Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Incidence of brain metastasis in advanced stage non-small cell lung cancerwith EGFR-TKI in EGFR mutations: retrospective study
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.652
Abstract
การลุกลามของมะเร็งเข้าสู่สมองเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะแทรกซ้อนของ โรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะลุกลามและมีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ ในปัจจุบัน การรักษาด้วยยามุ่งเป้าด้วยยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอนั้นมีประสิทธิภาพในการักษาโรคมะเร็งปอดชนิด เซลล์ไม่เล็กระยะลุกลามที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ และมีการลุกลามของมะเร็งเข้าสู่ สมอง อย่างไร่ก็ตาม ผลลัพธ์ในระยะยาวของการที่มีมะเร็งลุกลามเข้าสมองหลังจากรักษาด้วยยาอีจี เอฟอาร์-ทีเคไอ นั้นยังไม่มีข้อมูลชัดเจน ิธีการดำเนินการวิจัย ทำการศึกษาแบบย้อนหลัง โดยศึกษาเก็บข้อมูลแบบย้อนหลังใน ผู้ป่วยที่เป็นระยะลุกลามของโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กและมียีนอีจีเอฟอาร์กลายพันธุ์ ที่ได้รับ การรักษาด้วยยามุ่งเป้ากลุ่มอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ถึง 2566 ในโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ โดยศึกษารวบรวมข้อมูลพื้นฐานของประชากร รวบรวมอุบัติการณ์การเกิดการลุกลาม ของมะเร็งเข้าสู่สมอง รูปแบบการรักษา ผลลัพธ์ของการรักษา และอัตราการรอดชีวิตของประชากร ซึ่งนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสัมพันธุ์ของการรักษาด้วยยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ โดยใช้สถิติเชิง พรรณนาและใช้ Chi-squared test สำหรับข้อมูลแบบต่อเนื่อง ผลการวิจัย ผู้ป่วยจำนวน 664 คนที่วินิจฉัยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะลุกลามและ มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่นั้นได้รับการรักษาด้วยยาอีจีเอฟอาร์- ทีเคไอในการรักษาขนานแรก ซึ่งประกอบด้วยยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ รุ่นที่หนึ่ง คือ gefitinib หรือ erlotinib จำนวน 447 คน ยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ รุ่นที่สอง คือ afatinib จำนวน 33 คน และ ยาอีจี เอฟอาร์-ทีเคไอ รุ่นที่สาม คือ Osimertinib จำนวน 28 คน นอกจากนี้พบว่ามี 126 คนที่ได้รับยาเคมี บำบัดเป็นยาขนานแรกในการรักษาแล้วจึงมาได้ยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอในการรักษาขนานที่สองต่อมา ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ รุ่นที่หนึ่ง หรือ สอง ที่ไม่มีการลุกลามของมะเร็งเข้าสู่ สมองตั้งแต่แรกวินิจฉัยนั้น พบว่ามีผู้ป่วยเพียงหนึ่งคนเท่านั้นที่มีการก้าวหน้าของมะเร็งลุกลามเข้าสู่ สมอง ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย Osimertinib เป็นยาขนานแรก และที่ไม่มีการลุกลามของ มะเร็งเข้าสู่สมองตั้งแต่แรกวินิจฉัยนั้น พบว่าไม่มีผู้ป่วยที่มีการก้าวหน้าของมะเร็งลุกลามเข้าสู่สมอง เลย ส่วนผู้ป่วยที่มีการลุกลามของมะเร็งเข้าสู่สมองตั้งแต่แรกวินิจฉัยที่ได้รับการรักษาด้วยยาอีจีเอฟ อาร์-ทีเคไอ รุ่นที่หนึ่ง หรือ สอง มีระยะเวลาที่ไม่มีการก้าวหน้าของมะเร็งลุกลามเข้าสมอง (CNS progression free survival) ที่ 15 เดือน ในขณะที่ Osimertinib มีระยะเวลาที่ไม่มีการก้าวหน้าของ มะเร็งลุกลามเข้าสมอง ที่ 23.89 เดือน นอกจากนี้อุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลุกลามเข้าสู่สมองโดยรวม ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ รุ่นที่หนึ่ง หรือ สอง ในขนานแรกนั้น มี 38 จาก 510 คน (ร้อยละ 7.45) ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ รุ่นที่หนึ่ง หรือ สอง แล้ว ได้รับยา Osimertinib ต่อในขนานที่สอง มี 10 จาก 127 คน (ร้อยละ 7.87) และผู้ป่วยที่ได้รับการ รักษาด้วยยา Osimertinib มี 8 จาก 28 คน (ร้อยละ 28.57) นอกจากนี้อัตราการรอดชีวิต (overall survival rate) ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ รุ่นที่หนึ่ง หรือ สอง ในขนาน แรกนั้นคือ 18.56 เดือน ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ รุ่นที่หนึ่ง หรือ สอง แล้ว ได้รับยา Osimertinib ต่อในขนานที่สองคือ 26.7 เดือน และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา Osimertinib คือ 13.2 เดือน นอกจากนี้พบว่าระยะเวลาการอยู่รอดโดยโรคสงบ (progression free survival) ในการรักษาขนานแรกของยา gefitinib หรือ erlotinib, afatinib, และ osimertinib คือ 11.47 เดือน, 11.73 เดือน และ 20.37 เดือน ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย