealed 4 factors: techno-overload, techno-insecurity, techno-induced incohesion, and techno-instability. The Technostress Scale demonstrated high reliability in both full form (M = 3.2, SD = 0.8, 95% CI [3.09, 3.26], α = .963, CITC = .448–.707), and short form (M = 3.2, SD = 0.8, 95% CI [3.13, 3.30], α = .915, CITC = .463–.687). Study 2 examined the causal relationships using panel study with 3 times-weekly online survey. Results in the path analysis revealed that online workload had positive direct effect on technostress in both cross-sectional (β = .501, p < .001) and longitudinal analyses (β = .294, p < .001). Technostress, in turn, had positive direct effect on burnout in both cross-sectional (β = .458, p < .001) and longitudinal analyses (β = .497, p < .001). Additionally, technostress fully mediated indirect effect of online workload on burnout in both cross-sectional (β = .229, p < .001) and longitudinal analyses (β = .142, p < .001). While group incohesion had both a direct effect on burnout (β = .106, p = .013) and an indirect effect (β = .087, p < .001), but only in cross-sectional analysis. Job crafting had negative direct effect on burnout in both cross-sectional (β = -.315, p < .001) and longitudinal analyses (β = -.308, p < .001) but it had a moderation effect only in the cross-sectional analysis, with the direction differing depending on the stressor: online workload (β = -.090, p = .035) and group incohesion (β = .093, p = .031)

Included in

Psychology Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.