Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
DEVELOPMENT OF EATING OUT IN THAI SOCIETY
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
ธานี ชัยวัฒน์
Faculty/College
Faculty of Economics (คณะเศรษฐศาสตร์)
Degree Name
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เศรษฐศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.663
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการของสถานที่กินอาหารโดยเฉพาะการทานอาหารนอกบ้านตามร้านอาหารของชนชั้นกลางในเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งเน้นศึกษาตั้งช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจนพร้อมกับการเข้ามาของอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกที่เพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของสถานที่กินอาหารนั้นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในเมืองกรุงเทพฯ ช่วงรัชกาลที่ 5 ที่ได้มีการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งทำให้มีสถานที่ราชการชัดเจนและเกิดอาชีพ "ข้าราชการ" ที่ต้องทำงานตามเวลาราชการที่แน่นอน ประกอบกับการเป็นเสมียนในห้างฝรั่งได้กลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเป็นข้าราชการ ปัจจัยทั้งสองนี้ได้กลายเป็นแรงผลักสำคัญให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารมื้อกลางวัน ด้วยเหตุนี้ร้านอาหารสำหรับมื้อกลางวันจึงเริ่มมีมากขึ้นและได้ขยายเวลาให้บริการออกไปยาวนานขึ้นเมื่อมีการเข้ามาของไฟฟ้า ประกอบกับเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2464 ก็ได้ทำให้เด็กอายุ 7 – 14 ปี ต้องเข้าโรงเรียนซึ่งนั้นทำให้การทานอาหารนอกบ้านในมื้อเที่ยงกลายเป็นเรื่องที่หลักเลี่ยงไม่ได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดให้ข้าราชการเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. และได้เปลี่ยนเป็นเวลา 08.30 – 16.30 น. ในปี พ.ศ. 2502 โดยยังคงเวลาพักเที่ยงดังเดิมคือ 12.00 – 13.00 น. ก็ยิ่งทำให้การรับประทานอาหารนอกบ้านโดยเฉพาะมื้อเที่ยงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก กระทั่งช่วงทศวรรษ 2500 ได้มีการพัฒนาเส้นคมนาคมตลอดจนความเป็นเมืองที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านนั้นกลายเป็นเรื่องปกติ และเมื่อพิจารณาการรับประทานอาหารนอกบ้านตามร้านอาหารในปัจจุบันแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะด้วยความจำเป็นหรือเพื่อแสดงสถานะบางอย่างผ่านการบริโภคอาหารก็ตาม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This thesis is entitled "Thaksin's Populism on Politics in Thailand's Democratic Regime". Document Research and Interview Research were used to analyze the data for this thesis. The result of the thesis showed that Thaksin's populism contributed to Thai people's conflict, especially, between middle class people and the lower class one. The populist policy resulted in 2 problems. The first problem was the changing of power relation while the second one was the injustice of resource allocation. These problems led to the conflict between two groups of people. The first group of people was middle class people who were negatively affected by Thaksin's populism and the another side was lower class people who benefitted from Thaksin's populism. In reality, number of people in each group was very different. The number of people in middle class side was much less than that of the lower class. Thus, the lower class people could use democratic means to support Thaksin's populism. On the contrary, the middle class people did not agree with using democratic means to protect their benefits. Therefore, they collaborated with other powerful parties, especially the military, to balance the power of the lower class. To summarize, Thaksin's populism made the political power turned to be in the lower class people's site absolutely, so the middle class people decided to overthrow democracy by Coup D'etat in 2014.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รวมพรรณพงศ์, จิรพันธ์, "พัฒนาการของการรับประทานอาหารนอกบ้านในสังคมไทย" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1153.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1153