การศึกษานี้เป็นข้อมูลจากการใช้จริง (real-world data) พบว่าอุบัติการณ์ การลุกลามของมะเร็งไปที่สมองในระยะแพร่กระจายของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ ของยีนอีจีเอฟอาร์ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ ไม่มีความแตกต่างกันในแต่ละ รุ่นของยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ นอกจากนี้อัตราการรอดชีวิตและอัตราการอยู่รอดโดยโรคสงบนั้น มี ระยะเวลาที่ยาวนานในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา Osimertinib เป็นยาขนานแรกในการรักษาเมื่อเทียบกับ ยาอีจีเอฟอาร์-ทีเคไอ รุ่นอื่นๆ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Background: Central nervous system (CNS) metastasis is a relatively common complication of advanced non-small cell lung cancer (NSCLC), including adenocarcinoma with epidermal growth factor receptor (EGFR) mutation. Several EGFR tyrosine kinase inhibitors (TKI) have been shown to be effective in the treatment of brain metastasis. However, the long-term outcomes of CNS involvement after using different EGFR TKI have not been well described. Method: We performed the medical record review of patients with advanced NSCLC who had documented EGFR mutation and had been treated with EGFR TKI between 2016 and 2023 at the King Chulalongkorn Memorial Hospital. In additional to basic demographic information, we collected data regarding incidence of CNS metastasis, pattern of treatment, treatment outcomes, progression of disease and survival rate. These data were analyzed in relation to pattern of treatment with EGFR TKI. We use descriptive statistics and Chi-squared test for continuous data Result: There were 664 patients with EGFR mutated lung cancer enrolled in this study. Most patients received EGFR TKI as the first line treatment, which included 1 st generation (G) EGFR TKI gefitinib or erlotinib in 477 patients, 2nd G EGFR TKI afatinib in 33 patients, and 3rd G EGFR TKI osimertinib in 28 patients. There were 126 patients who received chemotherapy as the first line treatment followed by EGFR TKI in subsequent therapy. Among patients who received 1st or 2nd G EGFR TKI and had no baseline CNS metastasis, only one patient developed CNS metastases later. In patients who received 1st line treatment with osimertinib and had no baseline CNS metastasis, no patient developed CNS metastasis. Among patients with baseline CNS metastasis, 1st or 2nd G EGFR TKI treatment had CNS progression free was 15 months whereas 3rd G osimertinib had CNS PFS of 23.89 months. The cumulative incidence of CNS metastasis of patients who received 1st line treatment with 1st G or 2nd G EGFR TKI, 1st G or 2nd G EGFR TKI followed by osimertinib, and osimertinib were 38 out of 510 patients (7.45%), 10 out of 127 patients (7.87%) and 8 out of 28 patients (28.57%). The median overall survival time of patients who received 1st line treatment with 1st G or 2nd G EGFR TKI, 1st G or 2nd G EGFR TKI followed by osimertinib, and osimertinib were 18.56 months, 26.7 months, and 13.2 months respectively. The duration of progression-free survival of first line therapy with gefitinib or erlotinib, afatinib, and osimertinib were 11.47 months, 11.73 months, and 20.37 months respectively. Conclusion: In this real-world cohort of EGFR mutation advanced NSCLC, we showed similar incidences of CNS metastases between different generations of EGFR-TKI. The overall survival and progression-free survival were apparently better in first line treatment with osimertinib compared with other EGFR TKIs but may not improve the incidence of brain metastasis in lung cancer with EGFR mutation.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รัตนจันทร์, ขวัญสุรางค์, "การศึกษาย้อนหลัง อุบัติการณ์การลุกลามเข้าสมองในมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กระยะแพร่กระจายที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์และได้รับการรักษาด้วยยาต้านอีจีเอฟอาร์" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11765.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11765