Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Identification of short and indian mackerels rastrelliger spp. by mitochondrial dna markers

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

ศานิต ปิยพัฒนากร

Second Advisor

วรธา กลิ่นสวาท

Faculty/College

Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)

Department (if any)

Department of Marine Science (ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์ทางทะเล

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.1049

Abstract

ปลาทูและปลาลังในสกุล Rastrelliger เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญในน่านน้ำไทยและมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ใกล้เคียงกันมาก การจำแนกชนิดพันธุ์ที่ถูกต้องจึงมีความจำเป็นในการจัดการทรัพยากร การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาเครื่องหมายพันธุกรรมที่ใช้จำแนกชนิดปลาทู (Rastrelliger brachysoma) และปลาลัง (R. kanagurta) ในอ่าวไทย รวมถึงตรวจสอบความถูกต้องของวิธีการจำแนกชนิดด้วยลักษณะสัณฐานวิทยาของปลาทูและปลาลังในอ่าวไทยโดยเก็บตัวอย่างจากท่าเรือประมงพื้นบ้านจำนวน 5 พื้นที่ครอบคลุมทั่วอ่าวไทยในเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 คือ จังหวัดตราด ชลบุรี สมุทรสงคราม ชุมพร และสงขลา รวมตัวอย่างปลาทูและปลาลังที่ผ่านการจำแนกชนิดด้วยยีน 16S rRNA โดยเทคนิคทางอณูชีววิทยาทั้งหมด 295 ตัว แบ่งเป็นปลาทู 128 ตัวและปลาลัง 167 ตัว มีขนาดความยาวเหยียดเท่ากับ 15.90-21.00 เซนติเมตร และ 15.30-23.90 เซนติเมตรตามลำดับ ทำการวิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยาจากการวัดขนาดรูปร่าง พบว่าปลาทูและปลาลังมีอัตราส่วนระหว่างความยาวส้อมหางต่อความลึกของส่วนหัวเท่ากับ 3.6-4.3 และ 3.7-4.6 ตามลำดับ ซึ่งมีช่วงที่ซ้อนทับกันระหว่างชนิดทำให้ไม่สามารถจำแนกความต่างระหว่างชนิดได้ และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะต่างๆ ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (PCA) ก็ไม่สามารถจำแนกชนิดได้อย่างชัดเจนแต่สามารถเห็นความแตกต่างเมื่อพิจารณาเฉพาะแต่ละพื้นที่ ประชากรในจังหวัดตราด ชลบุรี และสงขลามีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างชัดเจน ในขณะที่ประชากรในจังหวัดสมุทรสงครามมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ใกล้เคียงกันมาก และประชากรในจังหวัดชุมพรมีทั้งส่วนที่แตกต่างกันและใกล้เคียงกัน การวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16S rRNA ในไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอ (mtDNA) เพื่อจำแนกชนิดและศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม ยืนยันว่าปลาทูและปลาลังในอ่าวไทยมีความใกล้ชิดกันมากซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม พบความไม่สอดคล้องกันระหว่างลักษณะทางสัณฐานวิทยาและ mtDNA ในบางตัวอย่าง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ การศึกษาครั้งนี้ประสบความสำเร็จในการพัฒนา 16S rRNA ไพรเมอร์ ที่สามารถจำแนกชนิดปลาทูและปลาลังได้ตั้งแต่ขั้นตอนการทำพีซีอาร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการศึกษาในอนาคต การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างปลาทูและปลาลังในอ่าวไทยที่มีความซับซ้อนจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมโดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมที่หลากหลาย เพื่อทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะของปลาทั้ง 2 ชนิด และโครงสร้างประชากร ซึ่งจะนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืนต่อไป

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Short mackerel (Rastrelliger brachysoma) and Indian mackerel (R. kanagurta) are economically important species in Thai waters, but their highly similar morphology makes accurate species identification crucial for effective resource management. This study aimed to identify genetic markers for differentiating between the two species in the Gulf of Thailand and to evaluate the accuracy of morphological identification methods. A total of 295 specimens, 128 short mackerels and 167 Indian mackerels, were collected from five fishing ports across the Gulf of Thailand in October 2021. Specimens ranged in fork length from 15.90-21.00 cm and 15.30-23.90 cm for short mackerel and Indian mackerel, respectively. Morphological analysis, including the ratio of fork length to head depth (3.6-4.3 and 3.7-4.6 for short mackerel and Indian mackerel, respectively) and principal component analysis, failed to clearly distinguish between the two species due to overlapping measurements. However, some morphological variations were observed among populations from different locations. Analysis of the mitochondrial DNA (mtDNA) 16S rRNA gene sequences confirmed a close genetic relationship between short mackerel and Indian mackerel in the Gulf of Thailand, consistent with previous studies. However, inconsistencies between morphology and mtDNA variation of the two species were observed in some specimens, possibly due to hybridization. Notably, this study successfully developed species-specific 16S rRNA markers that can be used for identifying short mackerel and Indian mackerel at the PCR stage, providing a valuable tool for future research. Overall, this study highlights the complex relationship between short mackerel and Indian mackerel in the Gulf of Thailand and emphasizes the need for further investigation using multiple genetic markers to understand the species identities, population structure, and to support sustainable fisheries management.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.