Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การศึกษาปริมาณรังสีอ้างอิงของผู้ป่วยจากการทำหัตถการด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
Kitiwat Khamwan
Second Advisor
Anchali Krisanachinda
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Radiology (fac. Medicine) (ภาควิชารังสีวิทยา (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Medical Physics
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.1179
Abstract
Computed Tomography (CT) is a medical modality of 3D imaging technique using the X-ray photons rotate, transmit and detect the radiation by the multi-detectors. The CT examination results in the higher patient dose than the general radiography. The objective of this study was to establish the Local DRLs of patient radiation dose in CT procedures at Phramongkutklao Hospital. This study is a retrospective analysis at a single center from January-August 2021. Two CT scanners: 160 slices MDCT manufactured by Canon, model AquilionTM Prime and 640 slices MDCT manufactured by Canon, model AquilionTM One Prism have been used to collect the data from 420 patients who underwent CT procedures. The patient demographic is gender, age, body weight, height, and other parameters: kVp, mAs, pitch, gantry rotation time, and Field of View (FOV) will be collected. The Local DRLs at the 75th percentile of the patient radiation doses from CT procedures were reported as CTDIvol, DLP, and cumulative DLP. The CTDIvol and DLP of brain without contrast were 59 mGy and 1,144 mGy.cm. The CTDIvol, DLP, and cumulative DLP of brain with contrast were 60 mGy, 1,214 mGy.cm, and 2,427 mGy.cm respectively. The CTDIvol and DLP of chest without contrast were 10 mGy and 400 mGy.cm. The CTDIvol, DLP, and cumulative DLP of chest with contrast were 9 mGy, 365 mGy.cm, and 729 mGy.cm respectively. The average CTDIvol and cumulative DLP of upper abdomen were 13 mGy and 1,627 mGy.cm respectively. The CTDIvol and DLP of whole abdomen by 2-phases: non-contrast and with contrast at portal phase were 14 and 14 mGy, 664 and 664 mGy.cm and 2,371 mGy.cm for cumulative DLP respectively. The CTDIvol and DLP of chest-abdomen by 2-phases: non-contrast and with contrast at portal phase were 13 and 14 mGy, 889 and 945 mGy.cm, and 2,988 mGy.cm for cumulative DLP respectively. The LDRLs of CT Procedures are established at this center. The mAs is a major factor affecting patient dose for Local DRLs. The other factors are the body weight, pitch, and FOV. These factors lead to finding the optimization of radiation and safety to patients in the future.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ใช้เทคนิคการสร้างภาพแบบ 3 มิติ โดยรังสีเอกซ์หมุนรอบตัวผู้ป่วย และมีหัววัดรังสี (Detector) ตรวจรับปริมาณรังสีที่ทะลุผ่านตัวผู้ป่วย แปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าและสร้างภาพโดยผ่านกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีผลต่อปริมาณรังสีที่มากกว่าการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณรังสีอ้างอิงของผู้ป่วยจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตามคำแนะนำของคณะกรรมาธิการป้องกันอันตรายจากรังสีระหว่างประเทศ หมายเลข 135 โดยใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 ของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลังจากสถานที่เดียว โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2564 ถึง สิงหาคม 2564 จากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง ได้แก่ ยี่ห้อ Canon รุ่น AquilionTM Prime จำนวน 160 สไลซ์ และ รุ่น AquilionTM One Prism จำนวน 640 สไลซ์ โดยเก็บจากผู้ป่วย จำนวน 420 ราย ประกอบด้วย เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงสุดของหลอดเอกซเรย์ (kVp) กระแสไฟฟ้าของหลอดเอกซเรย์คูณด้วยเวลา (mAs) พิตช์ (Pitch) ระยะเวลาการหมุนของหลอดเอกซเรย์ (Gantry rotation time) และ ขอบเขตของภาพ (FOV) ระดับปริมาณรังสีอ้างอิงของโรงพยาบาลที่ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 จากปริมาณรังสีของผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจ ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ถูกรายงานในรูปแบบของดัชนีปริมาณรังสีในหุ่นจำลองเชิงปริมาตร (CTDIvol) ผลคูณของดัชนีปริมาณรังสีในหุ่นจำลองเชิงปริมาตรกับระยะทางของการสแกน (DLP) และ ค่าสะสมของผลคูณของดัชนีปริมาณรังสีในหุ่นจำลองเชิงปริมาตรกับระยะทางของการสแกน (Cumulative DLP) ผลการวิจัยพบว่า ค่า CTDIvol และ DLP ของโปรโตคอลศีรษะแบบไม่ฉีดสารทึบรังสี มีค่าเท่ากับ 59 มิลลิเกรย์ และ 1,144 มิลลิเกรย์.ซม. ค่า CTDIvol DLP และ Cumulative DLP ของโปรโตคอลศีรษะแบบฉีดสารทึบรังสี มีค่าเท่ากับ 60 มิลลิเกรย์ 1,214 มิลลิเกรย์.ซม. และ 2,427 มิลลิเกรย์.ซม. ค่า CTDIvol และ DLP ของโปรโตคอลช่องอกแบบไม่ฉีดสารทึบรังสี เท่ากับ 10 มิลลิเกรย์ และ 400 มิลลิเกรย์.ซม. ค่า CTDIvol DLP และ Cumulative DLP ของโปรโตคอลช่องอกแบบฉีดสารทึบรังสี มีค่าเท่ากับ 9 มิลลิเกรย์ 365 มิลลิเกรย์.ซม. และ 729 มิลลิเกรย์.ซม. ค่า CTDIvol เฉลี่ย และ Cumulative DLP ของโปรโตคอลช่องท้องส่วนบน เท่ากับ 13 มิลลิเกรย์ และ 1,627 มิลลิเกรย์.ซม. ค่า CTDIvol และ DLP ของโปรโตคอลช่องท้องทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ แบบไม่ฉีดสารทึบรังสี และ แบบฉีดสารทึบรังสี มีค่าเท่ากับ 14 และ 14 มิลลิเกรย์ 664 และ 664 มิลลิเกรย์.ซม. และ Cumulative DLP เท่ากับ 2,371 มิลลิเกรย์.ซม. ค่า CTDIvol และ DLP ของโปรโตคอลช่องอกและช่องท้องทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ แบบไม่ฉีดสารทึบรังสี และ แบบฉีดสารทึบรังสี มีค่าเท่ากับ 13 และ 14 มิลลิเกรย์ 889 และ 945 มิลลิเกรย์.ซม. และ Cumulative DLP เท่ากับ 2,988 มิลลิเกรย์.ซม. ตามลำดับ จากการวิจัย สามารถทราบระดับปริมาณรังสีอ้างอิงจากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยปัจจัยที่มีผลต่อระดับปริมาณรังสีอ้างอิง ได้แก่ค่ากระแสไฟฟ้าของหลอดเอกซเรย์คูณด้วยเวลา (mAs) น้ำหนัก พิตช์ และ ขอบเขตของภาพ (FOV) ซึ่งนำไปสู่การหาค่าปริมาณรังสีที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยต่อไป
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Mahasub, Sutasinee, "The study of local diagnostic reference levels of computed tomography procedures at Phramongkutklao Hospital" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 11321.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/11321