Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A randomized study comparing between fixed dose andserum level-based titration regimen of vitamin d supplementationamong dialysis patients

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.1161

Abstract

ที่มาของงานวิจัย: ภาวะพร่องวิตามินดีสัมพันธ์กับมวลกล้ามเนื้อที่น้อย เสียการทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบภูมิคุ้มกันและอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปว่าควรแก้ไขภาวะพร่องวิตามินดีในผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างไรจึงจะดีที่สุด วัตถุประสงค์งานวิจัย: งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลของการให้วิตามินดีสูตรที่แตกต่างกันต่อร้อยละของผู้ป่วยที่มีภาวะวิตามินดีเพียงพอ (ระดับวิตามินดีในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 30 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร) ในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ระเบียบวิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็น randomized, controlled trial (ClinicalTrial.gov NCT05434377) โดยผู้วิจัยได้สุ่มผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องร่วมกับมีภาวะพร่องวิตามีนดีซึ่งหมายถึงระดับวิตามินดีในเลือดน้อยกว่า 30 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร เป็นสองกลุ่มด้วยอัตราส่วน 1:1 คือกลุ่มแรกให้ ergocalciferol รับประทานขนาดคงที่ 20,000 ยูนิตต่อสัปดาห์ และกลุ่มที่สองให้แบบปรับขนาดตามระดับวิตามินดีในเลือดเป็นกลุ่มควบคุม การวิจัยนี้ได้ศึกษา primary outcome เป็นการเปรียบเทียบร้อยละของผู้ป่วยที่มีภาวะวิตามินดีเพียงพอในแต่ละกลุ่มภายหลังได้รับ ergocalciferol เป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 71 คนที่ติดตามจนครบ 24 สัปดาห์โดยมีสัดส่วนของผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดร้อยละ 45 โดยไม่มีความแตกต่างกันของอายุ โรคประจำตัว ระดับวิตามินดีในเลือด มวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด และระยะเวลาการบำบัดทดแทนไตไม่มีความแตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม หลังจากได้รับวิตามินดีพบว่าไม่มีความแตกต่างของร้อยละของผู้ป่วยที่มีภาวะวิตามินดีเพียงพอระหว่างกลุ่มที่ได้รับวิตามินดีขนาดคงที่ (49%) และแบบปรับขนาดตามระดับวิตามินดีในเลือด (39%) (p=0.41) แต่พบว่าค่าเฉลี่ยของระดับวิตามินดีในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติในทั้งสองกลุ่ม ค่าเฉลี่ยของมวลกล้ามเนื้อ (BIS-derived total-body muscle mass normalized to height squared) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญที่ 24 สัปดาห์ ในกลุ่มได้รับวิตามินดีขนาดคงที่ (14.4±3.4 เป็น 15.3±3.0 kg/m2, p=0.03) เปรียบเทียบกับกลุ่มปรับขนาดตามระดับวิตามินดีในเลือด (13.6±2.7 เป็น 13.7±3.0 kg/m2, p=0.58) โดยได้รับพลังงานและโปรตีนใกล้เคียงกัน แต่อย่างไรก็ตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความเร็วในการเดิน (gait speed) ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม (p>0.05) สรุปผลการศึกษา: การให้วิตามินดีในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตสามารถเพิ่มระดับวิตามินดีในเลือดได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ผลของการให้วิตามินดีระหว่างการให้ขนาดคงที่และการปรับขนาดตามระดับวิตามินดีในเลือดไม่พบความแตกต่างในร้อยละของผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีเพียงพอที่ 24 สัปดาห์ แต่การให้วิตามินดีขนาดคงที่พบว่ามีมวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นกว่าการให้แบบปรับขนาดตามระดับวิตามินดีในเลือด

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: Low vitamin D status is associated with low muscle mass, impaired muscle function, cardiovascular, immune function and mortality in dialysis patients. However, there is no consensus on how best to correct vitamin D insufficiency in patients with end-stage kidney disease (ESKD). Objective: We investigated the effect of different vitamin D supplementation regimen on the percentage of patients with vitamin D sufficiency (serum 25(OH)D level ≥ 30 ng/ml) in ESKD patients requiring dialysis. Methods: This was a randomized, controlled trial (ClinicalTrial.gov NCT05434377). ESKD patients treated with maintenance hemodialysis (HD) or peritoneal dialysis (PD) with low vitamin D status, defined as serum 25-hydroxyvitamin D (25-OH D) level 0.05). Conclusion: Vitamin D supplementation in ESKD patients significantly increases serum 25(OH)D level. The effect between fixed dose and serum level-based titration regimen is not different in the percentage of patients with vitamin D sufficiency at 24 weeks but fixed dose regimen demonstrates better improvement in muscle mass than serum level-based titration regimen.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.