Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effect of exercise on forearm blood flow during postprandial hyperglycemia in normotensive offspring of hypertensive parents

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

อรอนงค์ กุละพัฒน์

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เวชศาสตร์การกีฬา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.657

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงสลับกับปานกลาง ต่อการไหลเวียนเลือดที่แขนในชายสุขภาพดีที่มีความดันโลหิตปกติและเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ (ONT) (n=13) เปรียบเทียบกับชายสุขภาพดีที่มีความดันโลหิตปกติและเป็นทายาทของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง (OHT) (n=13) ซึ่งการวิจัยเป็นเชิงทดลองแบบสุ่มข้ามกลุ่ม โดยสุ่มแยกอาสาสมัครในแต่ละกลุ่มออกเป็น 2 แบบ โดยแบบที่ 1 ออกกำลังกายก่อนรับประทานน้ำตาล จากนั้นอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ตามด้วยการรับประทานน้ำตาลเพียงอย่างเดียว ซึ่งการทดสอบแบบที่ 2 ทำสลับกับแบบที่ 1 โดยอาสาสมัครทั้งหมดได้รับการวัดระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขน ก่อนและภายหลังการรับประทานน้ำตาลทุกๆ 30 นาทีจนครบ 4 ชั่วโมงพบว่า หลังการรับประทานน้ำตาลอย่างเดียว ระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่ม OHT (23.82±1.39 ml/100ml/min เป็น 20.61±1.75 ml/100ml/min, p<0.01) และในกลุ่ม ONT (26.84±2.47 ml/100ml/min เป็น 24.29±2.58 ml/100ml/min, p<0.01) และการออกกำลังกายก่อนรับประทานน้ำตาลพบว่า ระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่ม OHT (23.72±1.68 ml/100ml/min เป็น 27.25±1.91 ml/100ml/min, p<0.01) และในกลุ่ม ONT (26.74±2.86 ml/100ml/min เป็น 34.07±2.14 ml/100ml/min, p<0.01) ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าเมื่อกลุ่ม OHT มีค่าระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนเพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่ม ONT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จึงสรุปได้ว่าการออกกำลังกายที่ระดับความหนักสูงสลับกับปานกลาง สามารถเพิ่มระดับสูงสุดของการไหลเวียนเลือดที่แขนในภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานน้ำตาล ในคนที่มีความดันโลหิตปกติทั้งที่มีและไม่มีประวัติความดันโลหิตในครอบครัว

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The aim of this study was to examine the effects of high-intensity interval aerobic exercise (HIIE) on peak forearm blood flow (peak FBF) during postprandial hyperglycemia in healthy young men with a parental history of normotension (offspring of normotensive parents; ONT) (n=13) and healthy young men with a parental history of hypertension (offspring of hypertensive parents; OHT) (n=13). This was a randomized crossover study of 2 conditions. The first condition was an oral glucose load with exercise (OGL+EXS), with a 1-week washout, and then an oral glucose load without exercise (OGL). The second condition had the reversed order. All participants underwent the peak FBF measurement during reactive hyperemia using venous occlusion plethysmography before and after OGL and OGL+EXS every 30 minutes for 4 hours. Results: After OGL, the peak FBF in OHT significantly decreased from 23.82±1.39 to 20.61±1.75 ml/100ml/min, (p<0.01) and ONT from 26.84±2.47ml/100ml. to 24.29±2.58 ml/100ml /min, (p<0.01). After OGL with exercise the peak FBF significantly increased from 23.72±1.68 to 27.25±1.91 ml/100ml/min, (p<0.01) in OHT and 26.77±2.86 to 34.07±2.14 ml/100ml/min, (p<0.01) in ONT. Moreover, the peak FBF in ONT was significantly increased more than that in the OHT group (p<0.05). Therefore, HIIE can increase peak FBF in both individuals with and without the family history of hypertension.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.